พฤติกรรมและการใช้ประโยชน์จากการเปิดรับชมรายการข่าวภาคเช้าทางสถานี โทรทัศน์ดิจิทัลของผู้สูงอายุท่ีนับถือศาสนาอิสลามในเขตกรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยมีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของ ผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลามในเขตกรุงเทพมหานครที่เปิดรับชมรายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ ดิจิทัล (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับและการใช้ประโยชน์จากการเปิดรับชมรายการข่าวภาคเช้าทาง สถานีโทรทัศน์ดิจิทัลของผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลามในเขตกรุงเทพมหานคร (3) เพื่อเปรียบเทียบการใช้ ประโยชน์จากการรับชมรายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลกับลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลามในเขตกรุงเทพมหานคร
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือกลุ่มผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลามที่อาศัยอยู่ในเขต กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง(Purposive Sampling) เขตการปกครองที่มีผู้นับถือศาสนา อิสลามมากที่สุดในกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน
ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมการเปิดรับชมรายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลผ่านอุปกรณ์ โทรทัศน์คิดเป็นร้อยละ 83.0 มีการรับชมรายการข่าวภาคเช้าในรูปแบบรับชมแบบสดคิดเป็นร้อยละ 94.0 มีการรับชมรายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลช่อง 3 HD (เรื่องเล่าเช้านี้)คิดเป็นร้อยละ 40.0 มีการรับชมรายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลทุกวัน คิดเป็นร้อยละ 61.0 ใช้เวลาในการรับ ชมข่าวภาคเช้าทางโทรทัศน์ดิจิทัลโดยเฉลี่ยในแต่ละวันมากกว่า 1 ชั่วโมงคิดเป็นร้อยละ 61.0 มีลักษณะ ในการรับชมรายการข่าวภาคเช้าแบบตั้งใจชมเฉพาะช่วงที่มีเนื้อหาน่าสนใจคิดเป็นร้อยละ 50.0 และเลือกรับชมรายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลเพราะเหตุผลเพื่อติดตามข่าวสารประจำวันคิดเป็นร้อยละ 58.0 (2) การใช้ประโยชน์จากรายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลพบว่าการใช้ประโยชน์จากรายการ ข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อจำแนกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า อยู่ในระดับ มากทุกข้อ (3) ผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลามในเขตกรุงเทพมหานครที่มีเพศต่างกัน มีการใช้ประโยชน์จาก การเปิดรับรายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล ไม่แตกต่างกัน (4) ผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่มีสถานภาพต่างกัน มีการใช้ประโยชน์จากการเปิดรับรายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลแตก ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยพบว่า ผู้สูงอายุที่มีสถานภาพสมรสและสถานภาพหม้าย/ หย่าร้าง มีการใช้ประโยชน์จากการเปิดรับรายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลสูงกว่าผู้สูงอายุที่มี สถานภาพโสด (5) ผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลามที่มีอายุต่างกัน มีการใช้ประโยชน์จากการเปิดรับรายการ ข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (6) ผู้สูงอายุที่นับถือ ศาสนาอิสลามที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีการใช้ประโยชน์จากการเปิดรับรายการข่าวภาคเช้าทาแงสถานี โทรทัศน์ดิจิทัลไม่แตกต่างกัน
References
จารุพร เกิดสมบุญ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปิดรับชมรายการข่าวโทรทัศน์ภาคเช้าของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง. [CharupornKoedsomboon. (2009). Factors Affecting the Exposure Behaviors of Bangkok Metropolis Residents Viewing Morning Television News Programs. Master of Arts, Faculty of Mass Communication, Ramkhamhaeng University.]
จารุวรรณ นิธิไพบูลย์, สันทัด ทองรินทร์ และวิทยาธร ท่อแก้ว. (2559). “การพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อ ผู้สูงอายุ.” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), pp.21-39. [Jaruwan Nitipaiboon, Santat Thongrin and Wittayatorn Torkaew (2016) TELEVISION PROGRAMS DEVELOPMENT FOR ELDERLY Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University Royal patronage 10 (2) pp.21-39.]
จุติวดี จิตประพันธ์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรับชมรายการข่าวเช้าทางโทรทัศน์ของ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม. [ChutiwadiChitpraphan. (2013). Factors Influencing The Exposure of TV Morning News of Bangkok People. Master of Arts, Faculty of Communication, Sripatum University.]
ชานันต์ รัตนโชติ. (2552). ประโยชน์ในการรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ของประชาชนใน กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยรามคำแหง.[ChanunRatanachot (2009) Benefits to Residents of Bangkok Metropolis from Receiving Online Newspaper Information Master of Arts, Faculty of Mass Communication, Ramkhamhaeng University.]
พนม คลี่ฉายา. (2555). ความต้องการข่าวสาร การใช้สื่อ และนิสัยการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Phanom kheechaya (2012) Needs for news, media usage and media exposure habits of Thai elderly. Bangkok : Chulalongkorn University Printing.]
พัชนี เชยจรรยา. (2538). แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.[Patchanee Cheychanya (1995) Key concepts in communications. Bangkok : Pappim Printing.]
ศศิวัฒน์ รัตนพันธุ์. (2554). การเปิดรับความพึงพอใจ และการใช้ประโยชน์ของผู้ชมรายการ “เช้าข่าวข้น คนข่าวเช้า” ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวีในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์นิเทศ ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Sasiwat Rattanaphan. (2011). Exposure Behaviors, Uses and Gratification of Audiences in Bangkok Metropolis toward “Chaw-Kaw-KonKhun- Kaw-Chaw”Program on Channel 9 Modern Nine TV. Master of Arts, Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University.]
สำนักคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร. (2561). สรุปข้อมูลสัปปุรุษปัจจุบันทั้งหมด กรุงเทพมหานคร: สำนักคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร. [Office of the Board of Islamic in Bangkok (2018) Summarizing all current snooping information Bangkok : Office of the Board of Islamic in Bangkok.]
สุภวัฒน์ สงวนงาม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกรับชมรายการข่าวของสถานีโทรทัศน์ ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น. [Supawat Sa-nguan-ngam (2014).Factors Influential to Viewers’ Behavior in Their Viewingof News Program on Television : Bangkok Metropolitan Area. Master of Business Administration, Nation University.]
อรพินท์ ศักดิ์เอี่ยม. (2537). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจที่เด็กได้รับจากการชมรายการโทรทัศน์ สำหรับเด็ก. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Orapin Sak-eam. (1994). Uses and gratification of children’s exposure to children television program. Master of Arts, Faculty of Communication, Chulalongkorn University.]
Murray, J. P., & Kippax, S. (1979). From the early window to the late night show : International trends in the study of television’s impact on children and adults. New York: Academic Press.
Yamane, T. (1973). Statistics : An introductory analysis. New York : Harper and Row.
เว็บไซต์
ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2561,จาก http://library.senate.go.th/document/Ext6078/6078440_0002.PDF [Chompoonuch Prompak (2013) Access to the elderly society of Thailand. Retrieved January 12, 2018 from http://library.senate.go.th/document/Ext6078/6078440_0002.PDF]
Reid, K. (1989). Lifeline or leisure? :TV’s role in the lives of the elderly. Retrieved January 10, 2018, from http://www.medialit.org/reading-room/lifeline-or-leisure-tvs-role-lives-elderly.