สถานการณ์รายการวิทยุสำหรับเยาวชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • อาทิตยา สมโลก คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

รายการวิทยุ, เยาวชน

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์รายการวิทยุสำหรับเยาวชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้วิธีการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  เทปบันทึกรายการวิทยุสำหรับเยาวชน 48รายการ  นักจัดรายการวิทยุ 39 คน และ ตัวแทนผู้ร่วมสนทนากลุ่ม47 คน  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การพรรณนาวิเคราะห์

        ผลการศึกษาสถานการณ์รายการวิทยุ 1. นโยบายการดำเนินงาน  พบว่ามี 3 ลักษณะ 1.1 จัดรายการโดยการสนับสนุนของผู้อำนวยการสถานี 1.2 จัดรายการโดยมีต้นสังกัดสนับสนุน 1.3 จัดรายการโดยไม่ได้รับการสนับสนุน 2.นักจัดรายการ แบ่ง2 ลักษณะ 2.1 วัยของนักจัดรายการ ได้แก่วัยผู้ใหญ่ วัยเยาวชน และวัยผู้ใหญ่จัดรายการร่วมกับเยาวชน  2.2 นักจัดรายการที่ชื่นชอบ ได้แก่ เยาวชนและผู้ใหญ่ จัดรายการร่วมกัน และนักจัดรายเป็นวัยใดก็ได้ขึ้นกับเนื้อหา 3.รูปแบบรายการ 3.1 รูปแบบรายการที่ดำเนินอยู่จริง พบว่า มี 2 แบบ ได้แก่ นิตยสารทางอากาศและรายการพูดคุย 3.2 รูปแบบรายการจากความคิดเห็น พบว่าควร ใช้รูปแบบผสมผสานหลากหลาย และ นักจัดรายการควรมีอิสระในการคิดและตัดสินใจ  4. เนื้อหารายการที่นำเสนอ พบ  20 ประเภท เช่น สุขภาพ  ยาเสพติด  ภาษา  กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม การเพิ่มทักษะชีวิต สถานการณ์ปัญหาวัยรุ่น สังคมพหุวัฒนธรรม  สถานการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ฯลฯ  5.วิธีการนำเสนอ  5.1 ภาษาที่ใช้ ภาษาไทยกลาง  กรณีสัมภาษณ์ใช้ภาษามลายูแปลไทย  รายการสอนภาษาใช้ภาษาไทยและภาษาที่สอน  ใช้ภาษาไทยควบคู่กับมลายูและมลายูท้องถิ่น  5.2 ลีลาการพูด ได้แก่ พูดเหมือนพูดคุยกับเพื่อน และพูดแบบผู้ใหญ่กับเด็ก 5.3 ลักษณะการใช้ภาษา เป็นกันเอง ใช้คำที่ตื่นเต้น 6.ปัญหาและการปรับการจัดรายการ 6.1การเสนอเนื้อหาความไม่สงบไม่ได้รับความร่วมมือ ปรับการจัดรายการโดยสร้างการมีส่วนร่วมเชิงเครือข่าย 6.2 การเสนอเนื้อหาถูกควบคุมโดยภาครัฐและผู้ฟัง  เช่น รัฐขอความร่วมมืองดนำเสนอข้อมูล ผู้ฟังข่มขู่ ปรับการจัดรายการโดยให้ผู้ฟังแสดงความเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ กลั่นกรองเนื้อหาไม่เข้าข้างฝ่ายใด 6.3 เยาวชนและผู้บริหารบางส่วนคิดว่าวิทยุเป็นสื่อเก่า ปรับการจัดรายการโดยใช้เทคโนโลยีเพิ่มช่องทาง สร้างเครือข่าย 6.4 ข้อจำกัดด้านงบประมาณ ปรับการจัดรายการโดยใช้รายได้ประจำจากต้นสังกัด และหางบประมาณจากแหล่งทุนอื่น ฯลฯ

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2545). “การสื่อสารกับสันติภาพ” สันติศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (Kanjana Kaewthep.(2002). “Communication and Peace. Teaching Materials”. Peace Studies. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University.)

กาญจนา แก้วเทพ ขนิษฐา นิลผึ้ง และ รัตติกาล เจนจัด. (2556). สื่อสาร อาหาร สุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (Kanjana Kaewthep, Kanittha Nilphueng, & Rattikan Jenjad. (2013). Communication,Food, and Health. Bangkok: TRF.)

