แหล่งข้อมูลข่าวสาร และรูปแบบการเดินทางท่องเท่ียวของผู้หญิงโสด
คำสำคัญ:
แหล่งข้อมูลข่าวสาร, รูปแบบการเดินทางท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจและอธิบายแหล่งข้อมูลข่าวสารที่ใช้ในการเดินทางท่องเที่ยวของผู้หญิงโสด 2) เพื่อวิเคราะห์จัดกลุ่มและอธิบายรูปแบบการเดินทางท่องเที่ยวของผู้หญิงโสด ใช้วิธีวิจัยแบบการผสานวิธี โดยเริ่มจากการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกนักท่องเที่ยวผู้หญิงโสด จำนวน 18 คน จากนั้นดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามที่พัฒนาจากการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจออนไลน์ร่วมกับการเก็บข้อมูลภาคสนาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิงโสด อายุ 25-45 ปี และอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 855 คน
ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการท่องเที่ยวภายในและต่างประเทศของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 56.61 เดินทางท่องเที่ยวร่วมกับเพื่อน วางแผนและจัดการเดินทางด้วยตนเองมากที่สุด มีการเดินทางท่องเที่ยวทั้งในวันธรรมดาและในวันหยุด โดยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเฉลี่ย 4 ครั้งใน 1 ปี และแต่ละครั้งมักใช้เวลาเฉลี่ย 4 วันต่อครั้ง เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศเฉลี่ย 2 ครั้งใน 1 ปี และแต่ละครั้งมักใช้เวลาเฉลี่ย 8 วันต่อครั้งการใช้แหล่งข้อมูลข่าวสารพบว่ากลุ่มตัวอย่างใช้แหล่งข้อมูลเว็บไซต์สำหรับค้นหาและแผนที่อยู่ในระดับบ่อยโดยเนื้อหาข่าวสารท่องเที่ยวที่ใช้เป็นประจำคือข้อมูลการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวข้อมูลการเดินทางทั่วไปสถานที่พักและการเตรียมตัวก่อนเดินทาง
ผลการวิเคราะห์รูปแบบการเดินทางท่องเที่ยวของผู้หญิงโสดด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) พบว่ามี 7 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มชีวิตคือการท่องเที่ยว 2) กลุ่มตัวตนและแบ่งปัน 3) กลุ่มดื่มด่ำ ชุ่มฉ่ำวัฒนธรรม 4) กลุ่มสาวแกร่งและเก่ง 5) กลุ่มสายชิลและต้องชิค 6) กลุ่มกระแสหลักอย่างมีระดับ และ 7) กลุ่มค้นหาประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นและผจญภัย
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร (พิมพ์ครั้งที่ 2.). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Kanlaya Vanichbuncha. (2001). Multivariate Analysis (2nd ed.) Bangkok: Chulalongkorn University]
เกษรา เกิดมงคล. (2546). รูปแบบการดำเนินชีวิต การแสวงหาข้อมูลเพื่อการตัดสินใจท่องเที่ยว และพฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนวัยทำงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Kesara Kerdmongkol. (2003). Lifestyle, information seeking for travelling, and travel behavior of working people. Thesis, Chulalongkorn University]
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2551). รวมบทความวารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ ปี พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย. [Therdchai Choibamroong (2008). Annals of international Thai tourism journal 2008. Bangkok: Thailand Development Research Institute]
ธนิศา แสวงพรรค. (2559). แรงจูงใจ การแสวงหาข้อมูล และการตัดสินใจท่องเที่ยวของผู้บริโภคหญิงโสดวัยทำงาน . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Thanisa Sawaengphak. (2016). Travel motivation, information seeking and decision making of single female working consumers. Thesis, Chulalongkorn University]
นฤมล เพิ่มชีวิต. (2552). การแสวงหาข้อมูล การใช้ประโยชน์ และความเชื่อถือในข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคสร้างเองของคนวัยทำงาน. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Narumol Permcheevit. (2009). Information seeking, uses and credibility of traveling information from online consumer-generated media of working people. Thesis, Chulalongkorn University]
นภัสวัณจ์ ศักดิ์ชัชวาล. (2553). พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต เพื่อการตัดสินใจท่องเที่ยวภายในประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Napatsawan Sakchatchawan. (2010). Behavior of surfing internet of population in Bangkok for information seeking and decision making process in domestic tourism. Thesis, Thammasat University]
มณีรัช รอดทรัพย์. (2552). เนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการตอบสนองของผู้รับสารในเว็บบอร์ด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Maneerach Rodsub. (2009). Tourism content and user' response in webboard. Thesis, Chulalongkorn University]
อริชัย อรรคอุดม. (2552). การพัฒนาแนวคิดและมาตรวัดต้นแบบตราสินค้า เพื่อประยุกต์ใช้เชิงการสื่อสารการตลาด. นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Ari-shai Akraudom. (2009). Development of brand archetype concept and its measurement for marketing communication applications. Thesis, Chulalongkorn University]
วรางคณา รัตนประสิทธิ์. (2550). การรับรู้ภาพลักษณ์และการนำเสนอตนเอง ในด้านหน้าที่การงานของผู้หญิงโสด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวาทวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Warangkana Rattanaprasit. (2007). Perception of work - related image and self presentation of single women. Thesis, Chulalongkorn University]
Berdychevsky, L., Gibson, H., & Bell, H. (2016). “Girlfriend getaway” as a contested term: Discourse analysis. Tourism Management, 55, 106-122.
