วาทกรรม อำนาจ และการสื่อสารวาทกรรมภิกษุณีเถรวาทไทย

ผู้แต่ง

  • พงษ์พันธุ์ กีรติวศิน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

        งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะอธิบายวาทกรรมและปฏิบัติการทางวาทกรรมภิกษุณีเถรวาทไทยที่ปรากฏในสังคมไทยและวิพากษ์เชิงอำนาจผ่านทางวาทกรรมดังกล่าว โดยใช้การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ตามแนวคิดของ Michel Foucault และข้อมูลเอกสาร ข่าวเหตุการณ์ที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ และคำสัมภาษณ์ที่เกี่ยวกับความพยายามการรื้อฟื้นภิกษุณีบริษัทที่เกิดขึ้นในไทยทั้งสองครั้ง ผลการวิจัยพบว่าปฏิบัติการทางวาทกรรมภิกษุณีเถรวาทไทย ปรากฏครั้งแรกในการรื้อฟื้นภิกษุณีบริษัทที่เกิดขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2471 ซึ่งไม่ประสพความสำเร็จ ความพยายามครั้งปัจจุบันเกิดขึ้นเมื่อฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์เดินทางไปรับการบรรพชาที่ศรีลังกาและประกาศเป็นภิกษุณีเถรวาทรูปแรกของไทย ส่งผลให้กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมไทย ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าการปะทะกันของวาทกรรมทั้งสองครั้งเกิดขึ้นภายใต้กรอบความรู้พระพุทธศาสนา อำนาจรัฐ และจารีตประเพณี โดยมีการใช้กลยุทธ์การสื่อสารในลักษณะ การอธิบาย การโต้แย้งและประณาม การใช้อำนาจบังคับ การใช้องค์กรสถาบัน การใช้ความรุนแรง การใช้การดื้อดึง และการปฏิบัติผ่านการใช้สื่อต่างๆ การบังคับใช้กฎหมาย วัตรปฏิบัติและการทำประโยชน์แก่สังคมของภิกษุณี

References

จามะรี เชียงทอง. (2558). ผี ร่างกายผู้หญิง และโลกาภิวัตน์. In ส. ตันชัยนันท์ (Ed.), จิตร ภูมิศักดิ์ และ วิวาทะเรื่องเพศภาวะในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พีเพรส จำกัด. [Jamaree Chiengthong. (2015). Ghost, Women Body and the Globalization]. In Sucheela Tanchainan (Ed.), Chit Bhumisak the Opinion about Gender in Thai Society] (pp.80-101). Bangkok: P.Press Co.Ltd]

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2552). วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก สำนักพิมพ์วิภาษา. [Chairat Charoensin-o-larn. (2009). Development Discourse: Power, Knowledge, Truth, Identity and Otherness. Bangkok: Vibhasa publishing.]

ธาวิต สุขพานิช. (2558). เอกสิทธิ์แห่ง "เแม่เจ้าเรือน". In ส. ตันชัยนันท์ (Ed.), จิตร ภูมิศักดิ์ และวิวาทะเรื่องเพศภาวะในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พีเพรส จำกัด. [Thawit Sukphanit. (2015). The Privilege of Mother of the House. In Sucheela Tanchainan (Ed.), Chit Bhumisak the Opinion about Gender in Thai Society] (pp.47-51). Bangkok: P.Press Co.Ltd.]

ธัมมนันทาภิกษุณี. (2547). เรื่องของภิกษุณีสงฆ์. กรุงเทพฯ: บริษัท ส่องศยาม จำกัด. [Bhikkhuni Dhammananda. (2004). The Story of Bhikkhunis. Bangkok: Song Siam Co. Ltd.]

นรินทร์ ภาษิต. (2544). แถลงการณ์เรื่อง สามเณรี วัตร์นารีวงศ์. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). [Narin Bhasit. (2001). The Statement Regarding Samaneri of Nariwong Monastery. Bangkok: Amarin printing and publishing PCL.]

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2557). ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ ว่าด้วยประเพณี, ความเปลี่ยนแปลง และเรื่องสรรพสาระ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มติชนปากเกล็ด. [Nithi Eawsriwong. (2014). Loincloth, Sarong, Underwear and etc. Regarding Tradition, Change, and Miscellaneous. Bangkok: Matichon Press.]

ปรานี วงษ์เทศ. (2558). ผู้หญิงสยาม บทบาทและสถานภาพร่องรอยจากพิธีกรรม ความเชื่อ. In ส. ตัน ชัยนันท์ (Ed.), จิตร ภูมิศักดิ์ และวิวาทะเรื่องเพศภาวะในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พีเพรส จำกัด.[Pranee Wongthes, (2015). Siamese Women, Roles and the Statuses from Faiths and Rituals. In Sucheela Tanchainan (Ed.), Chit Bhumisak the Opinion about Gender in Thai Society (pp.54-66). Bangkok: P.Press Co.Ltd.]

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2556). คนไทยใช่กบเฒ่า? (เถรวาท vs. ลัทธิอาจารย์). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา. [Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2013). Are Thai people old frog? (Theravada vs. following teachers). Bangkok: Phraphutthasātsanā Press of Thammasapa.]

