การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของประชาชนชาวมุสลิมจากการใช้ แอปพลิเคชัน Muslim pro ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี และมัด คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

การใช้ประโยชน์, ความพึงพอใจ, แอปพลิเคชัน Muslim pro

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของประชาชนชาวมุสลิมจากการ ใช้แอปพลิเคชัน Muslim pro ในเขตกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างชาว มุสลิมท่ีใช้แอปพลิเคชัน Muslim pro จำนวน 400 คน สถิติท่ีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อย ละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที การทดสอบความแปรปรวนแบบ ทางเดียว การทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

        ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนชาวมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานคร มีระดับการใช้ประโยชน์การใช้ แอปพลิ เคชันอยู่ในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.79) ทั้งน้ีเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าประเด็นการใช้ประโยชน์ ของประชาชนชาวมุสลิมจากการใช้แอปพลิเคชัน Muslim pro ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ การเตือนเวลา เข้าละหมาดเป็นประเด็นที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.09 ส่วนประเด็นที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยท่ีสุดคือ การ คำนวณซะกาต ซึ่งมีเท่ากับ 3.56 ส่วนระดับความพึงพอใจของประชาชนชาวมุสลิมจากการใช้ แอปพิลเคชัน Muslim pro อยู่ในระดับมาก(คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ3.63)ทั้งนี้เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าประเด็นความ พึงพอใจ ของประชาชนชาวมุสลิมจากการใช้แอปพลิเคชัน ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ความพึงพอใจใน ความถูกต้องของการอาซานเป็นประเด็นที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.88 ส่วนประเด็นที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อย ท่ีสุดคือ ความพึงพอใจในความง่ายของการคำนวณซะกาต ซึ่งมีคะแนนเท่ากับ 3.35 นอกจากน้ีประชาชนท่ี มีการใช้ประโยชน์จากการใช้แอปพลิเคชัน Muslim pro มีความสัมพันธ์กันกับความพึงพอใจของประชาชน ชาวมุสลิมกันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ชลพรรษ์ ธัมสัตยา. (2539) .ศึกษาการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้รับข้อความข่าวผ่านสื่อเพจเจอร์(วิทยุติดตามตัว) .วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์. มหาวิทยาลัย. [ Chollapan Thamsattaya. (2539). Uses and Gratifications of News Receivers via the Pager Media. Master. Arts (Mass Communication). Chulalongkorn University. Bangkok. (Thailand). Graduate School.]

ผดุงยศ ดวงมาลา. (2523).การสอนชุดวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. ภาควิทยาศาสตร์ ทั่วไป คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.[Padoongyot Duangmala. (2523). Teaching Secondary School Science Teaching. General Science. Prince of Songkla University.]

วรลักษณ์ ดวงอุดม. (2550). การแสวงหาข้อมูลข่าวสาร การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของ นักลงทุจากสหภาพยุโรปกับการลงทุนในประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [ Woralak Duang-Udom .(2550). Information seeking, uses and gratifications of the European Union investors in Thailand. Master. Arts (Mass Communication). Chulalongkorn University.Bangkok. (Thailand). Graduate School.]

Cassata and Asnte. (1979). Mass Communication. New York: Macmillan Publishing Co.

Karl Erik Rosengren. (1974). Uses and Gratifications: A Paradigm Outlined. Beverly Hill: Sage. Publications.

Mc Combs, et al. (1979).Using Mass Communication Theory. New Jersey: Printice. Hall.

เว็บไซต์

ปณิตา โพธิ์โพ้น. (2555). กระบวนการพัฒนา การแพร่กระจาย และการยอมรับนวัตกรรม(ออนไลน์). ได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/493620.เข้าถึงเมื่อ 16 สิงหาคม 2561. [Panita Phophon.(2555). Diffusion and Adoption of Innovation (online). from https://www.gotoknow.org/posts/493620. Retrieved August 16, 2018.]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01