การเข้าถึงข่าวสารโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่แพร่มาจากต่างประเทศ และการดูแลตนเองของประชาชน
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งอธิบายการสื่อสาร การเข้าถึงข่าวสารโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่แพร่มาจากต่างประเทศ และการดูแลตนเองของประชาชนในเขตเมือง ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และสื่อมวลชนในจังหวัดที่มีด่านตรวจคนเข้าเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่ เชียงราย หนองคาย อุบลราชธานี สงขลา และกรุงเทพมหานคร
ผลการวิจัยพบว่าการสื่อสารเกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่แพร่มาจากต่างประเทศมีทั้งการสื่อสารผ่านสื่อมวลชนในลักษณะการรายงานข่าวของสื่อมวลชนและการสื่อสารจากส่วนงานสาธารณสุขไปยังประชาชนในพื้นที่โดยมีแนวทางการสื่อสารทั้งแบบการให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ถึงความรุนแรงของโรคเพื่อกระตุ้นเตือนให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการให้ข้อมูลให้ความรู้เกี่ยวกับโรคนำไปสู่ความเข้าใจและเสนอทางเลือกเพื่อความปลอดภัยให้นำไปปฏิบัติด้วยตนเอง
การเข้าถึงข่าวสารเกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ฯของประชาชนพบว่ามีการเข้าถึงผ่านสื่อมวลชนสื่อบุคคลได้แก่อสม. แกนนำสุขภาพครอบครัว (กสค.) เพื่อนบ้าน อาสาสมัครต่างด้าว สื่อรณรงค์เฉพาะกิจ สื่อท้องถิ่น สื่อชุมชน และสื่อออนไลน์ ประชาชนมักจะมีการตื่นตัวเมื่อโรคเข้าใกล้ตัว มักจะเกิดการตื่นตัวขึ้นเฉพาะพื้นที่ที่ระบาด และการตื่นตัวจะมากขึ้นตามความกังวลใจเกี่ยวกับอันตรายของโรคที่ใกล้ตัวมากขึ้น นอกจากนี้ประชาชนจะมีการตื่นตระหนกเกิดขึ้นเมื่อมีการรายงานข่าวเกี่ยวกับการระบาด ความรุนแรงของโรค การไม่มียารักษา การเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อมากขึ้น ผนวกกับการได้รับข้อมูลไม่มากเพียงพอ อย่างไรก็ตามการตื่นตระหนกของประชาชนจะลดลงได้ ด้วยการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับมาตรการ และการดำเนินงานเกี่ยวกับการควบคุมโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จนเกิดความมั่นในในมาตรการ และการดำเนินงานที่สามารถคัดกรอง ป้องกัน และควบคุมโรคที่จะระบาดเข้ามาในประเทศได้ นอกจากนี้ประชาชนที่ตื่นตัวต่อโรคติดต่ออุบัติใหม่ฯ จะมีพฤติกรรมตอบสนองในเชิงการป้องกันโรค เช่น จะเข้าพบเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถามอาการโรคให้มั่นใจว่าตนเองเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ฯ ที่เป็นข่าวหรือไม่ อย่างไรก็ตามประชาชนมักจะประมาทเมื่อเจ็บป่วย เพราะไม่ได้ข่าวเกี่ยวกับการระบาด ไม่ให้ความสำคัญกับการรักษาโรคของตนเอง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการควบคุมการระบาดโรคติดต่ออุบัติใหม่ฯ ได้
References
นภาพร วาณิชย์กุล, และสุชาดา ภัทรมงคลฤทธิ์. (2556). ความแตกฉานทางสุขภาพของคนไทย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะพยาบาลศาสตร์. {Napaporn Wanitchkul and Suchada Patmongkolrit (2013). Health Literacy of Thai People. Research Reort. Faculty of Nursing, Mahidol Univeesity.]
พนม คลี่ฉายา และคณะ. (2548). สถานภาพการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพของสื่อหนังสือพิมพ์รายวัน. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส). [Phnom Kleechaya and others. (2005). Status of Health Communication in Daily Newspaper. Research Report. Health System Research Institute.]
มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, ประสิทธิ์ นิมสุวรรณ์, และนิรัตน์ อิมามี. (2550). “ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันไข้หวัดนก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์”วารสารสุขศึกษา, 30(105), 45-60. [Maneerat Teerawat, Prasit Nimsuwan and Nirat Imame. (2007). “Effectiveness of Participatory Learning Program for Bird Flu Prevention in Community of Amphur Muang, Nakornsawan Province.” Journal of Health Education, 30(105), 45-60.]
