ปัจจัยและระดับการยอมรับการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) ของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์

ผู้แต่ง

  • ณักษ์ลภัส ปั้นทิม คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ระดับการยอมรับ, นวัตกรรม, เฟซบุ๊ก (Facebook), กลุ่มเบบี้บูมเมอร์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งน้ีมีวัตถุประสงค์ 1). เพื่อศึกษาระดับการยอมรับเฟซบุ๊ก (Facebook) ของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ 2). เพื่อศึกษาการรับรู้ในคุณลักษณะของเฟซบุ๊ก (Facebook) ของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ 3). เพื่อศึกษาพฤติกรรม การใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) ของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ 4). เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ที่ส่งผลต่อระดับการยอมรับเฟซบุ๊ก (Facebook) ของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ 5). เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้คุณลักษณะของเฟซบุ๊ก (Facebook) กับระดับการยอมรับเฟซบุ๊ก (Facebook) ของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ 6). เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการยอมรับเฟซบุ๊ก (Facebook) กับพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) ของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) รูปแบบเชิงสำวจ (Survey Research) ศึกษากลุ่มตัวอย่างท่ีมีอายุ 55 – 73 ปี (กลุ่มวัยเบบี้บูมเมอร์) เป็นผู้ที่เคยใช้ และกำลัง ใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) ทั้งหมดในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า

        กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการใช้เฟซบุ๊ก โดยเฉลี่ย 6.86 หรือ 7 ปี มีระดับการศึกษาปริญญา ตรีมีรายได้ต่อเดือน 40,001-50,000 บาท

        กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพในการเปิดรับประสบการณ์มาก และมีพฤติกรรมการสื่อสารที่บ่อย โดยมีการเปิดรับข่าวสารจากสื่อบุคคล มากท่ีสุด มีค่าเฉลี่ย 4.14 รองลงมา คือ สื่อมวลชน มีค่าเฉลี่ย 3.48 และสื่ออื่นๆ มีค่าเฉลี่ย 3.40 ตามลำดับ

        กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้คุณลักษณะของเฟซบุ๊ก (Facebook) ที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้งานในระดับมาก โดยมีการรับรู้คุณลักษณะของเฟซบุ๊ก ด้านความไม่ซับซ้อน (Complexity) มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.24 รองลง มาคือ ด้านประโยชน์เชิงเปรียบเทียบ (Relative Advantage) และด้านความเข้ากันได้ (Compatibility) มีค่าเฉลี่ย 4.20 ด้านการทดลองใช้ (Trialability) มีค่าเฉลี่ย 4.19 และด้านโอกาสในการสังเกตได้ (Observability) มีค่าเฉลี่ย 4.13 ตามลำดับ

        กลุ่มตัวอย่างมีจุดประสงค์หลักในการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) ในระดับกลางโดยมีค่าเฉลี่ย 3.06 และใช้ งานเพื่อติดต่อสื่อสารกับครอบครัว/เพื่อนๆ มากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 3.65 รองลงมาคือใช้งานเพื่อเปิดรับข่าวสาร ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เป็นต้น มีค่าเฉลี่ย 3.41 และใช้งานเพื่อความตื่น เต้นท้าทายเมื่อเจอเรื่องใหม่ๆ เช่น เล่นเกมส์ น้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ย 2.52 ตามลำดับ

        แต่กลุ่มตัวอย่างใช้งานเฟซบุ๊กตามคุณลักษณะเฟซบุ๊กในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.89 โดยใช้กดปุ่มแสดง ความรู้สักปุ่มไลค์(Like)ปุ่มรักเลย(Love)ปุ่มฮ่าๆ(HaHa)ปุ่มว๊าว(Wow)ปุ่มโกรธ(Angry)ปุ่มเศร้า(Sad) มากที่สุด รองลงมาคือ ใช้แสดงความคิดเห็น ต่อข้อความ รูปภาพ ของเพื่อนๆ มีค่าเฉลี่ย 3.03 และใช้เปิด ร้านค้าออนไลน์ (Facebook Fanpage) น้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ย 0.88 ตามลำดับ

        ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่ากลุ่มเบบี้บูมเมอร์ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีระดับในการยอมรับเฟซบุ๊กแตกต่างกัน การรับรู้คุณลักษณะของเฟซบุ๊ก (Facebook) มีความสัมพันธ์กับระดับการยอมรับเฟซบุ๊ก และระดับการยอมรับเฟซบุ๊ก (Facebook) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้งานเฟซบุ๊ก

References

ตฤณธวัช วงษ์ประเสริฐ. (2559). ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) ของวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. [Trinnathawat Wongprasort. (2016). Attitude and Behavior Using on Facebook of Working People in Bangkok. Master of Arts, National Institute of Development Administration.]

ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2558). การสื่อสารในองค์การ : สื่อสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. [Nutchuda Wijitjamaree. (2015). Communication in Organization : Social Media. Bangkok : Kasetsart University Press.]

ณัฐวุฒิ เปรมปราชญ์. (2557). การยอมรับนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นฟังเพลงแบบสตรีมมิ่ง KKBOX บท สมาร์ทโฟนของผู้ใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Natthavut Premprach. (2014). Innovation Adoption of KKBOX Mobile Application Users in Bangkok. Master of Arts, Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University.]

ธนกร อนรรฆวัชรกุล. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมนิตยสารดิจิทัล สำหรับผู้ชาย แบบเสียค่าบริการ. รายงานโครงการเฉพาะบุคคล, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์ และ สื่อสารมวลชน, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน. [Tanakorn Anakvatcharakul. (2012). The Factors Effect on the Innovation Adoption of Men Digital Magazine. Individual Study for Master of Arts, Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University.]

ศตพล เกิดอยู่. (2558). ทัศนคติ พฤติกรรม และการรู้เท่าทันการใช้ แอปพลิเคชันไลน์ของกลุ่มวัย เบบี้บูมเมอร์, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และ สื่อสารมวลชน, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน. [Satapon Kerdyoo. (2015). Attitude, Behavior, and Media Literacy of Baby Boomers Using Line Application. Master of Arts, Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University.]

ศิริพร แซ่ลิ้ม. (2558). พฤติกรรมการใช้ไลน์แอพพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน. [Siriporn Saelim. (2015). Usage Behavior Line Application of Elderly in Bangkok Area. Master of Arts, Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University.]

สุดาทิพย์ ภูอัครสวัสดิ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของบุคลิกภาพ กับภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้า อิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, [Sudathip Phuakarasawat. (2015). The Relationship between Personality Factor and Transformational Leadership of Chief Executive of The Sub-district Administrative Organization in Nakhon Ratchasima Province. Independent Study for Master of Business Administration, Rajamangala University of Technology Isan.]

Burnet, R., & Marshall, D.P. (2003). Web Theory. London: Routlege.

Costa, P.T., & Mccrae, R.R. (1992). Revised NEO personality inventory (NEO-PI-R) and NEO five- factor inventory (NEO-FFI) professional manual. Odessa, Florida: Psychological Assessment Resources.

Rogers, E. M. (2003). Diffusion of innovations. New York : New York Press

เว็บไซต์

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2552). เจนวายคืออะไร. เข้าถึงจาก http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act02170652&sectionid=0130&day=2009-06-17 [Kowit Wongsurawat. (2009). “What is Generation Y?” Retrieved: from http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act02170652&sectionid=0130&day=2009-06-17]

เปิดพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 61 คนไทยใช้เน็ตเพิ่ม 10 ชั่วโมง 5 นาทีต่อวัน. (2561). เข้าถึงได้จาก www.etda.or.th/content/etda-reveals-thailand-internet-user-profile-2018.html [“Show Behavior Internet User in 2018 - Thai people use the internet for 10 hours, 5 minutes a day” (2018). Retrieved: from www.etda.or.th/content/etda-reveals-thailand-internet-user-profile-2018.html]

สถิติผู้ใช้ดิจิทัลทั่วโลก “ไทย” เสพติดเน็ตมากสุดในโลก “กรุงเทพ” เมืองผู้ใช้ Facebook สูงสุด. (2561). เข้าถึงได้จาก www.brandbuffet.in.th/2018/02/global-and-thailand-digital-report-2018 [“Worldwide digital user statistics, “Thailand” is the most addictive internet in the world, “Bangkok” is the highest Facebook user city” (2018). Retrieved: from www.brandbuffet.in.th/2018/02/global-and-thailand-digital-report-2018]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01