การสื่อสารภายในตนเองของนักศึกษาระดับอุดมศึกษากับการ ขายบริการทางเพศ

ผู้แต่ง

  • ปัทมา สารสุข สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การสื่อสารภายในตนเอง, นักศึกษาระดับอุดมศึกษา, ขายบริการทางเพศ

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสื่อสารภายในตนเองของนักศึกษาระดับ-อุดมศึกษากับการขาย บริการทางเพศ 2) การสื่อสารด้านบุคลิกภาพภายในที่มีผลต่อการตัดสินใจขายบริการทางเพศของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร และ 3) แนวทางการแก้ปัญหาการขายบริการทางเพศของนักศึกษา ที่ทำงานกลางคืน กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาทำงานกลางคืนที่มีความเสี่ยงต่อการขาย บริการทางเพศ จำนวน 20 คน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาทำงานกลางคืนมีการ สื่อสารภายในส่งผลต่อการขายบริการทางเพศเพราะหวังว่าจะมีเงินพอใช้จ่าย และยังสามารถหาซื้อสิ่ง่อำนวยความสะดวกให้กับชีวิต ให้ตนเสมอภาคกับผู้อื่นในสังคม การสื่อสารด้านบุคลิกภาพที่มีผลต่อบุคลิกภาพ ภายนอกต่อการตัดสินใจขายบริการทางเพศ พบว่า นักศึกษาที่ทำงานกลางคืนจะมีความกระตือรือร้น มุ่งมั่น สร้างมนุษยสัมพันธ์เพื่อให้ลูกค้าซื้อบริการทางเพศ และแนวทางแก้ปัญหาการขายบริการทางเพศของ นักศึกษาที่ทำงานกลางคืน นักศึกษาจะต้องมีการสื่อสารภายในตนเองด้วยการมีจิตสำนึกที่ดี สนใจใฝ่เรียนรู้ พร้อมท่ีจะรับฟังเหตุผล ปรับตัวให้เหมาะสมกับการเป็นนักศึกษา และปรับปรุงพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น

References

กรณิกา โกวิลัยลักษณ์. (2558). การขายบริการทางเพศของนักศึกษาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตและโซเซียลมีเดีย (Social media) ในพื้นที่อำ เภอเมือง จังหวัดชลบุรี. รัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวชิ า เศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. [Kornnika Gowilailak. (2015). Sex Service of Female Students Via Internet and Social Media in the Area of Muang District, Chonburi Province, Thesis for Master of Political Science (Political Economy and Governance), Burapha University.]

กรรณิกา มณีรัตน์. (2557). สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงตัดสินใจก้าวเข้าสู่อาชีพขายบริการ : กรณีศึกษาผู้ หญิงขายบริการในเขตเมืองพัทยา. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. [Kannika Maneerat. (2014). The Main of Woman Resolve to be Prodtitutes : A Case Study of Voluntary Prostitutes in Pattaya

City, Thesis for Master of Political Science (Politics and Governments), Burapha University.]

ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท และสุนี เลิศแสวงกิจ. (2540). การพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ : ภู่ภิญโญการพิมพ์. [Damrongsak Chaisanit and Sunee Lertsawaengkit. (1957). The Personality Development. Bangkok : Phupinyo Printing.]

ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์, สายทิพย์ สพมานะ, และจันทนา ทองประยูร. (2561). “การสื่อสารในครอบครัวกับ

ทัศนคติการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร” วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 7(1), 18-29. [Titipat Iamnirun, Saithip Sopmana, and Chantana Thongprayoon. “Family Communications and Sexual Attitudes among Lower Secondary-School Students in Bangkok”. Suan Dusit Graduate School Academic Journal. 7(1), 18-29.]

บังอร คงโต. (2552). การขายบริการทางเพศของเด็กชายในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ คณะรัฐศาสตร์และ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. [Bungorn Kongto. (2008). Sex Service Transaction of Young Boy in Pattaya, Chonburi Province. Thesis for Master of Political Science (Political Economy and Governance), Burapha University.]

ภรภาดา อรุณรัตน์. (2552). กลวิธีในการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นหญิงตามประสบการณ์ของวัยรุ่นชาย. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร. [Ponpada Aroonrat. (2008). Ways of Adolescent Female’s Refusal Having Sexual Relation Based on Adolescent Male’s Experiences. Thesis for Master of Nursing Science Program in Community Nurse Practitioner, Naresuan University.]

วัฒนา วิเศษฤทธิ์. (2552). ทัศนะของประชาชนต่อการขายบริการทางเพศบนสื่ออินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารงานยุติธรรม ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Wattana Visetrit. (2009). Public Opinions Regarding Prostitution Solicitations. Thesis for Master of Arts Program in Criminal Justice Administration Department of Social Work Faculty of Social Administration, Thammasat University.]

สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์. (2557). การขายบริการทางเพศของวัยรุ่นไทยบนสื่ออินเทอร์เน็ต. พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร. หน้า 59-72 [Somdech Rungsrisawat. (2014). “The Prostitution of Thai Teens on The Internet.” Journal of the Association of Researchers. 19(1), pp.59-72.]

อุดมพร ยิ่งไพบูลย์สุข และเปรมวดี คฤหเดช. (2552). เพศวิถีของนักศึกษาในเขตรัตนโกสินทร์ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. รายงานการวิจัย วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา. [Udomporn Yingpaiboonsuk and Premwadee Karuhadej. (2011). Students’sexuality in Rattanakosin province case study at Sunnandha Rajabbat university. Suan Sunandha Rajabhat University, Research, College of Nursing and Health, Suan Sunandha Rajabhat University.]

Jung, Carl G. (1939). The Integration of The Personality. N.Y. : Ferrar & Rinehart.

Pearson, Judy C.k and Nelson, Paul. (1997). An Introduction to Human Communication Understanding & Sharing. New York : Times Mirror Higher Education Group,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01