การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของนักศึกษา

ผู้แต่ง

  • นัดดา กาญจนานนท์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเปิดรับและแสวงหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลผ่านสื่อดิจิทัลของนักศึกษา 2) ความคิดเห็นของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลของมหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 3) ปัจจัยของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่1 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล (Questionnaire) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาในระดับชั้นปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2560 ของมหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จาก 5 มหาวิทยาลัยเอกชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คนผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อาชีพของผู้ปกครองของกลุ่มตัวอย่างที่ คือ พนักงานเอกชน ภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร  มีเกรดเฉลี่ย ม. 6 หรือเทียบเท่าอยู่ในระดับ 2.00 – 2.99 และจบการศึกษาจากโรงเรียนเอกชนมากที่สุด มีการเปิดรับและแสวงหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเอกชนจากช่องทางเว็บไซด์ มากที่สุด มีเหตุผลในการเลือกหาข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเอกชนผ่านสื่อดิจิทัลเนื่องจากสามารถสื่อสารโต้ตอบได้ มากที่สุด มีการเลือกใช้อุปกรณ์การสื่อสารดิจิทัลประเภทสมาร์ทโฟน มากที่สุด และใช้ระยะเวลาในการหาข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยผ่านสื่อดิจิทัลเป็นเวลา 1 ชั่วโมง มากที่สุด มีความคิดเห็นต่อการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อดิจิทัลของมหาวิทยาลัยเอกชน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.30 สำหรับปัจจัยของการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57

References

ธาริณีย์ ธีฆะพร. (2553). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ต่อรายการ คุยเฟื่องเรื่องไอที ทางสถานีวิทยุ อสมท จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [Tharinee Tikhaporn. (2010). Uses and gratifications of people in Chiang Mai Province toward IT Talk program of MCOT radio. Chiang Mai. Chiang Mai: Chiang Mai University.]

ทิพย์กัลยา ภาษิตวิไลธรรม. (2558). “การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและการวัดคุณค่าตรามหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. 8 (18). 132-140. [Tipkanlaya Pasitwilaitham. (2015). “Integrated Marketing Communication and University Brand Equityof Chiang Rai Rajabhat University and Mae Fah Luang University” Graduate School Journal. 8 (18). 132-140.]

พรทิพย์ วรกิจโภคาทร. (2539). ความสําคัญของผู้รับสาร. เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [Porntip Worakitpocatorn. (1996). Importance of recipients. Nonthaburi: Sukhothaithammatirat University.]

สมัต อาบสุวรรณ์. (2538). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้านการตัดสินใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Samat Absuwan. (1996). The development of a program for enhancing critical thinking abilities on decision making for prathom suksa six students. Bangkok : Faculty of Education Chulalongkorn University.]

สุชิน นะตาปา. (2541). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์. [Suchin Natapa. (1998). Principles of Marketing. Bangkok: Physics Center Printing House.]

เสรี วงษ์มณฑา. (2540). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพมหานคร: วิสิทธ์พัฒนา. [Seri Wongmonta. (1997). Integrated Marketing Commumicarion. Bangkok : Wisitpattana.]

สิทธิพันธ์ ยศยอดยิ่ง. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย ของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Sittipan Yosyodying. (2004). Factors affecting decision making on university choice of graduate students in education. Bangkok: Faculty of Education Chulalongkorn University.]

อุไรพร ชลสิรุ่งสกุล. (2554). Digital Marketing ไอเดียลัดปฏิวัติการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. [Uraiporn Chonsirungsakul. (2011). Digital Marketing. Bangkok: Business Bangkok Print House.]

Belch, G. E., & Belch, M. A. (1993). Introduction to advertising and promotion: An integrated marketing communications perspective. New York: McGraw-Hill.

Kaufman, Roger A. (1974). Systems Approachas to Education: Discussion and Attempted Integration. New York: Harper & Row.

Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. New York: The Free Press.

Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning, implementation and control . New Jersey: Prentice Hall.

Litten, L.H. (1982). Different Strokes in the Applicant Pool Some Refinements in a model of Student College Choice. New York: The Free Press.

McCombs, M. E. and Becker, L. E. (1979). Using mass communication theory. Englewood Cliffs : Prentice Hall.

Wertime, K., & Fenwick, I. (2008). Digi marketing: The essential guide to new media and digital marketing. Singapore : John Wiley (Asia).

Zeff, R., & Aronson, B. (1999). Advertising on the internet . New York : John Wiley.

เว็บไซต์

นิวัฒน์ ชาตะวิทยากูล. (2559) แนะนำวิธีเลือกใช้ Social Media ให้เหมาะกับกลยุทธ์การตลาดแหล่งที่มา :http://www.digithun.com/social-media-strategy/ 24 มิถุนายน2561. [Niwat Chattawittayakul. (2016). The guide to the Social Landscape. Retrieved : http://www.digithun.com/social-media-strategy/, June 24, 2018.]

Info. mua.go.th (2560) จำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2560. แหล่งที่มา : www.info.mua.go.th 24 มิถุนายน2561. [www.info.mua.go.th (2018) Number of undergraduate students 2017. Retrieved : www.info.mua.go.th, June 24, 2018.]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01