ความเห็นของประชาชนต่อการออกแบบสารในภาวะวิกฤต
คำสำคัญ:
ภาวะวิกฤต, การออกแบบสารบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายการออกแบบสารที่ใช้ในการสื่อสารภาวะวิกฤตขององค์กรหรือตราสินค้าและเพื่อสำรวจความเห็นของประชาชนที่ทำงานในกรุงเทพและปริมณฑลที่มีต่อการออกแบบสารฯใช้รูปแบบการวิจัยแบบการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิจัยเชิงสำรวจโดยวิเคราะห์เอกสารคำชี้แจงขององค์กรหรือตราสินค้าในภาวะวิกฤตในช่วงปี พ.ศ. 2557 – 2561 จากนั้นนำผลการวิเคราะห์ไปทำแบบสอบถามสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง
ผลการวิจัยพบว่า ด้านกลยุทธ์มี 12 รูปแบบ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ รายได้ และระดับการศึกษาต่างกัน เข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามต่อกลยุทธ์ที่ใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยการใช้กลยุทธ์การขอโทษ และกลยุทธ์ที่มีการระบุว่าจะมีบทลงโทษ กรณีองค์กรเป็นฝ่ายผิด และเหตุการณ์ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สิน ทำให้กลุ่มตัวอย่าง เข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามในระดับมาก
สำหรับด้านการเรียบเรียงสาร มี 4 แบบ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกัน เข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามต่อการเรียบเรียงสารที่ใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งการเรียบเรียงสารโดยแบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อทีละหัวข้อเรียงกันไป และการเรียบเรียงโดยอธิบายตามลำดับเวลาของเหตุการณ์ ทำให้กลุ่มตัวอย่างเข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามในระดับมาก
ด้านการจัดลำดับข้อความ มี 3 แบบ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ รายได้ และระดับการศึกษาต่างกันมีความเข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามต่อการจัดลำดับข้อความที่ใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยการจัดให้สาระสำคัญอยู่ตอนต้น ทำให้กลุ่มตัวอย่างเข้าใจ และยอมรับเหตุผลในระดับมาก
ด้านจุดจูงใจ มี 2 ประเภท โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ รายได้ และระดับการศึกษาต่างกัน เข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามต่อจุดจูงใจที่ใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
นันทพร เกรียงศักดิ์โอภาส (2545). ผลของการขู่และความชอบความคงเส้นคงวาต่อปฏิกิริยาทางจิต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Nantaporn Kriangsak-opat.(2002) Effects of Threatening Messages and Preference for Consistency on Psychological Reactance. Thesis, Chulalongkorn University]
ปรีชญา แม้นมินทร์ (2558). ค่านิยมและการใช้สื่อของเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ เอ็กซ์ และวายไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Prichaya Manmin.(2015) Values and Media Usages of Generations Baby Boomer, X, and Y in Thailand. Thesis, Chulalongkorn University]
วราภรณ์ กุลสมบูรณ์ (2547). ผลของการอ่านข่าวออนไลน์ที่มีรูปแบบการจัดเรียงสารแบบเป็นลำดับและไม่เป็นลำดับต่อความเข้าใจ ความจำ และความพึงพอใจของผู้อ่าน. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Waraporn Kulsomboon.(2004). Effect of linear and Non-linear writing styles on readers' comprehension, recall, and satisfaction of news stories. Thesis, Chulalongkorn University]
ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2542). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.[Yubol Benjarongkij.(1999). Audience Analysis, Chulalongkorn University]
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท (2554). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ . สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Orawan Pilun-Owad. (2017). Communication and Persuasion. Chulalongkorn University]
Bettinghaus, E. P. (1980). Persuasive communication. (3rd ed.), New York : Holt,Rinehart and Winston.
Coombs, W. T. (2015). “The value of communication during a crisis: Insights from strategic communication research” Business Horizons, 58, 141-148.
Fearn-Banks, K. (2017). Crisis communications : a casebook approach. New York : Routledge.
Guth, D. W. (1995). Organizational Crisis Experience and Public Relations Roles (0363-8111). Retrieved from http://ezproxy.car.chula.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=eric&AN=EJ506387&site=eds-live
Pettersson, R. (2012). Introduction to Message Design. Journal of Visual Literacy, 31(2), 93-104.
Seitel, F. P. (2004). Practice of public relations: Boston. (13th ed.), Amsterdam : Pearson Education Limited.
Steiner, G. A. (1963). The people look at television : a study of audience attitudes. (1st ed.), New York : Alfred A. Knopf.