การสื่อความหมายความอุดมสมบูรณ์ผ่านภาพกามวิสัยในภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดหน้าพระธาตุ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กฤษณ์ ทองเลิศ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึง1)สัญลักษณ์ภาพและวิธีการประกอบสร้างความหมายเรื่องความอุดมสมบูรณ์ที่สะท้อนผ่านภาพกามวิสัยในงานภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดหน้าพระธาตุ 2)สัมพันธบทระหว่างภาพจิตรกรรมกับวรรณกรรมเนื่องในพุทธศาสนา 3) ความสอดคล้องของสัญลักษณ์ภาพความอุดมสมบูรณ์ในงานภาพจิตรกรรมฝาผนังกับสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์เนื่องในศาสนาพราหมณ์ แนวคิดและทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย แนวคิดเรื่องความอุดมสมบูรณ์ในมิติทางศาสนากับระบบนิเวศ ความหมายเชิงสัญลักษณ์ในภาพจิตรกรรมไทย แนวทางการศึกษาเชิงสัญญะวิทยาและแนวคิดเรื่องสัมพันธบท แบบจำลองการสื่อสารของ Jakobson  การวิจัยเรื่องนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ตัวบทงาน 2 ประเภทได้แก่ ก) งานภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดหน้าพระธาตุในอุโบสถหลังเก่า ข) สัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ของศาสนาพราหมณ์ในจังหวัดนครราชสีมาและบุรีรัมย์ ทั้งนี้ผลการวิจัยได้นำเสนอตามประเด็นปัญหานำวิจัยได้ดังนี้

        1. สัญลักษณ์ภาพเพื่อการสื่อความหมายเรื่องความอุดมสมบูรณ์จำแนกได้ 4 กลุ่มได้แก่ ก) ภาพเชิงโลกียวิสัยและภาพเชิงสังวาส ข) ภาพทรัพย์สมบัติ ค)ภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ง) ภาพการกำเนิดใหม่ของชีวิต

        2. วิธีการประกอบสร้างความหมายเรื่องความอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วย ก) การใช้ระบบสัญรูปที่สื่อความหมายถึงการสืบสานสายพันธุ์ ข) การพรางภาพกิจกรรมเชิงสังวาสโดยใช้พื้นฉากสีเทาดำ ค) การใช้รหัสภาษาท่าทางในฐานะดรรชนีของการตีความสู่เรื่องเชิงสังวาส ง) การใช้ภาพประเภทดรรชนีเพื่อสื่อความหมายเชื่อมโยงถึงความอุดมสมบูรณ์ จ) การใช้สัญลักษณ์ภาพเชิงมายาคติเพื่อสื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ ฉ) การใช้กฎความเชื่อมโยงภาพองค์รวมในระบบนิเวศสะท้อนสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์

​        3. สัมพันธบทของงานภาพจิตรกรรมมีความสัมพันธ์กับวรรณกรรมทางพุทธศาสนาได้แก่ ก) ไตรภูมิ กามภูมิสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ในการดำรงสายพันธุ์ ข) จุลปทุมชาดก พญาเหี้ยสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ในธรรมชาติ ค) พรหมนาถชาดก ทองคำสัญลักษณ์ความมั่งคั่งในทางโลกและความสูงส่งในทางธรรม​

        4. ความสอดคล้องของสัญลักษณ์ภาพความอุดมสมบูรณ์กับสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์เนื่องในหลักคำสอนทางศาสนาพราหมณ์พบว่ามีความสอดคล้องกับสัญลักษณ์ต่อไปนี้ ก) นาคสัญลักษณ์แห่งธาตุน้ำ ข) ศิวลึงค์บนฐานโยนี สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค) วัว สัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ในภาคเกษตรกรรม ง) ความสัมพันธ์ของมนุษย์ เทพ แหล่งน้ำ จักรวาลแห่งความอุดมสมบูรณ์

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพ ฯ: ภาพพิมพ์. [Kanchana Kaewthep. (2010). New perspectives in communication studies. Bangkok: Pabpim.]

คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง. (2560). ภารตะ-สยาม? ผี พราหมณ์ พุทธ?. กรุงเทพฯ: มติชน. [Komkrit Xuytekkeng. (2017). Bharata-Siam? Ghost Brahman Buddha?. Bangkok: Matichon .]

นิวัติ กองเพียร. (2542). ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ เชิงสังวาส กามรูปในภาพเขียนตามประเพณีที่มีเสียงวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ : มติชน. [Niwat Gongpian.(1999).Silapawattanatham special edition , erotic: sexual icon in traditional paintings which reflected Thai literatures voices. Bangkok : Matichon.]

วรรณิภา ณ สงขลา. (2534). จิตรกรรมไทยประเพณีชุดที่๐๐๑ เล่มที่ ๒ วรรณกรรม.กรุงเทพฯ:อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ. [Wannipa na Songkhla. (1991). Thai traditional painting episode 001 no.2 Literature. Bangkok: Amarin Printing Group.]

สมสุข หินวิมาน. (2535). “แนวทางการวิเคราะห์ความหมายและอุดมการณ์ในงานสื่อสารมวลชน” .นิเทศศาสตรปริทัศน์. 1 (ธันวาคม) : น.45-55. [Somsuk Hinviman. (1992). “The signification and ideology analysis approach for mass communication works”. Journal of Communication Review. 1 (December) : p. 45-55. ]

Benjamin, W. (1986). The work of art in the age of mechanical reproduction. New York: Schocken Books.

Catherine Johns. (1989). Sex or symbol erotic images of Greece and Rome. London : The British Museum Press.

Craig, R. T. (2018). “For a practical discipline”. Journal of Communication”. 68 (289-297).

Jakobson, Roman. (1987). Language in Literature. London: The Belknap Press of Harvard University Press.

McQuail, Denis. (2000). McQuail’s mass communication theory. London: Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01