รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการรณรงค์เพื่อพัฒนาสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วัฑฒนา จันทร์จรัสวัฒนา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

รูปแบบการสื่อสาร, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ 1) บริบทที่ส่งผลต่อความสำเร็จ 2) กระบวนการสื่อสาร และ3)เสนอรูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการรณรงค์เพื่อพัฒนาสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของประเทศไทย

        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 15 คน จาก 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้อำนวยการโรงเรียนเด็กไทยฟันดีเครือข่ายกลางครูเวียงสัมพันธ์ จ.นครปฐมและโรงเรียนใกล้เคียง จำนวน 9 คน 2) กลุ่มหน่วยงานสาธารณสุข 4 คน ได้แก่ นักวิชาการสาธารณสุข และทันตแพทย์ และ 3) กลุ่มชุมชน จำนวน 2 คน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านอำเภอสามพรานและอำเภอนครชัยศรี โดยการเลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มผู้อำนวยการโรงเรียนที่ได้รับรางวัลเครือข่ายโรงเรียนเด็ก ไทยฟันดีระดับยอดเยี่ยมปี 2558 คือ โรงเรียนเครือข่ายกลางครูเวียงสัมพันธ์  กลุ่มหน่วยงานสาธารณสุขคือ ผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากเด็กจากสำนักทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัย สาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลในเขตโรงเรียนดังกล่าว ส่วนชุมชนคือ ผู้นำชุมชน  เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา  ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้ปกครองและครูของเด็กปฐมวัยจากโรงเรียนเครือข่ายกลางครูเวียงสัมพันธ์ จำนวน 358 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

        ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทที่ส่งผลต่อความสำเร็จเรื่องสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยในโรงเรียน คือ (1) ครอบครัว (2) โรงเรียน (3) การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก (4) การประชาสัมพันธ์ (5) การสร้างการมีส่วนร่วม (6) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความ สำเร็จคือ ปัจจัยภายนอก เรียงตามลำดับคือ นโยบาย สิ่งแวดล้อม/ชุมชน ความเชื่อของผู้ปกครองและครูของเด็กปฐมวัย การประชา สัมพันธ์และการบริหารจัดการเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ส่วนปัจจัยภายใน เรียงตามลำดับคือ วิธีการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กปฐมวัย และการพาเด็กไปพบทันตแพทย์/โรงพยาบาลเพื่อตรวจฟัน 2) กระบวนการสื่อสาร พบเรียงตามลำดับความสำคัญ คือ (1) ผู้ส่งสารคือ โรงเรียน โรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (2) เนื้อหาหลักคือ วิธีการป้องกันและดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก(3) ช่องทางการสื่อสารที่ใช้คือ ครู ทันตแพทย์ แผ่นพับ เว็บไซต์ การอบรม และกิจกรรมต่างๆ ที่เน้นการเล่านิทาน กลยุทธ์การสื่อสารที่ใช้มากที่สุดคือ  การทำงานผ่านเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (4) ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ เกิดความรู้ที่ถูกต้องมีทัศนคติและพฤติกรรมในการดูแลช่องปากเด็กดีขึ้น 3) รูปแบบการสื่อสารหลักที่ใช้คือการสื่อสารองค์กรที่ใช้การสื่อสารแบบสองทางและทางเดียวเริ่มจากหน่วย งานระดับนโยบายไปสู่ระดับปฏิบัติการคือโรงเรียน ครอบครัว และชุมชนตามลำดับ

References

กรรณิการ์ เพ็งปรางค์ และกาญจนา แก้วเทพ. (2548). “การมีส่วนร่วมในการสื่อสาร: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติจริง” วารสารนิเทศศาสตร์ 23(3-4),62-81.(Kanikar Pengprang and Kanjana Kaewthep (2005) “Partici- pation in Communication: from Concept to Practice”. Communication Arts Journal, 23(3-4),62-41.)

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2555). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2551-2555. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์สำนักกิจการองค์การทหารผ่านศึก.(Dental Health Division, Department of Health, Ministry of Public Health (2012). The 7th Thailand National Oral Health Survey Report, 2008- 2012. Bangkok: Publications Bureau of Veterans Affairs Organization.)

กรมอนามัยและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.(2556). แผนยุทธศาสตร์สุขภาพช่องปากประเทศ ไทย พ.ศ. 2555-2559.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.(Department of Health and National Health Security Office.(2013).Thai Strategic Oral Health Plan 2012-2016, Bangkok : Publications Bureau of Veterans Affairs Organization.)

รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2558). การสื่อสารองค์กร: แนวคิดการสร้างชื่อเสียงอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Rungrat Chaisamrej.(2015). Corporate Communication: Strategic Concepts for Sustainability Reputation. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House)

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2549). การประชาสัมพันธ์.(พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.(Wirat Lapiratanakul.(1995). Public Relations. 11th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.)

องค์การอนามัยโลก. (2552). พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ.:รายงานการประชุมระดับโลกเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ. แปลโดย สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี, 2556. นนทบุรี : โครงการสวัสดิการ สถาบันพระบรมราชชนก.(World Health Organization. (2009). Milestones in Health Promotion: Statements from global conferences. translated by Sinsakchon Aunprom-Me, 2013. Nonthaburi. Academic Welfare Program, Praboromarajchanok Institute.

สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2556). คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2556. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ศรีเมืองการพิมพ์ .(National Health Security Office.(2013).National Health Security Fund Management Guide 2013. Bangkok: Srimaung Pringting.)

Acs G, Lodolini G, Kaminski S, Cisneros GJ. (1992). “Effect of nursing caries on body weight in a pediatric population” Pediatric Dentistry 14, 302-5.

Caglaroglu M, Kilic N, Erdem A. (2008). “Effect of Early Unilateral First Molar Extraction Non Skeletal Asymmetry”. Am J Orthod Dentofacial Orthop 134,270-5.

Cornelissen Joep. (2014). Corporate Communication: A Guide to Theory and Practice. 4th ed. London: SAGE Publications.

Melsen B, Terp S. (1982). “The Influence of Extractions Caries Cause on the Development of Malocclusion and Need for Orthodontic Treatment”. Swed Dent J .supple 15,163-9.

Richardson A. (1979). “Spontaneous Changes in the Incisor Relationship Following Extraction of Lower First Permanent Molars” B J Orthod 6, 85-90.

เว็บไซต์

กมลรัฐ อินทรทัศน์ และคณะ. (2547). การพัฒนาองค์ความรู้การสื่อสารเพื่อสุขภาพ. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2559 จาก https://opac.psu.ac.th/BibDetail.aspx?bibno=242386. [Kamolrat Intaratat and Team. (2004). Development of Knowledge in Health Communication. Retrieved : July 10, 2016 from https://opac.psu.ac.th/BibDetail.aspx?bibno=242386]

การรณรงค์และการให้การศึกษาเพื่อสร้างจิตสำนึกและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปัญหาพฤติกรรมอันสืบเนื่องจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. สืบค้น 8 มีนาคม 2559 เข้าถึงได้จาก http://resource.thaihealth.or.th/library/10610. [Parichart Sthapitanonda (2006) Campaigns and the Educational Programs to Build Public Consciousness and Change Drinking Behaviors and to Solve Behavioral Problems Related to Drinking Behavior. Retrieved : March 8, 2016 from http://resource.thaihealth.or.th/library/10610]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01