Bieger, T., & Laesser, C. (2004). “Information sources for travel decisions: Toward a source process model.” Journal of Travel Research, 42(4), 357-371.
Dann, G. M. (1977). “Anomie, ego-enhancement and tourism”. Annuals of Tourism Research, 4(4), 184-194.
Jung, C. G. (1968). The Archetypes and the Collective Unconscious (2 ed.). UK: Routledge & Kegan Paul.
McCleary, K. (1995). “Applying internal marketing techniques for better festival organization and management”. Festive Management and Event Tourism, 3(1), 1-7.
Lee, C. K., Lee, Y. K., & Wicks, B. E. (2004). “Segmentation of festival motivation by nationality and satisfaction”. Tourism Management, 25, 61-70.
ORC International. (2018). Global travel intentions study highlights 2018. Visa public.
Pearce, P. L. (1988). Recent research in psychology. The Ulysses factor: Evaluating visitors in tourist settings. New York: Springer-Verlag Publishing.
Plummer, J. T. (1974). “The concept and application of life style segmentation”. Journal of Marketing, 38(1), 33-37.
Song, H. (2017). “Female and Tourism Activities : Insight for All-female Tour in Hong Kong.” Journal of China Tourism Research, 13(1), 83-102.
เว็บไซต์
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560, กรกฏาคม 24). Understanding Y. วันที่เข้าถึงข้อมูล 26 สิงหาคม 2561, แหล่งที่มา TAT Review: https://tatreviewmagazine.files.wordpress.com [Tourism Authority of Thailand. (2017, July 24). Understanding Y. Retrieved : August 26, 2018, from TAT Review: https://tatreviewmagazine.files.wordpress.com]
วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ. (2559). ไลฟ์สไตล์ ตัวตน และการท่องเที่ยว. วันที่เข้าถึงข้อมูล 28 สิงหาคม 2561, แหล่งที่มา http://www.etatjournal.com/web/menu-read-tat/menu-2016/menu-42016/749-42016-lifestyle [Wutthichai Kritsanaprakornkit. (2016). Lifestyle Self and Tourism. Retrieved August 28, 2018, from http://www.etatjournal.com/web/menu-read-tat/menu-2016/menu-42016/749-42016-lifestyle]
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2551, กันยายน 24). วันที่เข้าถึงข้อมูล 28 สิงหาคม 2561, แหล่งที่มา http://www.royin.go.th/?knowledges [Office of the Royal Society. (2008, September 24). Retrieved : August 28, 2018, from http://www.royin.go.th/?knowledges]
Bond, M. (2015, August 8). Women travel statistics and women travel trends. Retrieved November 7, 2018, from https://gutsytraveler.com/women-travel-statistics-women-travel-trends/
Dunham, J. (2015, March 10). Ten new trends for women travelers. Retrieved : November 7, 2018, from https://jamiedunham.wordpress.com/2015/03/10/ten-new-trends-for-women-travelers/
Loo, J. (2017, November). The future of travel: New consumer behavior and the technology giving it flight. Retrieved : November 30, 2018, from https://www.thinkwithgoogle.com/marketing-resources/new-consumer-travel-assistance/
May, K. (2018, May 23). How organic search is becoming ineffective for hotels on Google. Retrieved : November 30, 2018, from https://www.phocuswire.com/Google-SERP-online-travel-agencies
Travelplaces. (2016, September 9). Top 10 sources information planning trip. Retrieved :November 30, 2018, from https://travelplaces.co.uk/top-10-sources-information-planning-trip/