การบริหารจัดการของละครเวทีเชิงพาณิชย์ไทย

ผู้แต่ง

  • สุชาญวุฒิ กิ่งแก้ว ดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ละครเวทีเชิงพาณิชย์, การบริหารจัดการ, ส่วนประสมทางการตลาด

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการบริหารจัดการของละครเวทีเชิงพาณิชย์ไทย เพื่อศึกษาการบริหารจัดการของ กลุ่มผู้บริหารที่ผลิตละครเวทีเชิงพาณิชย์ของไทย โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (SERVICE MARKETING MIX หรือ 7P’s ได้แก่ Product, Price, Promotion, People, Place, Physical, Process) ในการวิเคราะห์ พบว่าสิ่งสำคัญในการผลิตผลงานละครเวที ร้อยละ 83 จำเป็นต้องเลือกและวิเคราะห์กลุ่ม เป้าหมายของผู้ชมเป็นสิ่งแรก ลักษณะของเรื่องที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดร้อยละ 100 มักมีเนื้อหาที่แสดง ถึงเหตุการณ์ในอดีตหรือการหวนคืนสู่อดีตกาล นอกจากน้ันรูปแบบการนำเสนอที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือการนำเสนอในรูปแบบ ละครเพลง อีกทั้งยังพบว่า ร้อยละ 83 ของคณะละครแบ่งสัดส่วนราคาบัตรไว้ 6 ระดับเพื่อให้เหมาะกับกำลังซื้อของผู้ชมที่หลากหลาย และมีการส่งเสริมการขายในช่วงเทศกาลอาจเป็นการ ส่งเสริมการขายที่ดีที่สุดร้อยละ 83 ของคณะละครใช้นักแสดงที่มีชื่อเสียงเพื่อดึงดูดผู้ชม สำหรับประเด็นการ บริหารบุคคล ทุกบริษัทใช้ทีมงานในการผลิตจากบุคลากรภายนอก หรือ Freelance ในด้านสถานที่จัดแสดง ร้อยละ33.32 มีโรงละครเป็นของตนเองในขณะที่อีกร้อยละ66.68เช่าโรงละครเพื่อการจัดแสดงผลงานของตน ขณะที่การตกแต่งสถานที่จัดแสดงจะกลายเป็นสิ่งสำคัญเนื่องมาจากผู้ชมปัจจุบันนิยมถ่ายภาพลง สื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนี้กระบวนการดูแลผู้ชมเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมละคร เกิดการบอกต่อและใช้บริการหรือชมละครเวทีเชิงพาณิชย์ของบริษัทในครั้งต่อไป.

References

ฐนธัช กองทอง.(2554). กลยุทธ์การเขียนบทโทรทัศน์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [Thanatat Kongtong. (2011).Strategies for Television Script Writing.Nontaburi : Sukhothai Thammathirat Open University.]

นภาวรรณ คณานุรักษ์.(2555). การจัดการผลิตภัณฑ์และราคา. กรุงเทพฯ : บริษัท ซีวีแอลการพิมพ์. [Napawan Knanurak.(2012). Product and price management.Bangkok : CVL Printing co.,ltd.]

พัฒนา กิตติอาษา.(2546).มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฏการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทยร่วมสมัย.กรุงเทพฯ :ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์กรมหาชน). [Pattana Kittiasa.(2003). Anthropology and the study of the nostalgia in contemporary Thai society. Bangkok : Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre.]

สิทธิ์ ธีรสรณ์.(2552). การตลาด. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Sit Terasorn.(2009). Marketing. Bangkok: Chulalongkorn University]

สุรพล วิรุฬห์รักษ์.(2554). นาฏยศิลป์รัชกาลที่ 5.กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.ฃ[Surapon Wiroonruk.(2011). King Rama 5 dance arts.Bangkok : SKSK Printing Ladprao.]

Stephen Langley.(2009). Theater Management and Production in America, New York : Pearson

Kotler, Phipip,et al.(2006). Principle of Marketing. Harlow: Pearson.

สัมภาษณ์

พันพัสสา ธูปเทียน.(2560, 7 ตุลาคม). ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Panpassa Tubtien.(2017, 7 October). Assistant professor of Chulalongkorn University.]

มารุต สาโรวาท.(2560, 7 ตุลาคม).ผู้กำกับละครเวที ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์. [Marut Sarowad.(2017, 7 October).Plays director, stage, TV series and film.]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01