มลินี สมภพเจริญ. (2556). “การวิเคราะห์ ประเมิน การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (เอช 1 เอ็น 1) ของประชาชนไทย.” วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 6(1), 17-30. [Marinee Sompobchareon. (2013). “Analysis, Evaluation and Exposure of H5N1 Influenza Information of Thai People.” Journal of Public Relations and Advertising, 6(1), 17-30.]
ยุพาพร อินธิไชย, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, และธีรยุทธ อุดมพร. (2558). “ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนกของแกนนำชุมชน ตำบลโนนกอก อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ”. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 18(2), 79-86. [Yupaporn Inthichai, Thedsak Phrom-ar-rak and Teerayuth Udomporn. (2015). “Program Results Of Bird Flu Preventing Behavior Modifying of Community Leader in Tambon None Kok, Amphur Kasetsomboon, Chaiyaphoom Province”. Thaksin University Journal. 18(2), 79-86]
วิชาญ ปาวัน และคณะ. (2559). การประเมินผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ พฤติกรรมสุขภาพและภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรค ประจำปี พ.ศ. 2559. สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ, กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. [Wichan Pawan and others. (2016). Evaluation on Health Information Exposure, Knowledge and Behavior and Image of Department of Disease Control in 2016. Bureau of Risk Communication and Health Behavior Development, Department of Disease Control, Ministry of Public Health.]
วิภาวิน โมสูงเนิน, และรุจิระ โรจน์ประภายนต์. (2554). “การสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในกรณีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009”. การพยาบาลและการศึกษา, 4(3), 2-15. [Viparin Mosungnern and Rujira Rojjanaprapayont. (2011). “Communication of Ministry of Public Health in case of Influenza A(H1N1) 2009 Epidemic”. Journal of Nursing and Education, 4(3), 2-15.]
สุพิดา เย็นโภคา. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ของนักเรียนช่วงชั้น ที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะศึกษาศาสตร์. [Supida Yenpoca. (2010). A Study of Factors Affecting Influenza a, H1N1 Preventative Behavior of Matthayomsuksa i - iii Students in Bangkok Metropolitan, East Bangkok. Thesis. Master of Education Degree in Educational Research and Statistics, Srinakharinwirot University.]
สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย, นวพล ดำรงพงศ์, และอรวรรณ รัตนไตรภพ. (2556). การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยต่อความมั่นคงทางสาธารณสุข ด้านโรคติดต่ออุบัติใหม่เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. (วปอ.). [Suwanchai Wattanayingcharoenchai, Nawapol Dumrongpong andOrawan Rattanatripop. (2013). Thailand Preparedness for Health Security For Emerging Infectious Disease in coming to ASEAN Community.Research Report. Thailand National Defense College.]
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ (2553). แนวโน้มปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำในประเทศไทย. สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่. กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. [Bureau of Emerging Infectious Diseases. (2010). Trend of Re-emerging Infectious Disease in Thailand. Department of Disease Control, Ministry of Public Health]
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่. (2555ก). แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2556-2559). สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่, กรมควบคุมโรค. [Bureau of Emerging Infectious Diseases. (2012a). Strategic National Plan for Preparedness, Prevention and Problems Solution of Emerging Infectious Disease (2013-2016). Bureau of Emerging Infectious Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health]
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่. (2555ข). สรุปบทเรียนการจัดการฝึกซ้อมแผน : กรณีโรคติดต่ออุบัติใหม่ ปี พ.ศ. 2555. สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่, กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. [Bureau of Emerging Infectious Diseases. (2012b). LessonLearned from Plan Drill: Case of Emerging Infectious Disease in 2012.Bureau of Emerging Infectious Diseases, Department of Disease Control,Ministry of Public Health]
อภิญญา อินทรรัตน์. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ.วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 174-178 [Apinya Intrarat. (2014). Health Literacy of Health Practitioners. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(3), 174-178]
อภิสิทธิ์ เหมาะสมสกุล. (2547). การสื่อสารภาวะวิกฤต : กรณีศึกษาเปรียบเทียบโรคซาร์สและโรคไข้หวัดนกของกระทรวงสาธารณสุข. รายงานโครงการเฉพาะบุคคล, (วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. [Apisit Mohsomsakul. (2004) Crisis Communication: Case Study "Compare SARS to Bird Flu of Public Health Ministry". Individual Study, Thammasat University]
Bernhardt, J. M., & Cameron, K. A. (2003). Accessing, Understanding, and Applying Health Communication Messages: The Challenge of Health literacy. In T. L Thompson, A. M Dorser, K. I & R. Parrott (eds)., Handbook of Health Communication. (pp. 538-605). Mahwah, New Jersey : Lawrence Erlbaum Associates.
