แรงจูงใจ พฤติกรรมการชม และความพึงพอใจต่อรายการของเกาหลี ทางวีดิทัศน์ออนไลน์ Viu (Thailand)

ผู้แต่ง

  • ปรารถนา พานนาค คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, พฤติกรรมการชม, ความพึงพอใจ, รายการของเกาหลี, วีดิทัศน์ออนไลน์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แรงจูงใจในการชมรายการของเกาหลีทางวีดิทัศน์อออนไลน์ Viu (2) พฤติกรรมในการชมรายการของเกาหลีทางวีดิทัศน์ออนไลน์ Viu (3) ความพึงพอใจในการชมรายการของเกาหลีทางวีดิทัศน์ออนไลน์ Viu (4) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการชมของผู้ชมรายการและพฤติกรรมในการชมรายการของเกาหลีทางวีดิทัศน์ออนไลน์ Viu  (5) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมในการชมและความพึงพอใจในการชมรายการของเกาหลีทางวีดิทัศน์ออนไลน์ Viu การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกเฟซบุ๊ก Viu (Thailand) จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยแบบ T-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

       ผลการวิจัยพบว่าผู้ชมมีแรงจูงใจในด้านความบันเทิงสูงที่สุด ผู้ชมมีพฤติกรรมการรับเลือกรับชมสื่อเกาหลี ประเภทละครชุดเกาหลีมากที่สุด และ ด้านของความพึงพอใจในการรับชม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในด้านเนื้อหาที่นำเสนอ โดยผู้ชมได้รับความบันเทิงจากละครชุดเกาหลีมากที่สุด            ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า แรงจูงใจในการชมมีความแตกต่างกันตามเพศและอายุ พฤติกรรมในการชมมีความแตกต่างกันตามเพศ แรงจูงใจในการชมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการชมของผู้ชม พฤติกรรมในการชมมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการรับชมของผู้ชมรายการของเกาหลีผ่านวิดีโอออนไลน์ Viu

References

กมลชนก โบว์สุวรรณ. (2559). แรงจูงใจกับการเปิดรับชมรายการสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาบริหารสื่อสารมวลชน. [Kamonchanok Bosuwan. (2016). Viewers’ Exposure To, Knowledge, Attitudes and Behaviors Towards Digital TV In Bangkok Metropolitan Region. Master of Arts (Mass Communication Administration), Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University.]

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Chuchai Samitthikrai. (2011). Consumer Behavior. Bangkok: Chulalongkorn University.] มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2533). เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [Sukhothaitammathirat. (1990). Main Subject and Communication Theory. Nonthaburi: Sukhothaitammathirat University.] ยุบล เบญจรงค์กิจ. (2534). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Yubol Benjarongkij. (1991). Audience Analysis. Bangkok: Chulalongkorn University.]

วริสรา เวทยสุภรณ์. (2550). พฤติกรรมการรับชม และความพึงพอใจจากการรับชมละครเกาหลีทางสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาบริหารสื่อสารมวลชน. [Varissara Vedhsuphorn. (2007). Survey Research of the Bangkok Metropolitan audiences on Their Exposure and Gratification Towards the Korean Television Dramas Program. Master of Arts (Mass Communication Administration), Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University.]

สราวุธ ทองศรีคำ. (2559). “Video Streaming บริบทของภาพยนตร์ออนไลน์ในวัฒนธรรมดิจิทัลศึกษา” วารสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์. (1) มกราคม-มิถุนายน [Sarawut Thongsrikam. (2016). “Video Streaming: In the cultural context of digital film online”. Walailak Abode of Culture Journal. (1) January-June]

Katz, E. (1973). “Uses and gratifications research.”, Public Opinion Quarterly, 37 (4)

Merril, J. C. (1971). Media Message An Men: New Perspectives in Communication. New York: David Mckay Company Inc.

เว็บไซต์

Ericson Consumer Lab. (2013). Consumer TV and Video Behaviors. Retrieved : https://www.ericsson.com/en/news/2013/3/consumer---tv-and-video-behaviors. [ December 12, 2017].

Ericson Consumer Lab. (2017). Future of TV and Media. Retrieved : https://www.ericsson.com/en/news/2017/10/consumerlab-experts-on-the-future-of-tv-and-media. [ March 18, 2018].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01