Conceptualizing Digital Citizenship for Digital Natives in Thailand

ผู้แต่ง

  • Chawaporn Dhamanitayakul Graduate School of Communication Arts and Management Innovation, National Institute of Development Administration (NIDA)

คำสำคัญ:

พลเมืองดิจิทัล, ดิจิทัลเนทีฟ

บทคัดย่อ

        การตระหนักในความเป็นพลเมืองดิจิทัลมีความสำคัญอย่างมากในยุคของการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลโดย เฉพาะอย่างย่ิงกับประชาชนไทยที่เป็นดิจิทัลเนทีฟ เนื่องจากเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเก็บข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสารและการ สัมภาษณ์เชิงลึก โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบนิเวศน์ความเป็นพลเมืองดิจิทัลและพัฒนา แนวคิดรวมถึงคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่เหมาะสมกับดิจิทัลเนทีฟในประเทศไทย ท้ังนี้ จากการ ศึกษาพบว่า องค์ประกอบของระบบนิเวศน์ความเป็นพลเมืองดิจิทัลในประเทศไทย ประกอบด้วย 1) ดิจิทัล เนทีฟไทยในฐานะทุนมนุษย์ของการพัฒนาประเทศ 2) การส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทย 3) นโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 4) พฤติกรรมการใช้สื่อของดิจิทัลเนทีฟ 5) การให้การศึกษาเกี่ยว กับการรู้เท่าทันดิจิทัล (อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ) และ 6) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เหล่านี้ ล้วนมีอิทธิพลต่อการพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดิจิทัลในบริบทสังคมไทย ซึ่งหมายถึงแนวคิดในการปฏิบัติต่อสังคมในโลกดิจิทัลที่เชื่อมต่อไปยังโลกกายภาพ ด้วยความมีมนุษยธรรม เคารพสิทธิและ ความความแตกต่างหลากหลายของผู้อื่น มีจริยธรรม มีทักษะทางดิจิทัลเพื่อเป็นผู้ที่มีทักษะหลากหลายทาง อาชีพและมีความเข้าใจในอัตลักษณ์ตนเองรวมถึงใช้สื่อดิจิทัลเพื่อสื่อสารอัตลักษณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะ สมในฐานะคนไทยนอกจากนั้นควรใช้ประโยชน์จากบริบททางดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยความเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ผู้ซึ่งสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขด้วยความมีจิตสาธารณะและเป็นตัวแทนของการ เปลี่ยนแปลงสังคมดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ อย่างไรก็ดีในการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลให้เหมาะสมกับสังคมไทยนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนได้แก่ รัฐบาล ในฐานะผู้บริหารนโยบาย สถาบันการ ศึกษา ในฐานะผู้อบรมบ่มเพาะความรู้ ครอบครัว ในฐานะผู้อบรมบ่มนิสัย และ สื่อ ในฐานะผู้จัดการข้อมูล ข่าวสารรวมถึงเป็นพื้นที่ในการขับเคลื่อนสังคม

References

Jones, L. & Mitchell, K. (2015). “Defining and measuring youth digital citizenship.” New Media & Society. 12,(2) PP 301

Livingstone, S. and Helsper, E. (2010). “Balancing opportunities and risks in teenagers’ use of the internet: the role of online skills and internet self-efficacy.” New media & society, 12, (2). pp. 309-329.

Palfrey, J. and Gasser, U. (2008). Born Digital: Understanding the First Generation of Digital Natives. New York : Basic Books.

UNESCO. (2015). “A Policy Review: Building Digital Citizenship in Asia-Pacific through Safe, Effective and Responsible Use of ICT.” United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization 7.

Website

Christensen, C. M., Raynor, M. E. & McDonald R. (2016). “What Is Disruptive Innovation?.” Harvard Business Review. Retrieved December 22,2017 from https://hbr.org/2015/12/what-is-disruptive-innovation

Hobbs, R. (2010). Digital and Media Literacy: A Plan of Action. Washington DC: The Aspen Institute.International Society for Technology in Education (ISTE). (2016). ISTE Standards for Students. Retrieved January 19, 2015 from http://www.iste.org/standards.unesco.org/images/0015/001570/157020e.pdf

ITU. (2013). Measuring the Information Society 2013. Retrieve April 23, 2015 from http://www.itu.int/en/ITUD/Statistics/Documents/publications/mis2013/MIS2013_without_Annex_4.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01