Chitnis, K. (2012). “Risk Communication and Emerging Infectious Diseases: Lessons and Implications for Theory-Praxis from Avian Influenza Control.” In R. Obregon & S. Waisbord (eds). The Handbook of Global Health Communication. (pp. 408-425). Chichester, West Sussex, UK : Wiley-Blackwell.
Freimuth, V., Linnan, H. W., Potter, P. (2000). “Communicating the Threat of Emerging Infections to the Public”. Emerging Infectious Diseases, 6(4), 337-347.
Guo, S. Z., Cheong, A. W. H., & Shen, C. F. (2005). “Depth of Reasoning and Information Processing: A Predictive Model of SARS Behavior.” Asian Journal of Communication, 15(3), 274-288
Ho, S. S., Brossard, D., & Scheufele, D. A. (2007).” Trends: Public Reactions to Global Health Threats and Infectious Diseases” Public Opinion Quarterly, 71(4), 671-692.
Holmes, B. J. (2008). “Communicating about emerging infectious disease: The importance of research” Health, Risk & Society, 10(4), 349-360.
Karan, K., Aileen, L., & Elaine, P. Y. L. (2007). “Emerging Victorious Against an Outbreak: Integrated Communication Management of SARS in Singapore Media Coverage and Impact of the SARS Campaign in Moving a Nation to be Socially Responsible”. Journal of Creative Communications, 2(3), 383–403.
Khan, R. E. (2013). “10 years after SARS: Have health communicators learnt the lessons?” Media Asia, 40(1), 4-10.
Kim, Y.-C., & Wilkin, H. (2011). Exploring Moderation Effects of Health Communication Opportunities on the Relationship Between Health Literacy and Health Outcomes. Paper presented at the annual meeting of the International Communication Association, TBA, Boston.
Lin, C. A., & Lagoe, C. (2013). “Effects of News Media and Interpersonal Interactions on H1N1 Risk Perception and Vaccination Intent” Communication Research Reports, 30(2), 127-136.
Lu, H.-Y. (2003). “Information Seeking and Media Credibility College Students Information Seeking and Perceived Source Credibility During the Crisis of SARS in Taiwan”. Media Asia, 30(4), 220-227.
Obukoadata, P. O., & Abuah, F. A. (2014). “Media Surveillance Function within the Context of the Ebola outbreak in Nigeria: Influences and Perceptual Frames” International Journal of Scientific Research and Innovative Technology, 1(5), 53-66.
Ou, S.-M., Liu, L.-L., & Chin, K.-C. (2014). “Enhancing Risk Communication for More Effective Epidemic Control in Taiwan. Asia-Pacific Journal of Public Health, 26(1), 85–92.
Ratzan, S. C., & Meltzer, W. (2005). “State of the art in crisis communication: Past Lessons and Principles of Practice”. In M. Haider (Ed)., Global public health communication : challenges, perspectives and strategies. (pp. 321-347). Sudbury, Massachusetts.
Rimal, R. N., & Real, K. (2003). “Perceived Risk and Efficacy Beliefs as Motivators of Change : Use of the Risk Perception Attitude (RPA) Framework to Understand Health Behaviors” Human Communication Research, 29(3), 370-399.
So, J., Kuang, K., & Cho, H. (2016). “Information Seeking Upon Exposure to Risk Messages: Predictors, Outcomes, and Mediating Roles of Health
Information Seeking”.. Communication Research, 1, 1–25.
Sun, C., Yang, W., Arinoa, J., & Khan, K. (2011). “Effect of media-induced social distancing on disease transmission in a two patch setting”. Mathematical Biosciences, 230(2), 87-95.
Taha, S. A., Matheson, M., & Anisman, N. (2013). “The 2009 H1N1 Influenza Pandemic: The Role of Threat, Coping, and Media Trust on Vaccination Intentions in Canada”. Journal of Health Communication, 18, 278–290.
Vijaya, K et al. (2005). “Behaviour of Singaporeans during the SARS outbreak: The impact of anxiety and public satisfaction with media information”International Journal of Health Promotion and Education, 43(1), 17-22.