การประเมินประสิทธิผลโครงการ “ไทยแลนด์ ซุปเปอร์ แคมป์” ในการปรับ กระบวนทัศน์คุณธรรม 5 ประการ แก่เด็กและเยาวชน

ผู้แต่ง

  • ลักษณา คล้ายแก้ว วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ประเมินประสิทธิผล, โครงการไทยแลนด์ซุปเปอร์แคมป์, คุณธรรม5ประการ, เด็กและเยาวชน

บทคัดย่อ

        การวิจัยน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้และทัศนะที่มีต่อกระบวนทัศน์คุณธรรม 5 ประการ ได้แก่ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และรับผิดชอบ ของเยาวชนสองกลุ่ม คือ เยาวชนกลุ่มพี่เลี้ยง และเด็กท่ีเข้า ร่วมโครงการไทยแลนด์ซุปเปอร์แคมป์ ระดับ ป. 4 - 6 และ ม. 1 - 3 ศึกษา ทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการฯ 2) การต่อยอดเชิงพฤติกรรมหลังจบโครงการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ คือการสำรวจ และการวิจัย เชิงคุณภาพ คือการสัมภาษณ์กลุ่ม และสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับการสังเกตุกระบวนการกิจกรรมโครงการฯ

        ผลการศึกษาพบว่า เยาวชนกลุ่มพี่เลี้ยงทั้งสองรุ่น มีความรู้ ความเข้าใจ และทัศนะต่อกระบวนทัศน์ คุณธรรมทั้ง 5 ประการ อย่างลึกซึ้งถ่องแท้มากขึ้น จากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การออกแบบและดำเนินงานกิจกรรมด้วยตนเอง ด้วยบทบาทการเป็นพี่เลี้ยงทำให้แสดงพฤติกรรมท่ีเป็นแบบอย่างท่ีดีและถูกต้อง ส่วนเด็กท่ีเข้าร่วมโครงการ ฯ ล้วนมีความรู้ และทัศนะต่อกระบวนทัศน์คุณธรรมท้ัง 5 ประการมากขึ้นกว่าที่ เคยรับรู้และปฏิบัติมา เยาวชนกลุ่มพี่เลี้ยงต่อยอดเชิงพฤติกรรมด้วยการจัดกิจกรรมคุณธรรม5.0 กับนักเรียน รุ่นน้อง ด้านเด็กที่เข้าร่วมโครงการ ภายหลังจบโครงการ ฯ พบว่าได้ประพฤติตามคุณธรรมที่ทำอยู่แล้วอย่าง เคร่งครัดขึ้นโดยไม่ต้องเตือนหรือร้องขอจากผู้ปกครอง การเปลี่ยนแปลงทั้งความรู้ ทัศนะที่มีต่อคุณธรรมทั้ง 5 ประการและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมอย่างชัดเจนนี้ เกิดจากการใช้กระบวนการให้คำมั่นสัญญา ในการทำโครงการต่อเนื่อง และเครื่องมือปฏิทินความดีให้เด็กบันทึกภายหลังออกจากโครงการ และ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการสังเกตพฤติกรรมและบันทึกลงในสมุดความดี

References

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ (2554). คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อพัฒนาจริยธรรมในสังคมปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. [Ministry of Education, Department of Academic Affairs (2011). Handbook of Learner Development Activities to Develop Morality in Today’s Society. Bangkok: Shipping and Parcel Organization.]

ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ์ (2557). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.[NatanichakonSriboriboon(2014).Development of a Causal Model of Volunteer Psychology of High School Students in Schools under the Office of the Basic Education Commission. Master of Education Thesis. Chulalongkorn University.]

ปานทิพย์ พยัพพานนท์ (2558). กระบวนการสื่อสารภายในองค์กรเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ตปท. จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ [Pantip Payapanon (2015). Organization Communication Processes on Social Responsibility Activities of PTT Public Company Limited. Master of Business Communication Arts. Dhurakij Pundit University.]

ปิยนาถ สรวิสูตร (2552). แรงจูงใจของผู้นำเยาวชนที่มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม: กรณีศึกษาสภาเยาวชน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Piyanat Sorawut (2009). Motivation of Youth Leaders with Volunteer Spirit in Social Activities: a Case Study of the Bangkok Youth Council. Master of Social Work Thesis. Thammasat University.]

พระไพศาล วิสาโล (2550). เติมเต็มชีวิตด้วยจิตอาสา. กรุงเทพมหานคร: เครือข่ายพุทธิกา. [Phra Phaisan Visalo (2007). Fill Your Life with Volunteering. Bangkok: Buddhika Network.]

สมพร เทพสิทธา (2554). เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ. กรุงเทพมหานคร: สภายุวพุทธิก สมาคมแห่งชาติ. [Somporn Thepsithar (2011). Sufficiency Economy According to the Royal Initiative. Bangkok: National Association of Young Buddhists Association.]

เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย (2556). การปลูกฝังคุณธรรมความซื่อสัตย์ ชุมชนพุทธ คริสต์ อิสลาม. เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์เฟื่องฟ้า. [Saowanitnij Ananchai (2013). Cultivating Morality and Honesty in Buddhist Christian Islamic community. Chiang Mai: Fueng Fah Publishing.]

อภิชัย พันธเสน และคณะ (2559). รายงานการวิจัยโครงการสังเคราะห์งานวิจัย ข้อเขียนและ บทความเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียง. สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม มูลนิธิ บูรณะชนบท แห่ง ประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. [Apichai Punsen et al. (2016). Research Report of Synthesis Project of Writings and Articles about Sufficiency Economy. Institute for Rural and Social Management. Rural Restoration Foundation in Thailand under Royal Patronage.]

อโนมา ขันพันธ์ (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความซื่อสัตย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรีบุณยานนท์ จังหวัดนนทบุร.ี วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (Anoma Kanphan (2015). Factors Related to Honesty of Secondary Schools of Year 3 students at Sribunyanon School Nonthaburi. Master of Arts Thesis Social Development Branch, Kasetsart University.)

Maltz, Maxwell (2016). Psycho-Cybernatics. New York: Crowell Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01