ยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อการรักษาสิทธิความเป็นพลเมืองไทย ของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กนกรัตน์ ยศไกร สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์การสื่อสาร, กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า, สิทธิความเป็นพลเมืองไทย

บทคัดย่อ

        การวิจัยน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อปัจจัยท่ีเป็นปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนเรื่องสิทธิความเป็นพลเมืองไทยของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า 2.เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การสื่อสารในการรักษาสิทธิ ความเป็นพลเมืองไทยของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในประเทศไทยวิธีการวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบ การศึกษาแบบชาติพันธุ์วรรณนาท่ีใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี และเน้นการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการ ทำงานภาคสนามในท่ีนี้ ได้แก่ หมู่บ้านป่าคาสุขใจ ตำบลแม่สลองนอก และหมู่บ้านอาโย๊ะใหม่ ตำบลแม่ สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย รวมทั้งการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งที่เป็นคนในและ คนนอก (นักพัฒนาเอกชน นักวิชาการ เจ้าหน้าที่รัฐ และเยาวชนอาข่า)

        ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่เอื้อให้งานสำเร็จประกอบด้วยวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าความสามารถ ส่วนบุคคล สื่อและการเข้าถึงสื่อสาธารณะ การสนับสนุนและกระตุ้นเตือนจากคนนอกให้ผลิตสื่อเพื่อรักษา สิทธิความเป็นพลเมือง การใช้ทุนทางสังคมท่ีมีอยู่ ส่วนปัจจัยท่ีเป็นปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อน เรื่องสิทธิความเป็นพลเมืองไทยของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า คือขาดเอกภาพในการขับเคลื่อน ขาดการนำท่ีมี ประสิทธิภาพ และยุทธศาสตร์ยังไม่แหลมคมเพียงพอ ประเด็นการขับเคลื่อนยังไม่ชัดเจน การยอมรับจาก สังคมภายนอกยังน้อย ผู้ให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนยังไม่เพียงพอ คนรุ่นใหม่ขาดแรงบันดาลใจในการ ต่อต้านเพื่อสิทธิความเป็นพลเมืองไทยปัญหาการสื่อสารระหว่างคนไทยพื้นราบกับชาวอาข่าบนที่สูงปัญหา ความรู้และทักษะต่างๆ ปัญหาด้านทัศนคติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง 2.ชาวอาข่าใช้(1)ยุทธศาสตร์การสื่อสาร ด้านกระบวนการสื่อสาร ท่ีประกอบด้วยยุทธศาสตร์ด้านคน ยุทธศาสตร์ด้านสื่อและช่องทาง ยุทธศาสตร์ ด้านเนื้อหาและภาษา และรูปแบบในการสื่อสาร (2) ยุทธศาสตร์ด้านการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วยยุทธศาสตร์การลดความซับซ้อนของข้อมูลยุทธศาสตร์การให้การศึกษาความรู้และข้อมูลต่างๆ ยุทธศาสตร์การโน้มน้าวใจ ยุทธศาสตร์การบังคับให้ไปสู่นโยบาย (3) ยุทธศาสตรการสื่อสารประเด็นการเมือง เรื่องอัตลักษณ์ใหม่ของชาวอาข่า ภาษาอาข่ากับการรวมตัวข้ามชาติ และสื่อใหม่กับการต่อสู้เรื่องอัตลักษณ์

References

กนกรัตน์ ยศไกร. (2549). พลังชุมชนและการบูรณาการเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีชุมชนพุทธ มุสลิมและอาข่าในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Kanokrat Yossakrai. (2006). Community Power and Integration for Sufficiency Economy: Cases of Buddhist, Muslim and Akha Community in Thailand. Ph.D. Dissertation, Thammasat University.]

จิราพร ขุนศรี. (2541). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร การติดต่อกับสังคมภายนอก และทัศนคติกับ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าอาข่า พื้นที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน-อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. [Jiraporn Khunsri. (1998). Media Exposure Behavior, Communication with Outside Society and Attitude for Change of Akha Tribe Way of Life, MaeSalong Area, MaChan, Maefalaung, Chiang Rai Province. Master Degree Thesis of Communication Arts, Chulalongkorn University.]

จิรวรรณ ชัยยะ. (2540). การเปลี่ยนแปลงและปรับตัวทางสังคมของชาวเขาเผ่าอีก้อ(อาข่า) บ้านผาหมี อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร. [Jirawan Chaiya. (1997). Change and Social Adaptation of Akha Tribe, Baan Pamee, MaSai, Maefalaung, Chiang Rai Province. Master Degree Thesis of Arts, Narasaun University.]

ฉันทนา ไกรสถิต (2543). การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองของประเทศไทย.วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิตคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Chantana Kaisathit..(2000). Human Rights Protection under International Rules of Civic and Political Rights in Thailand. Master Degree Thesis of Law, Thammasat University.]

