การพัฒนาภาพยนตร์สั้นสะท้อนปัญหาการติดโซเชียลเน็ตเวิร์คของเยาวชนในจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • จักรกฤษฎ์ แก้วประเสริฐ สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์สั้น, โซเชียลเน็ตเวิร์ค

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาสื่อภาพยนตร์สั้นสะท้อนปัญหาการติดโซเชียลเน็ตเวิร์ค (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับชมสื่อภาพยนตร์สั้นสะท้อนปัญหาการติดโซเชียลเน็ตเวิร์ค กลุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2560 จำนวน  3 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยทักษิณ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จำนวน 400 คน โดยใช้สูตรการคำนวณจากทาโร่ ยามาเน่ หลังจากนั้นได้ทำการสุ่มแบบแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง ปัญหาการติดโซเชียลเน็ตเวิร์คของเยาวชนในจังหวัดสงขลา แบบประเมินคุณภาพสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง ปัญหาการติดโซเชียลเน็ตเวิร์คของเยาวชนในจังหวัดสงขลา แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับชมที่มีต่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง ปัญหาการติดโซเชียลเน็ตเวิร์คของเยาวชนในจังหวัดสงขลา  สำหรับผู้รับชมสื่อภาพยนตร์ จำนวน 400 ชุด โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐานหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

        ผลการวิจัยพบว่า (1) แบบประเมินคุณภาพสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง ปัญหาการติดโซเชียลเน็ตเวิร์คของเยาวชนในจังหวัดสงขลา แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการจัดองค์ประกอบภาพ ด้านเสียง และด้านเทคนิคการนำเสนอ พบว่า ผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.43 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.59 (2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับชมที่มีต่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง ปัญหาการติดโซเชียลเน็ตเวิร์คของเยาวชนในจังหวัดสงขลา  แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการจัดองค์ประกอบภาพ ด้านเสียงและด้านรายละเอียดของภาพยนตร์สั้น พบว่า ผู้รับชมสื่อภาพยนตร์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.48 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.63

References

กรกนก เกษมสุข และกฤษติยา แสงพราย. (2554). “ทิ้ง” หนังสั้นเพื่อการศึกษาอิทธิพลของสื่อที่มีต่อทัศนคติของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา. วิทยาศาสตร์บัณฑิต คณะครุ

ศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. [Kornkanok Kasemsuk and Kritsatiya Sangpray. (2011). “Ting” : A Short Film Creation for Media Influence Study Upon Undergraduate Student Attitude. Bachelor of Science of Industrial Education and Technology: King Mongkut's University of Technology Thonburi.]

ธัญนพ เกสรสิทธิ์. (2556). การพัฒนาภาพยนตร์สั้นบนช่องทางสื่อใหม่เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี. [Thannop Kasonsit. (2013). The Development of Short Film in New Media Channel for Supporting Morality.

Master’s thesis of Science in Industrial Education: King Mongkut's University of Technology Thonburi.]

นันทพล ศรีสม. (2556). การออกแบบภาพยนตร์สั้นสะท้อนปัญหาการติดเกมส์ออนไลน์ของวัยรุ่นระหว่าง 13-14 ปี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาโปรแกรมวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ : หาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. [Nantapol Srisom. (2013). Short Film Project to Reflect Problem of Online Gaming Addiction on Adolescents, Target group: Adolescents age 13-24 years old. Master’s thesis of Department of visual communication design: Nakhon Ratchasima Rajabhat University.]

พรสิทธิ์ พัฒธนานุรักษ์. (2554). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาพนิ่งและภาพยนตร์ หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมราช. [Pornsit Patthananurak.

(2011). Introduction to photography and film, Unit 1-7. Nonthaburi : Sukhothaithammathirat University.]

วินัย บุญคง. (2551). เกณฑ์การประเมินคุณค่าภาพยนตร์สั้นนักศึกษารางวัลช้างเผือกและรางวัลสุพรรณหงส์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยรังสิต. [Vinai Boonkong.

(2008). Aesthetic Evaluation Criteria for Students ' Shot Films in The Suphannahong and Chang Puek Awards. Master’s Thesis : Rangsit University.]

วิสารัตน์ พันต่วน. (2555). รายงานวิจัยพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [Wisarat Puntuan. (2012). Behavior of Chiang Mai University Students in Using Mobile Phone. Master’s thesis: Chiang Mai University.]

สุรีย์พร จันดีเรียน. (2554). “ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกชมภาพยนตร์สั้นของผู้ชมในเขตบางกะปิ”วารสารรามคำแหง. 28, (3) [Sureeporn Jandeerian. (2011). “Factors Affecting the Short Film Viewing of Viewers in Bang Kapi District” Ramkhamhaeng University Journal 28, (3)]

โสวรรณ คงสวัสดิ์. (2555).ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ที่มีต่อการประยุกต์ใช้ภาพยนตร์สั้นในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาหลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต. [Sowan Kongsawad. (2012). Satisfaction of Communication Arts Students Applying short films in the management of the course. Bangkok: Suan Dusit University.]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01