ภัทรพร สิริกาญจน. (2557). พระพุทธศาสนาในประเทศไทย: เอกภาพในความหลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Pataraporn Sirikanchana. (2014). Buddhism in Thailand: The Unity in the Diversity. Bangkok. Thammasart University Press.]

วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2558). ผู้หญิงในสังคมหมู่บ้าน. In ส. ตันชัยนันท์ (Ed.), จิตร ภูมิศักดิ์และวิวาทะเรื่องเพศภาวะในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พีเพรส จำกัด. [Warunee Bhurisinsith, (2015). Women in Village Society. In Sucheela Tanchainan (Ed.), Chit Bhumisak the opinion about gender in Thai society] (pp.131-154). Bangkok: P.Press Co.Ltd.]

สามชาย ศรีสันต์. (2561). On Critical Discourse Analysis ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทศึกษาวิเคราะห์วาทกรรมการพัฒนา/หลังการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมมติ. [Samchaiy Sresunt. (2018). On Critical Discourse Analysis. The Study of the Analysis of Development / Post-development Discourses. Bangkok. Sommadhi Publisher.]

สุชีลา ตันชัยนันท์. (2558). ผู้หญิง" ในทัศนะจิตร ภูมิศักดิ์. In ส. ตันชัยนันท์ (Ed.), จิตร ภูมิศักดิ์และวิวาทะเรื่องเพศภาวะในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พีเพรส จำกัด. [Sucheela Tanchainan, (2015). Women in Chit Bhumisak’s View. In Sucheela Tanchainan (Ed.), Chit Bhumisak the Opinion about Gender in Thai Society] (pp. 8-31). Bangkok: P.Press Co.Ltd.]

สุวดี ธนประสิทธ์พัฒนา. (2558). การวิเคราะห์เรื่องเพศภาวะในสังคมไทย. In ส. ตันชัยนันท์ (Ed.), จิตร ภูมิศักดิ์และวิวาทะเรื่องเพศภาวะในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พีเพรส จำกัด. [Suwadee Thanaprasitpattana, (2015). The Analysis of Gender in Thai Society: from the Historical perspective. In Sucheela Tanchainan (Ed.), Chit Bhumisak the Opinion about Gender in Thai Society] (pp. 38-46). Bangkok: P.Press Co.Ltd.]

เอกสารจากสำนักหอจดหมายเหตุ ม.ร. 7 รล ม้วนที่ 31 [Documents from The National Archives of Thailand]

หนังสือแบบเรียน รายวิชาพื้นฐาน พระพุทธศาสนา ป. 1 – ป. 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เรียบเรียงโดย นางสาวจงจรัส แจ่มจันทร์ พิมพ์โดย บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด กรุงเทพ. [Textbook Buddhism Basic Course Primary School. Group of Social Studies, Religious and Culture in accordance with 2008 curriculum. Edited by Jongjarus JamJan. Aksornchareontud Press.]

หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน พระพุทธศาสนา ม.1 - ม. 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ผู้เรียบเรียง ศ.ดร.วิทย์ วิศทเวทย์ และศ. พิเศษ เสถียรพงษ์ วรรณปก ผู้ตรวจ ศ.พิเศษ จำนง ทองประเสริฐ รศ.ชูศักดิ์ ทิพย์เกสร นายสำรวย สารัตถ์ บรรณาธิการ นายสมเกียรติ ภู่ระหงษ์ พิมพ์โดยบริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด กรุงเทพ. [Textbook Buddhism Basic Course Secondary School. Group of Social Studies, Religious and Culture in accordance with 2008 curriculum. Edited by Jamnong Tongprasert, Chusak Tipkasorn, Somrouy Sarat. Somkiet Pusahong (Ed.). Aksornchareontud Press.]

หนังสือยืมเรียนหลักสูตรธรรมศึกษา ชั้นตรี ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2557 คณะสงฆ์และรัฐบาลจัดพิมพ์เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย 2558. [Textbook Dhamma Study, Elementary Level. Revised 2014. Bangkok. (2015) Mahamakut Buddhist University.]

หนังสือยืมเรียนหลักสูตรธรรมศึกษา ชั้นโท และชั้นเอก ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2557 คณะสงฆ์และรัฐบาลจัดพิมพ์เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. [Textbook Dhamma Study, Intermediate and Advance Level. Revised 2014. Bangkok. Buddhapress.] Assvavirulhakarn, P. (2010). The Ascendancy of Theravada Buddhism in Southeast Asia. Thailand: Silkwork Books.

เว็บไซต์

ประวัติพระมหาโพธิธรรมาจารย์ วงศ์ศากยะ ภิกษุณีโพธิสัตต์วรมัย กบิลสิงห์ มหาเถรี Retrieved 13 July 2016 from www.thaibhikkhunis.org [The Biography of Ven. Ta Tao Fa Tzu Varamai Kabilsingh]

พระภิกษุณี-ควรมีหรือไม่-สมเด็จพระญาณสังวรฯ. Retrieved 10 March 2018 from https://palungjit.org/threads/ พระภิกษุณี-ควรมีหรือไม่-สมเด็จพระญาณสังวรฯ.155929/ [Should we have bhikkhunis?]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01