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2540). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่/ขบวนการเคลื่อนไหว ประชาสังคมในต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก. [Chairat Chareonsinolan. (1997). New Social Movement/ Civil Society Movement in Other Countries. Bangkok: Research Center and Text Producing, Krirk University.]

ทบ สงวนสัตย์. (2549). การดำรงชีวิตของชาวอาข่าที่อาศัยในเขตเมืองเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. [Thob Saouysath. (2006). Akha Live in Chiang Rai. Master Degree Thesis of Arts, Chiang Rai Rajabhat University.]

ธีระยุทธ บุญมี. (2546). พหุนิยม (Pluralism). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ. [Thirayudh Boonmee. (2003). Pluralism. Bangkok: National Research Council of Thailand]

ปนัดดา บุณยสาระนัย. (2546). “ชนเผ่าอาข่า: ภาพลักษณ์ที่ถูกสร้างให้สกปรก ล้าหลัง แต่ดึงดูดใจ.”ในอัตลักษณ์ ชาติพันธ์ุ และความเป็นชายขอบ. บรรณาธิการโดย ปิ่นแก้วเหลือ งอร่ามศรี.กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). [Panadda Bunyasaranai. (2003). “Image Constructed of Akha Tribe: Dirty, Lag But Attractive.” In Identity Ethnicity and Marginalization. PinKaew Laengaramsri editor. Bangkok: Sirindhorn Anthropology Center.]

พวงชมพู ศีลาวงษ์ และคณะ. (2548). ภูมิปัญญาชนเผ่าอาข่า บ้านแสนสุข ตำบลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. รายงานการค้นคว้าด้วยตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร. [Paungchompu Srilawong and Commitee. (2005). Akha Tribe Local Wisdom, Baan San Suk, Srikum Tambon, MaeChan, Chiang Rai Province. Independent Study, Master Degree of Education, Narasaun University.]

พิรันดร นิยตสุทธิ์. (2547). สิทธิพลเมืองกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ภายใต้ภาวการณ์ขยะมูลฝอย ของเทศบาลขอนแก่น. รายงานวิจัย ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. [Pirundon NItayasudh. (2004). Civil Rightss and Natural Environment under Garbage Situation of Khon Khen Municipality. Research Report, Social Sciences Department, Human and Social Sciences Faculty , Khon Khen University.]

ลินดา สุทธิกาญจน์. (2550). ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนปลอดยาเสพติด: ศึกษากรณี ชุมชนธนินทร เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏภูเก็ต. [Linda Suthikan. (2007). Community Development Strategy for Drug Free: A Case of Dhaninthon Community, Donmueng, Bangkok. Master Degree Thesis of Arts, Phuket Ratjabat University.]

วรัญชัย ประกอบวรรณกิจ. (2552). การศึกษาการบริหารจัดการและกลยุทธ์การสื่อสารของ นิตยสารขวัญเรือน. รายงานโครงการเฉพาะบุคคล วารสารศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. [Warunchai Prakobwannakij. (2009). To Study Management Administration and Communication Strategies of Kaun Rean Magazine. Independent Study, Master Degree of Communication Arts, Thammasat University.]

วิวัฒน์ เหลืองสมานกุล และพนม คลี่ฉายา. (2551). “ยุทธศาสตร์และกระบวนการรณรงค์ของโรงเรียนที่ เข้าร่วมโครงการเด็กไทยไม่กินหวาน ในเขตกรุงเทพมหานคร.” ใน วารสารนิเทศศาสตร์, 26 (4).หน้า 10 [Wiwat Laengsamarnkul and Panom Kleechaya. (2008). “Strategy and Campaign Process of Cooperative School in Thai Chide don’t eat sweet in Bangkok.” In Communication Arts Journal, 26(4).p.10]

ศิวพร โชติหิรัญพาณิชย์. (2552). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดมือถือไอโฟนผ่านเว็บไซต์. รายงานโครงการเฉพาะบุคคลวารสารศาสตร์มหาบัณฑิตคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Siwaporn Chothirunpanich. (2009). Marketing Communication Strategy of IPhone Mobile Market through Website . Independent Study, Master Degree of Communication Arts, Thammasat University.]

สุทธิภา วงศ์ยะลา. (2555). “การสื่อสารเพื่อสร้างกรอบจินตนาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน: กรณีศึกษาบทบาทปราขญ์ชาวบ้าน และผู้นำทางการปกครองในชุมชนอาข่า จังหวัดเชียงราย.” ใน วารสาร JC ระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และหลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต. 4(2). หน้า 7 [Suthipa Wongyala. (2012). “Communication for Creating Sufficiency Economy Imagine Framework to Community: A Case of Local Wisdom Roles and Governing Leaders in Akha Community, Chiang Rai Province.” In JC Journal. Graduate Level, Ph.D. and Master Degree of Communication Arts. 4(2) p.7].