เกศินี จุฑาวิจิตร. (2542). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. นครปฐม: สถาบันราชภัฏนครปฐม (Kesinee Chutavichit . (1999). Communication in Rural Development. Nakhon Pathom: Nakhon Pathom Rajabhat University)

คณะอนุกรรมการติดตามแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์. (มปป). คู่มือติดตามแผนแม่บทวิทยุ-โทรทัศน์ กสทช. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการติดตามแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์. (Subcommittee on Follow- up to Initial Plan for Broadcasting and Television Service. Manual for Follow- up to Initial Plan for Broadcasting and Television Service by NBTC. Bangkok : Subcommittee on Follow- up to Initial Plan for Broadcasting and Television Service.)

จุมพล รอดคำดี. (2552). คู่มือจัดรายการวิทยุเพื่อเด็ก.โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพรายการวิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว. ชมรมวิทยุเด็ก: มูลนิธิเครือข่าย ครอบครัว. (Jumpol Rodcamdee. (2009) Handbook for Child Radio Programm.Project on Promoting and Developing Potential of Radio Programs for Youth and Families. Kid's Radio Club: Family Network Foundation.)

ฐิตินบ โกมลนิมิ. บทนำ.ใน ฐิตินบ โกมลนิมิ, (บก.). (2557), เสียงในสนามสันติภาพ บทบาทวิทยุชุมชนชายแดนใต้กับการสร้างพื้นที่กลาง. ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี: ภาพพิมพ์ (Thitinop Komonnimi. Introduction in Thitinop Komonnim (Editor.) (2014) , Voices in Peaceful Contexts, Roles of Radios, and Southern Border Communities and How They Creating Shared Public Areas. Deep South Watch (DSW). Prince of Songkla University Pattani Campus: Parbpim Printing)

ณัฐรดา วงษ์นายะ. (2552). การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สื่อเพื่อเด็กและเยาวชนภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเด็กและเยาวชนเครือข่ายสื่อเพื่อเด็กและเยาวชนภาคเหนือ. (Nutrada Wongnaya. (2009). Accelerating Strategic Plans of Media for Kids and Youth in the Northern Region. Bangkok: Research Project on Accelerating Strategic Plans for Kids and Youth Network in the Northern Region.)

นภาภรณ์ อัจฉริยะกุล และธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ. (2546). “การจัดรายการวิทยุกระจายเสียง” ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. นนทบุรี: สาขาวิชานิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช. (Napaporn Achariyakul and Theeraruk Phothisuwan. 2003. “Radio Broadcasting” Introduction to Broadcasting Radios and Television ( Nonthaburi: Program in Communication Arts, Sukhothai Thammathirat. )

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง, (พ.ศ.2556, 23 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 หน้า 79. (Announcement of NBT on Criteria for the Supervision of Experiments on Radio Broadcasting Activities, (23rd June, 2013). Government Gazette. Vol. 130, P.79.)

ปัณณพร ไพบูลย์วัฒนกิจ. (2554). คลื่นชีวิตเด็ก เยาวชน และครอบครัว ภาคเหนือตอนบน: แนวทางในการสร้างสรรค์รายการวิทยุชุมชนเด็ก เยาวชน และครอบครัว (รายงานการ วิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (Pannaporn Paiboonwattanakit. (2011). Life Difficulties of Youth and their Families in Upper North: Guideline for Running Community Radio Programs for Kids, Youth, and Families (Research Report). ) Bangkok: Thaihealth Health Promotion Foundation

ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา. (2554). “ถอดบทเรียนสื่อทางเลือกชายแดนใต้ ท่ามกลางหมอกควันแห่งความขัดแย้ง” Rusamilae Journal, 32(2), 25-26. (Phirakan Kai-Nunna. (2011)” Learning from Alternative Media in Southern Border Areas among Conflicts” Rusamilae Journal, 32(2), 25-26.)

รอส โฮเวิร์ด. (2546). การสื่อข่าวที่ไหวรู้ต่อความขัดแย้ง. วลักษณ์กมล จ่างกมล, แปล. (ม.ป.ท) คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. (Ross Howard. (2003). Conflict Sensitive Journalism. Walakkamol Changkamol, Trans. n.p. Faculty of Communication Sciences Prince of Songkla University.)

