ปัจจัยท่ีส่งผลต่อการเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) กรณีศึกษาเทศบาลเมืองท่าโขลง
คำสำคัญ:
เมืองอัจฉริยะ, การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การศึกษาคร้ังนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methodology) ท้ังการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantita- tive Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาปัจจัย ท่ีนำไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะของเทศบาลเมืองท่าโขลง 2)เพื่อศึกษาปัจจัยพยากรณ์ที่ส่งผลต่อการพัฒนา ชุมชนเทศบาลเมืองท่าโขลงสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart city)
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าปัญหาที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพบร่วมกันทั้ง 4 ภาคส่วน ได้แก่ การกำจัดขยะ แบบไม่แยกประเภท/แหล่งจำกัดขยะอยู่ใกล้ชุมชน ถนนท่ีเป็นหลุมเป็นบ่อ ส่วนปัญหาที่พบรองลงมา คือ มีขยะจำนวนมากตามบ้านเรือน/ริมคลอง/ริมถนน ไฟฟ้าดับบ่อย/น้ำไม่ไหล และมลพิษทางอากาศจากรถยนต์/รถบรรทุก ส่วนปัญหาท่ีพบน้อยที่สุด ได้แก่ ปัญหาสุขภาพจิตของเด็ก และคนในชุมชนไม่สามารถจัดการสิ่ง ต่างๆ ในชุมชนได้ด้วยตนเอง
เมื่อผู้วิจัยนำผลการศึกษาเชิงคุณภาพมาเชื่อมโยงกับการกำหนดหลักเกณฑ์ขององค์ประกอบของแผนการ พัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทย (Smart City Thailand) ได้ข้อเสนอแนะดังนี้ 1)เมื่อเทศบาลเมืองท่าโขลง ทราบความต้องการของทุกภาคส่วนแล้ว เทศบาลฯควรกำหนดชุมชนเพื่อเป็นพื้นท่ีเป้าหมายในการพัฒนา เป็นต้นแบบเมืองอัจฉริยะ โดยกำหนดวัตถุประสงค์เพ่ือเป็นแนวทางการดำเนินงานของบุคลากรและใช้การ สื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเห็นภาพการพัฒนาเมืองร่วมกับชุมชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2)เทศบาลฯ วางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมืองในแผนพัฒนาท้องถิ่นในการกำหนดโครงสร้างพื้นฐานเช่นระบบ การจัดการขยะอัจฉริยะหรือระบบอื่นๆที่สอดคล้องกับชุมชน3)เทศบาลฯวางแผนเพื่อพัฒนาจัดบริการเมือง อัจฉริยะ ทั้งในมิติของสิ่งแวดล้อม ที่คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิงแวดล้อมและสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการ นอกจากนี้เทศบาลฯควรพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก ให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีมีความปลอดภัยมีความสุขในการดำรงชีวิต4)เทศบาลฯควรใช้ หลักการบริหารจัดการโดยให้ภาคต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการต่างๆไม่ว่าจะเป็นการจัดประชาคมหรือการจัดตั้งคณะกรรมการจากภาคประชาชนภาคเอกชนภาคการศึกษาหรือภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบปัจจัยที่นำไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะของเทศบาลเมืองท่าโขลงจากผลกระทบ ต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนในชุมชนและกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยมากต่อการพัฒนาชุมชนเทศบาลเมืองท่าโขลงพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart city) โดยกลุ่มตัวอย่างต้องการเห็นชุมชนเทศบาลฯพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ ในด้านการจัดการขยะและแหล่งกำจัดขยะที่เหมาะสมมากที่สุดรองลงมา คือด้านการเพิ่มสิทธิของหน่วยงาน ท้องถิ่น/คนในชุมชนให้มีอำนาจในการจัดการสิ่งต่างๆ ในชุมชนได้ด้วยตนเอง และลำดับต่อมา คือ ด้านการ พัฒนาและเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชน เช่น วัด พิพิธภัณฑ์ อาหาร ตลาด ร้านค้าชุมชน เป็นต้น
ในส่วนผลการศึกษาปัจจัยพยากรณ์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนเทศบาลเมืองท่าโขลงสู่เมืองอัจฉริยะ (Smartcity)ในอีก5ปีข้างหน้าพบ4ปัจจัยตามลำดับความสำคัญคือ1)การมีสถานที่กำจัดขยะที่เหมาะ สม 2) การมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ให้ความรู้ เช่นพิพิธภัณฑ์ 3) การมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมทั่วชุมชน และ 4) การมีเส้นทางที่เชื่อมต่อสู่จังหวัดอื่นๆ ได้ โดยทั้ง 4 ปัจจัย สามารถร่วมกันส่งผลต่อการพัฒนาชุมชน เทศบาลเมืองท่าโขลงพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart city) ในอีก 5 ปี ข้างหน้าได้
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2543). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนศึกษา. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรส โปรดักส์จำกัด. [Kanchana Kaewthep. (2000). Science of media and culture. Bangkok: Edison Press Products Co., Ltd.]
เดโช แสนภักดี. (2546). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของสมาชิกกลุ่มอาชีพจังหวัดขอนแก่น.ปริญญานพินธ์.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์:กรุงเทพฯ.[Decho Saenphakdi. (2003). Factors affecting participation in the One Tambon One Product project of professional group members in Khon Kaen Province. Bangkok: Kasetsart University]
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2547). การมีส่วนร่วม หลักการพิ้นฐานและกรณีตัวอย่าง. เชียงใหม่ : สิริลักษณ์ การพิมพ์. [Narinchai Phatthanaphongsa. (2004). participation Basic principles and sample cases. Chiang Mai: SiriluckPrinting]
ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ (2548). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์. [Parichart Walaisathien et al. (2005). Process and work techniques of developers. Bangkok: Usaprinting]
เว็บไซต์
นิยาม นโยบาย เป้าหมาย.(2562). เข้าถึงได้จาก www:https://smartcitythailand.or.th/web?definition. วันเดือนปีที่สืบค้น วันที่ 28 กันยายน 2562 [Define the target policy.(2019) Retrived from https://smartcitythailand.or.th/web?definition, September 28, 2019.]