การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อของ ผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจเพื่อสังคม

ผู้แต่ง

  • จุฑาลักษณ์ จันทร์สุกรี วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การเปิดรับข่าวสาร, ทัศนคติ, ธุรกิจเพื่อสังคม

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ที่มีต่อธุรกิจเพื่อสังคม และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการตัดสิน ใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจเพื่อสังคม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กับกลุ่มผู้อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 400 คน กำหนด ผลิตภัณฑ์ของธุรกิจเพื่อสังคม ได้แก่ ดอยคำ และ ดอยตุง

        ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย มีอายุระหว่าง 21-35 ปี มีการ ศึกษาระดับปริญญาตรี และประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เก่ียวกับ ธุรกิจเพื่อสังคม “ดอยคำ” และ “ดอยตุง” อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาในรายข้อพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ เกี่ยวกับธุรกิจเพื่อสังคมในเรื่องการระบุความเป็นธุรกิจเพื่อสังคมมากที่สุด รองลงมารู้เรื่องแหล่งรายได้ของ ธุรกิจเพื่อสังคม และรู้ถึงภารกิจหลักของธุรกิจเพื่อสังคม กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารธุรกิจเพื่อสังคม “ดอยคำ” โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ “ดอยตุง” อยู่ในระดับน้อย และทัศนคติท่ีมีต่อธุรกิจเพื่อสังคม “ดอยคำ” และ “ดอยตุง” โดยรวมอยู่ในระดับดี นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ของธุรกิจเพื่อสังคม “ดอยคำ” โดยรวมอยู่ในระดับซื้อแน่นอน และ “ดอยตุง” อยู่ในระดับซื้อ

        ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ดังนี้

        1. ผู้บริโภคที่มีอายุ การศึกษา และอาชีพต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารธุรกิจเพื่อสังคมแตกต่างกัน อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตามผู้บริโภคที่มีเพศต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารธุรกิจเพื่อสังคม ไม่แตกต่างกัน

        2. การเปิดรับข่าวสารธุรกิจเพื่อสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ของผู้บริโภคต่อธุรกิจเพื่อสังคม

        3. การเปิดรับข่าวสารธุรกิจเพื่อสังคม มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อธุรกิจเพื่อสังคม อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05

        4. การเปิดรับข่าวสารธุรกิจเพื่อสังคม มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของธุรกิจเพื่อสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

        5. ความรู้ต่อธุรกิจเพื่อสังคม มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อธุรกิจเพื่อสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

        6. ทัศนคติต่อธุรกิจเพื่อสังคม มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของธุรกิจเพื่อสังคม อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ฐิติ วิทยสรณะ. (2540). การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนกับความรู้ทัศนคติและการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัย (Unpublished Master’s thesis). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [Thiti Vitayasarana. (1997). Media Exposure, Political Knowledge, Attitude and Participation among University Students. Bangkok: Chulalongkorn University]

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2523). พัฒนาหลักสูตรและการสอน : มิติใหม่. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองธรรม. [Wichai Wongyai (1980). Development of Curriculum and Teaching: New direction. Bangkok: Rungreangtham.]

วุฒิ สุขเจริญ. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: จี.พี. ไซเบอร์พรินท์. [Wut Sookcharoen. (2016). Consumer Behavior. Bangkok: G.P.Cyberprint.]

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธนธัช การพิมพ์. [Siriwan Serirat. (2007). Consumer Behavior. Bangkok. Thanathud Pringting.]

Kotler, P. (2017). “Customer Value Management”. Journal of Creating Value, 3(2), pp.170-172.

เว็บไซต์

คณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ. (2561). เอกสารประชาสัมพันธ์ กรมสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สืบค้นจาก http://61.19.50.68/dsdw/buzzfile/20180516154233-498.pdf 20 มิถุนายน 2561 [Thai Social Enterprise Promotion Board (2018). Announcement of Department of Social Development and Welfare Ministry of Social Development and Human Security. Retreived from: http://61.19.50.68/dsdw/buzzfile/20180516154233-498.pdf, June 20,2018]

สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ. (2558). กิจการเพื่อสังคม. สืบค้นจาก www.tseo.or.th. 20 มิถุนายน 2561 [Thai Social Enterprise Office. (2015). Social Enterprise. Retreived from: www.tseo.or.th June 20, 2018 ]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01