พฤติกรรมการใช้ ทัศนคติและการยอมรับการใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ของผู้บริโภคในวัยทำงานต่อการใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน แอปพลิเคชันไลน์เพย์ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชาณคริต จรูญเกียรติคุณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ทัศนคติ

บทคัดย่อ

        การิจัยเรื่อง พฤติกรรมการใช้ ทัศนคติและการยอมรับการใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค ในวัยทำงานต่อการใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์เพย์ในเขตกรุงเทพมหานคร นี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคในวัยทำงานกับการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านแอปพลิเคชันไลน์เพย์ 2) พฤติกรรมของผู้บริโภคในวัยทำงานต่อการใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านแอปพลิเคชันไลน์เพย์ 3) ทัศนคติของผู้บริโภคในวัยทำงานต่อการใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน แอปพลิเคชันไลน์เพย์ 4) การยอมรับการใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในวัยทำงานต่อการ ใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์เพย์ และ 5) ทัศนคติของผู้บริโภคในวัยทำงานที่มีผล ต่อการยอมรับการใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์เพย์ งานวิจัยคร้ังนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่มประชากรคือกลุ่มคนในวัยทำงานที่มีการใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์เพย์ มีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 400 คนด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบความแปรปรวนทาง เดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

        ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคในวัยทำงานที่มีการใช้งานการชำระเงิน อิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์เพย์ส่วนใหญ่เป็น เพศชาย จะอยู่ในช่วงอายุต้ังแต่ 25 – 32 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน มีรายได้ 10,000 – 15,000 บาท 2) พฤติกรรมของผู้บริโภคในวัยทำงานต่อการใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์เพย์ ส่วนใหญ่ ใช้แอปพลิเคชัน LINE MAN Food ร่วมกับไลน์เพย์ รู้จักแอปพลิเคชันไลน์เพย์จาก Line ใช้บริการ ในช่วงเวลา 17:00น.-19:00น. ชำระเงินผ่าน แอปพลิเคชันไลน์เพย์ 4-6 ครั้งต่อเดือน มีค่าบริการต่อครั้ง 1,001-3,000 บาท เลือกซื้อประเภทสินค้า อาหารและเครื่องดื่ม ซื้อสินค้าจากบ้านหรือที่พัก มีประสบการณ์ 3-4 ปี ใช้บริการประเภทสั่งอาหาร และใช้เวลากับสื่อสังคมออนไลน์ประมาณ 4-6 ชั่วโมงต่อวัน 3) ทัศนคติ ของผู้บริโภคในวัยทำงานต่อการใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์เพย์ โดยรวมของ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีทัศนคติด้าน องค์ประกอบด้านความเข้าใจอยู่ในระดับ มาก องค์ประกอบ ด้านความรู้สึกอยู่ในระดับ มาก องค์ประกอบด้านภาพลักษณ์ อยู่ในระดับ มาก องค์ประกอบด้านโปรโมชั่น อยู่ในระดับ มากและ องค์ประกอบด้านการรับรู้ประโยชน์ อยู่ในระดับ มาก 4) การยอมรับการใช้บริการ ชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในวัยทำงานผ่านแอปพลิเคชันไลน์เพย์ โดยรวมของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่ มีการยอมรับการใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ด้านคุณลักษณะที่เข้ากันได้ อยู่ในระดับ มาก ด้านคุณลักษณะความยุ่งยากซับซ้อน อยู่ในระดับ มาก และด้านอิทธิพลทางสังคม อยู่ในระดับ มาก 5) การ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและการยอมรับการใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคใน วัยทำงานผ่านแอปพลิเคชันไลน์เพย์ทัศนคติของผู้บริโภคในวัยทำงาน ในการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน แอปพลิเคชันไลน์เพย์ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอป พลิเคชันไลน์เพย์ โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 6.) ทัศนคติของผู้บริโภคในวัยทำงาน โดยส่วนใหญ่ มีผลต่อการยอมรับการใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์เพย์โดยด้านที่มีผล คือ ปัจจัย ด้านองค์ประกอบด้านภาพลักษณ์ ที่ค่า Beta 0.336 องค์ประกอบด้านการรับรู้ประโยชน์ ที่ค่า Beta 0.245 และองค์ประกอบด้านความรู้สึก ที่ค่า Beta 0.238 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ชลธชา พลีสิงห์. (2554). ทัศนคติของผู้ใช้บริการเฟสบุ๊คต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. [Chonticha Phliasing. (2011). The attitude of Facebook users towards electronic commerce. Independent research, Rajamangala University of Technology Thanyaburi.]

ชวิศา พุ่มดนตรี. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้บริการพร้อมเพย์ (PromptPay) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Chavisa PhumDontri (2016). Factors affecting the acceptance of PromptPay service of People in Bangkok and perimeter. Independent research, Thammasat University.]

ศิริพร แซ่ลิ้ม. (2559). พฤติกรรมการใช้ไลน์แอพพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Siriporn Sae Lim (2016). Line application behavior of the elderly in Bangkok. Master’s thesis, Thammasat University.]

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : บริษัทธรรมสาร จำกัด. [Siriwan Serirat (1995). Consumer behavior. Bangkok : Dharmasarn printing Company Limited.]

Roger (2003). Diffusion of innovation (5th ed.). New York : SIMON & SCHUSTER.

เว็บไซต์

นัททชิต. (2562). สงคราม e-Wallet 2020 ใครใช้บ่อยกว่า...ชนะ. ค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562, จาก https://marketeeronline.co/archives/122047 [nuttachit. (2019). The e-Wallet War of 2020 Users More Than Winning. Retrieved : July 05, 2019, from https://marketeeronline.co/archives/122047]

รัฐกร พูลทรัพย์. (2560). สงครามMobile Wallet แทนการชำระเงินด้วยเงินสด. ค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2562, จาก https://mgronline.com/daily/detail [Rattakon Poolsap. (2019). Mobile Wallet War instead of paying by cash. Retrieved : July 04, 2019, from https://mgronline.com/daily/detail]

CarterV.Good. (1959). Attude. Retrieved : July 12, 2019, from http://www.novabizz.Ace/Attitude.html

J.P. Morgan. (2019). 2019 Global Payments Trends Report – Thailand. Retrieved : July 5, 2019, from https://www.jpmorgan.com/merchantservices/insights/reports/Thailand

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01