พฤติกรรมการเปิดรับ ความต้องการ และปัจจัยการตัดสินใจต่อ การชมรายการของชาวมุสลิมทางสถานีโทรทัศน์ นิวทีเอ็ม

ผู้แต่ง

  • ณภัทร วงศ์สุมิตร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ข้อมูลข่าวสาร

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการเปิดรับ ความต้องการ และปัจจัยการตัดสินใจต่อการชมรายการของ ชาวมุสลิมทางสถานีโทรทัศน์ นิวทีเอ็ม” นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ชมชาว มุสลิมทางสถานีโทรทัศน์ นิวทีเอ็ม 2)พฤติกรรมการเปิดรับชมรายการของชาวมุสลิมทางสถานีโทรทัศน์ นิวทีเอ็ม 3)ความต้องการในการรับชมรายการของชาวมุสลิมทางสถานีโทรทัศน์ นิวทีเอ็มและ 4)ปัจจัยการตัดสินใจ ของชาวมุสลิมทางสถานีโทรทัศน์ นิวทีเอ็ม การวิจัยคร้ังนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เชิงสำรวจ (Survey Research) เครื่องมือในการเก็บรวบรวม ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) กับกลุ่ม ตัวอย่าง จำนวน 400 คน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ชมชาวมุสลิมในกรุงเทพมหานครท่ีเคยชมรายการ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ นิวทีเอ็ม ท่ีมีช่วงอายุระหว่าง 20-60 ปี โดยสถิติท่ีใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉล่ีย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งสถิติท่ีใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่า t – test และค่า F – test (One Way ANOVA)

        ผลการวิจัยพบว่า

        1. ผู้ชมชาวมุสลลิมในกรุงเทพมหานครที่เคยชมรายการผ่านทางสถานีโทรทัศน์ นิวทีเอ็ม เป็นเพศหญิง มากกว่าเพศชาย มีช่วงอายุ 21-30 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 27.30 สถานภาพสมรสแล้ว คิดเป็นร้อยละ 55.50 การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 56.00 ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวและค้าขาย คิดเป็น ร้อยละ 34.50 และรายได้ต่อเดือน 10,000 – 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 35.30

        2. พฤติกรรมการเปิดรับชม รายการของชาวมุสลิมทางสถานีโทรทัศน์ นิวทีเอ็ม พบว่าส่วนใหญ่รับชม อาทิตย์ละ 2-3วัน คิดเป็นร้อยละ 30.30 เวลาในการรับชม 1-2 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 44.00 รับชมช่วงเวลา 20.01 – 22.00 น. คิดเป็นร้อยละ 30.50 รับชมโทรทัศน์เคเบิ้ลที่มีจาน คิดเป็นร้อยละ 73.00 รูปแบบรายการ แบบพูดคุย (ถามตอบ) คิดเป็นร้อยละ 38.50 รับชมรายการไขข้อข้องใจ (ถามตอบ) คิดเป็นร้อยละ 25.00 และเลือกชมเฉพาะช่วงที่สนใจ คิดเป็นร้อยละ 36.50

        3. ความต้องการในการชมรายการของชาวมุสลิมทางสถานีโทรทัศน์ นิวทีเอ็มพบว่าความต้องการในการ รับชมรายการของชาวมุสลิมทางสถานีโทรทัศน์นิวทีเอ็มด้านรายการความความต้องการสูงคือได้รับความ รู้ด้านศาสนาและประโยชน์จากการรับชมค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 ด้านสัญญาณคือระบบเสียงมีคุณภาพและ ฟังชัด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 และด้านประโยชน์ คือ ได้รับความรู้ด้านศาสนา หลักปฏิบัติอย่างถูกต้อง และ นำหลักศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากันที่ 4.21

        4. ปัจจัยการตัดสินใจชมรายการของชาวมุสลิมทางสถานีโทรทัศน์ นิวทีเอ็มพบว่าด้านผลิตภัณฑ์/บริการ ความต้องการสูงที่สุด คือ พิธีกรเป็นอาจารย์สอนด้านศาสนาที่มีความน่าเชื่อถือ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 ด้าน ราคา คือ อัตราค่าบริการ เช่น ค่าติดตั้งจานดาวเทียม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63 ด้านความสะดวกช่องทางการ ติดต่อและแสดงความคิดเห็น คือ ช่องทางการติดต่อทางโซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุค (facebook), ไลน์ (line) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 ด้านการส่งเสริมการตลาดคือการโฆษณาผ่านสื่อเช่นเฟสบุค (facebook), ยูทูป (youtube) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.64 ด้านบุคลากร คือ ความรู้ด้านศาสนา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 ด้านกระบวนการ คือ มีการจัดวางผังรายการได้อย่างเหมาะสม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.66 และด้านลักษณะทางกายภาพ คือ สัญญาณ เสียงชัดเจน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89

References

คณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร.(2558).สถิติประชากรมุสลิมที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร [Islamic Committee in Bangkok. (2015). Statistics of Muslim population living in Bangkok]

ศศิวิมล ขันแข็ง. (2549). การเปิดรับความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ รายการ “คนค้นฅน” ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร. สาขาวิชานิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช [Sasiwimol Jong. (2006). Exposure to satisfaction and use of “Kon Kon Kon” program Of viewers in Bangkok. Communication Arts, Sukhothai Thammathirat Open University]

อชิระ ดวงหอม. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับชมความต้องการและความพึงพอใจต่อทีวีดิจิทัล ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์. คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม การจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ [Achira Duanghom. (2016). Behavior of Exposure, Demand and Satisfaction with Digital TV Of viewers in Bangkok and metropolitan area. Thesis. Faculty of Communication Arts and Management Innovation National Institute of Development Administration]

อโนรชา เพิ่มวิกรานต์. (2549). การสำรวจทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อรายการโทรทัศน์ประเภท สารคดี กรณีศึกษา: รายการหลุมดำ . กรุงเทพมหานคร: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Anocha Permvikran. (2006). Survey of viewers’ attitudes towards non-fiction television programs.Case study: List of black holes. Bangkok: Faculty of Journalism and Mass Communication Thammasat University.]

ฮูดียา บินหมัดหนี. (2561). โทรทัศน์มุสลิมสี่ช่องดาวเทียมแห่งประเทศไทย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ [Huda Diya Binmhadnhi. (2018). Four Muslim Channel Television of Thailand, Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla University]

Yamane, T. (1973). Statistic: An introduction Analysis. (2nd ed.). New York: Haper.

เว็บไซต์

ข้อมูลประวัติ NewTm [ออนไลน์] www.newtm.asia/ >(วันที่สืบค้น 10 พฤษภาคม 2562) [NewTm profile [online] www.newtm.asia/> (Retrieved May 10, 2019)]

นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์. (2013). โทรทัศน์ดาวเทียม [ออนไลน์] www.dekisugi.net/archives/27329/comment-page-1 > (วันที่สืบค้น 10 พฤษภาคม 2562) [Narin Oranakitanan (2013). Satellite television [Online] www.dekisugi.net/archives/27329/comment-page-1 > (Retrieved May 10, 2019)]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01