ภาพตัวแทนของวัยรุ่นไทยในละครชุดโทรทัศน์
คำสำคัญ:
ภาพตัวแทน, ละครชุดโทรทัศน์, วัยรุ่นบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ภาพตัวแทนของวัยรุ่นไทยในละครชุดโทรทัศน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาพตัวแทน ของวัยรุ่นในละครชุดโทรทัศน์ 2) ศึกษาการรับรู้ของผู้รับสารวัยรุ่นเกี่ยวกับภาพตัวแทนของวัยรุ่นในละครชุด โทรทัศน์และ 3) วิเคราะห์การตีความเน้ือหาละครชุดโทรทัศน์ของวัยรุ่น การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่มุ่งวิเคราะห์ตัวบทละครโทรทัศน์และวิเคราะห์ผู้รับสาร จากกรณีศึกษาละครโทรทัศน์ที่มีเน้ือหาเกี่ยวกับวัย รุ่นจำนวน 6 เรื่องได้แก่ WaterBoyy the Series รักชั้นนัย U-Prince Series รุ่นพี่ Secret Love ตอน Puppy Honey 2 สแกนหัวใจนายหมอหมา Make It Right the Series season 2 และ Project S The Series โดย ใช้การวิเคราะห์ตัวบทและการสนทนากับกลุ่มผู้ชมวัยรุ่น
ผลการวิจัยพบว่าภาพตัวแทนของวัยรุ่นไทยในละครชุดโทรทัศน์ประกอบไปด้วยปัญหาครอบครัวความ ขัดแย้งระหว่างลูกชายกับพ่อ ปัญหาความรักในวัยเรียน ปัญหาระดับสังคมในมหาวิทยาลัย การได้รับการ ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน ปัญหาการปรับตัวของวัยรุ่น การปกป้องพวกพ้อง ปัญหาความรักของวัยรุ่น ปัญหา ความรักระหว่างเพศและความรักเพศเดียวกันและการแข่งขันในการตามหาความฝันของวัยรุ่น
ส่วนการรับรู้ของผู้รับสารวัยรุ่นเกี่ยวกับภาพตัวแทนของวัยรุ่นในละครชุดโทรทัศน์ พบว่ามีการรับรู้ในด้านเพศ การศึกษา ด้านความรัก มิตรภาพ วิถีชีวิต และทัศนคติของวัยรุ่นในละครชุดโทรทัศน์แต่ละเรื่อง โดยวัย รุ่นมีการรับรู้เป็นไปตามบรรทัดฐานหลักของสังคม ส่วนการตีความของวัยรุ่นต่อการนำเสนอเนื้อหาในละครชุดโทรทัศน์ พบว่าวัยรุ่นมีวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องอยู่ภายในจิตใต้สำนึกจากการถูกสั่งสอนโดยบรรทัดฐาน ทางสังคม โดยไม่คล้อยตามสิ่งที่ละครนำเสนอ
References
กฤษณา การะเกด. (2557). การเรียนรู้และทัศนคติการแก้ไขปัญหาสังคมไทยจากละครโทรทัศน์ชุด “น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์” ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิตคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Kridsana Karaket. (2014). Learning and attitude of the solution for social problem from television series “Nongmai Rai Borisut” of teenagers in Bangkok. Thesis for Master of Art, Program in Mass Communication, Thammasat University.]
กาญจนา แก้วเทพ และคณะ.(2557). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์. [Kanjana kaewthep. (2014). Science of Media and Cultural Studies. Bangkok: Parbpim Limited Parnership.]
วสันต์ ปัญญาแก้ว. (2560). วัฒนธรรมศึกษาเบื้องต้น. เชียงใหม่: หจก.วนิดาการพิมพ์. [Wasan Panyagoew. (2017). Introducing Cultural Studies. Chiang Mai: wanidapress Limited Parnership.]
องอาจ สิงห์สำพอง. (2557). กระบวนการผลิตละครโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด
สามลดา. [Ong-Art Singlumpong. (2017) The Production of television drama. Bangkok: Sam Lada Limited Partnership]
อุมาพร มะโรณีย์. (2551). สัมพันธบทของการเล่าเรื่องในสื่อการ์ตูน ละครโทรทัศน์และนวนิยาย. วิทยานิพนธ์ ภาควิชาการสื่อสารมวลชน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Umaporn Maronee. (2008). The intertextuality of narrative in comics, television dramas and novels. Thesis for Master of Art, Department of Mass Communication. Bangkok: Chulalongkorn University.]
Griffin EM, (2012). A First Look at Communication Theory. New York: McGraw-Hill.
Harwood, J. (2007). Understanding Communication and Aging. New York : Sage Publications.
Wimmer. Roger, (2011). Mass Media Research An Introduction. New York : Wadsworth Cengage Learning.