ศุภางค์ นันตา. (2553). การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงเบื้องต้น. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (Supang Nunta. (2010). Introduction to Radio Production. Mahasarakham : Mahasarakham University Press. )

สุเทพ วิไลเลิศ. (2548). สื่อมวลชนเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: โครงการยุทธศาสตร์สื่อเด็ก. (Suthep Wilailert. (2005). Mass Media for Education and Learning (Research Report). Bangkok: The Project on Strategic Media for Children.)

สุมน อยู่สิน. (2543). การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง (Radio Programmed Production). ใน เอกสารการสอนชุดวิชาแนวคิดในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง (พิมพ์ครั้งที่4, หน่วยที่1). นนทบุรี:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (Sumon Yuesin. (2000). (Production of Radio Programs. In Series of Teaching Materials on Concepts of Producing Radio Programs (4th ed, Unit 1). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University.)

เสาวนีย์ ฉัตรแก้ว. (2552). จูนหา...คลื่นวิทยุเพื่อเด็ก งานวิจัยเส้นทางวิทยุไทยสื่อของเยาวชนและครอบครัว. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (Saowanee Chatkeaw. (2009). Tune the Radio Star: A Study on Potential of Thai Radios for Youth and Families, Bangkok: Thaihealth Health Promotion Foundation)

อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว และชรินรัตน์ สมโลก. (2554). โครงการศึกษาสถานภาพบทบาทการดำเนินงานและการเสริมสร้างความเข็มแข็ง ของสื่อวิทยุเพื่อร่วมสร้างสันติภาพใน 5 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง: จังหวัดสตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (รายงานการวิจัย). ปัตตานี: คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. (Aruneewan Buaniew and Charinrat Somlok. (2011). The Status, Role of operation and Empowerment of radio for peace in 5 provinces southern of Thailand: Satun, Songkla, Pattani, Yala and Narathiwat (Research Report). Pattani: Faculty of Communication Sciences Prince of Songkla University.)

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2536). บทบาทของรัฐในด้านสื่อมวลชน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.(Ubonrat Siriyuvasak. (1993). Roles of the Government in Mass Media. (Research Report). Bangkok: Chulalongkorn University Press.)

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2542). ระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทย : โครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองและผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (Ubonrat Siriyuvasak. (1999). Radio and Television Systems in Thailand: Economic and Political Structures and Impacts on Freedom. (Research Report). Bangkok: Chulalongkorn University Press.)

เว็บไซต์

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์. (2560.). คู่มือผลิตรายการวิทยุ. สืบค้นจาก. http://narongthai.com/ma3.html (Narong Cheunniran.(2017). Handbook of Radio

Production. Retrieved from http://narongthai.com/ma3.html. June,17,2017 )

พันธ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. (2547, กันยายน 25). สื่ออาจแสดงบทบาทของกลไกในการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็ก เยาวชน และครอบครัวในการใช้ชีวิต [บล็อกโพสต์]. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/33629 (Pantip Kanjanajitra Saisoonthorn. (2004) Potential Roles of Media in Promoting Immunity for Kids, Youth, and Families to Live Their Life. Retrieved from https://www.gotoknow.org/posts/33629. September 25, 2004 )

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2555).โครงการศึกษาวิจัยผลกระทบของการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงต่อปัญหาความรุนแรงใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รายงานการวิจัย). วันที่สืบค้น 17 มิถุนายน 2560, เข้าถึงได้จาก https://broadcast.nbtc.go.th/data/academic/file/590500000003.pdf. (Office of National Broadcasting and Telecommunications Commission. (2012). Project on Impacts of Application of Radios on Violent Problems in the Three Southernmost Provinces (Research Report).Retrieved from https://broadcast.nbtc.go.th/data/academic/file/590500000003.pdf. June,17,2017)

สุวรา แก้วนุ้ย และสุภาภรณ์ พนัสนาชี. (2558). สถานการณ์เด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้: 11 ปี ของเด็กและเยาวชนในวังวนแห่งความรุนแรง. สืบค้นจาก http://www.deepsouthwatch.org/node/6656 (Suwara Kaewnuy and Supaporn Panatnachee. (2015). Circumstances of Children in Southern Border Provinces: 11 Years of Kids and Youth amidst Violence. Retrieved from http://www.deepsouthwatch.org/node/6656 June,17,2017)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01