การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความซื่อสัตย์ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเยาวชนไทย

ผู้แต่ง

  • จุไรรัตน์ ทองคำชื่นวิวัฒน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, พฤติกรรม

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งน้ีมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพฤติกรรมความซื่อสัตย์และวิธีการสื่อสารของ ครอบครัวและการสื่อสารของสังคมในการส่งเสริมพฤติกรรมความซื่อสัตย์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเยาวชนไทย และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสื่อสารท่ีเหมาะสมของครอบครัวและของสังคมในการ เสริมสร้างพฤติกรรมความซื่อสัตย์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเยาวชนไทย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นครูที่สอน/ทำกิจกรรม ด้านจริยธรรม รวมจำนวน 6 คน และผู้ปกครองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 6 รวมจำนวน 30 คน จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนบางกะปิ โรงเรียนวัดราชโอรส โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต และโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม และวิเคราะห์เน้ือหาแบบอุปนัย

        ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะพฤติกรรมความซื่อสัตย์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ นักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงาน และความซื่อสัตย์ต่อสังคม หรือประเทศชาติ แต่บางครั้งนักเรียนไม่มีความซื่อสัตย์เนื่องจากประโยชน์ส่วนตนและปัจจัยแวดล้อม และ วิธีการสื่อสาร ได้แก่ ผู้ปกครองและครูควรสอน/ให้ความรู้ และเป็นแบบอย่างพฤติกรรมความซื่อสัตย์ ควร ให้เยาวชนฝึกการยับยั้ง ชั่งใจ จัดกิจกรรมสร้างความซื่อสัตย์ที่มีต่อตนเองและผู้อื่น รับผิดชอบงานท่ีมอบ หมาย มุ่งมั่นไม่เอาเปรียบ ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบ ไม่ทำให้ผู้อื่นและสังคมเดือดร้อน และมีจิตอาสา และ 2) แนวทางการสื่ิสารที่เหมาะสมของครอบครัวและของสังคมในการเสริมสร้างพฤติกรรมความซื่อสัตย์ตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเยาวชนไทย เป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างครอบครัว โรงเรียน วัด สังคม (เพื่อน-ชุมชน-สื่อ) และเด็ก/เยาวชน ในการให้ความรู้ความเข้าใจ กิจกรรมที่ฝึกปฏิบัติ การเป็นแบบ อย่างที่ดี มีความรับผิดชอบ และการสร้างจิตสำนึกด้านความซื่อสัตย์ ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ ต้องทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้

References

กลุ่มพัฒนาระบบการพัฒนาพฤตินิสัย. (2550). การพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขและพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง. กรุงเทพฯ : กรมราชทัณฑ์. [Rehabilitative Department Section. (2007). Development Efficiency Solution and Behavioral Development of Prisoners. Bangkok : Department of Corrections.]

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2538). ทัศนคติ การวดั การเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานชิ . [Prapapern Suwan. (1995). Attitude, Change Measurement and Health Behavior. Bangkok : Thai Watana Panich.]

พรพิมล เจียมนาครินทร์. (2539). พัฒนาการวัยรุ่น. กรุงเทพฯ : คอมฟอร์ม. [Pornpimol Jeamnakrit. (1996). Adolescents Development. Bangkok : Comform.]

พระครูประโชติจันทวิมล(นาม จนฺทโชโต). (2555). การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียนโรงเรียน นวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. ปริญญาพุทธศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. [Phrakru Phrachootjunthawimol (Nam Junthachoto). (2012). Promotion the Moral and Ethics DeVelopment for Students in Nawamintharachinutid Horwang Nonthaburi School, Pakkret District, Nonthaburi Province. Buddhism for The Degree of Master of Arts (Educational Administration) Graduate School, Bangkok : Mahachulalongkornra javidyalaya University.]

วายุ คงธนจรัส. (2552). ระดับความรู้ของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขานโยบายสาธารณะ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยบูรพา. [Wayu Kongdhanajaras. (2009). Knowledge Level of the People in A Waste Management in Huayyai Subdistrict Municipality, Bang Lamung District. Chonburi Province. Special Problems of Master of Public Administration Programs in Public Graduate School of Public Administration, Burapha University.]

สุรพล พะยอมแย้ม. (2545). ปฏิบัติการจิตวิทยาในงานชุมชน. กรุงเทพฯ : สหายพัฒนาการพิมพ์. [Surapol Payomyam. (2002). Psychological Operations in Community Work. Bangkok : Sahaipattana Print.]

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิก จำกัด. [Office of the National Education Commission. (1999). National Education Act B.E. 2542. Bangkok : Prikhaungraphic Co., Ltd.]

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รายงานการประเมินการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ. [Office of the Education Council. (2007). Report of Learning Management Evaluation to Moral of Students Promotion. Office of the Basic Education. Bangkok : Ministry of Education.]

อ้อมเดือน สดมณี. (2548). ประสิทธิผลในการฝึกอบรมทักษะและจิตลักษณะที่มีผลต่อพฤติกรรมประหยัดน้ำและไฟฟ้าของนักเรียนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. [Aomdeuan Sodmanee. (2005). The Efficiency in Skill and Psychological Training toward Water and Electric Saving Behavior of Elementary Students. Bangkok : Behavioral Science Research Institute. Srinakharinwirot University]

Satterlee. (2000). Loving-kindness Meditation. Malaysia : Buddha Dharma Education Association Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01