สุพรรณิการ์ คงไพศาล. (2548). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการแก้ปัญหาภาวะข่าวลือภายในองค์กร กรณีศึกษา บริษัท ศรีราชเทพประทาน จำกัด. รายงานโครงการเฉพาะบุคคล วารสารศาสตร์มหา บัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Supannika Kongpaisan. (2005). Communication Strategies for Problem Solving of Organizational Rumor: A Case of Srirachthepatan Company Ltd . Independent Study. Master Degreeof Communication Arts, Thammasat University.]

เสาวลักษณ์ อัศวยิ่งถาวร. (2545). การศึกษากระบวนการบูรณาการวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมอาข่าของนักเรียนชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่าในระดับประถมศึกษา: กรณีศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียน ชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่าบ้านปลายฟ้า อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณม์หาวทิยาลัย.[SaowakukAtsawayingthwon.(2002).ToStudy the Integration Process between Thai Culturre and Akha Culture of Akha Student, Baan Pai Fa, Mae Sai, Chiang Rai Province. Master Degree Thesis of Education, Chulalongkorn University.]

อาเกอะ บอแช. (2548). การนับญาติของชาติพันธุ์อาข่า. สาระนิพนธ์ ศิลปศาสตรบัณฑิต หลักสูตร สาขาพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. [Arker Bawchae. (2005). Relative Count of Akha Ethnic Group. Undergraduate Thesis of Arts, Community Development Program, Chiang Rai Rajabhat University.]

อุทัย ปัญญาโกญ. (2547). การนำเสนอรูปแบบการศึกษาเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมอาข่า. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Uthai Panyakon. (2004). Presentation of Educational Format for Akha Cultural Inheritance. Ph.D. Dissertation of Education, Chulalongkorn University.]

Clark, Michael J. (2001). Akha Feasting: An Ethno Archaeological Perspective. In Feast: Archeological and Ethnographic Perspectives on Food, Politics, and Power. Edited by Dietler, Michael and Hayden, Brain. Washington and London: Smithsonian Institution Press.

Geusau, Leo Alting Von. (1983). Dialectics of Akhazah : The Interiorizations of a Perennial Minority Group. In Highlanders of Thailand. Edited by McKinnon, John and Bhruksasri, Wanat. Kuala Lumpur: Oxford University Press.

Herzfeld, Michael. (2005). Cultural Intimacy: Social Poetics in the Nation-State. (2nd ed.). New York and Oxon: Routledge.

Kammerer, Cornelia Ann. (2003). Spirit Cults among Akha Highlanders of Northern Thailand” In Founders’ Cults in Southeast Asia: Ancestors, Polity, and Identity. Edited by Nicola Tannenbaum and Kammerer Ann Cornella. Connecticut: Yale University.

Tooker, Deborah E. (2004). Modular Modern: Shifting Forms of Collective Identity among the Akha of Northern Thailand. Anthropology Quarterly. Vol. 77. p.60

เว็บไซต์

พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ (2556) ท่องเที่ยวศึกษา 1- จากญี่ปุ่นสุ่ไทย : ตามรอยความไร้สัญชาติ ณ หมู่บ้านป่าคาสุขใจแม่สลอง จ.เชียงราย, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2556 จาก https://www.gotoknow.org/posts [Paungrat Pathomsirirak. (2013). Study Tour 1- Japan to Thailand: Follow Statelessness at Pakasukjai Muban, Masalong, Chiang Rai Province, Retrieved August, 31, 2013. From http://www.gotoknow.org/posts.]

Mathew McDaniel. (2013). Akha Heritage Foundation Retrieved August, 31, 2013. From http://www.akha.org/eviction.htm.

สัมภาษณ์

จุฑามาศ ราชประสิทธิ์. (นักพัฒนาเอกชน มูลนิธิชุมชนและเขตภูเขา, สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555). [Juthamas Ratchapasit. (2012). In Hill area and Community Development Foundation Developer. Interview, February 15.]

ชุติมา มอแลกู่ (หมี่จู). (ผู้นำสตรีชาวอาข่า, สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555). [Chutima Maulaku (MeeJu). (2012). Akha Female Leader.. Interview, February 15.]

ปนัดดา บุณยสาระนัย. (2556). นักวิชาการสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556. [Panadda Bunyasaranai. (2013). Academician in Social Research Institution, Chiang Mai University. Interview, February 20.]

วาสนา ภัทรนันทกุล. (หัวหน้าสำนักงานอาข่าทนายความ, สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555). [Wadsana Pataranuntakul. (2012). Head of Akha Law Partnership. Interview, November 15.]

อาโซ แลเซอ. (ผู้บริหารเว็บไซด์ iamakha.com, สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555). [Arso Laeser. (2012). www.iamakha.com administrator. Interview, February 15.]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01