ภาวะหลังสมัยใหม่ของภาพโฆษณาอาดิดาสในบริบทการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก

ผู้แต่ง

  • พีระ ศรีประพันธ์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่อง “ภาวะหลังสมัยใหม่ของภาพโฆษณาอาดิดาสในบริบทการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก”      มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจถึงการประกอบสร้างความหมายผ่านภาพในงานโฆษณาของตราสินค้า  อาดิดาส ภายใต้บริบทการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกด้วยแนวคิดหลังสมัยใหม่ แนวคิดสัมพันธบท และแนวทางการศึกษาเชิงสัญญาณศาสตร์ โดยศึกษาข้อมูลจากชุดภาพโฆษณาตราสินค้าอาดิดาสที่เผยแพร่ในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 29 ในปี 2008 และครั้งที่ 30 ในปี 2012 จำนวน 31 ภาพ ผลการวิจัยพบว่า มีการนำแนวคิดหลังสมัยใหม่มาใช้ในการสื่อความหมายผ่านภาพโฆษณาใน 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) สัมพันธบท ประกอบด้วยสี่ลักษณะคือ (1.1) การทิ้งร่องรอย เป็นการเชื่อมโยงจากภาพโฆษณากลับไปยังตัวบทหลักคือการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและการเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของตราสินค้าอาดิดาส (1.2) การพาดพิงโดยอ้อม เป็นการใช้สัญญะต่างๆประกอบกันเพื่อเชื่อมโยงให้เกิดความหมายถึงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและประเทศเจ้าภาพจัดการแข่งขัน (1.3) การมีความหมายหลากหลาย เป็นการใช้สัญญะที่สามารถยืดหยุ่นในการตีความตามความรู้หรือประสบการณ์ของผู้ชม สัญญะหนึ่งจึงสามารถมีมากกว่าหนึ่งความหมายได้ (1.4) การแกว่งตัวของความหมาย เป็นการใช้สัญญะที่จัดเรียงใหม่หรือเข้าแทนที่กันได้ภายในภาพโฆษณาตราบเท่าที่ความหมายเดิมนั้นยังถูกนำเสนออยู่ (2) การยุบรวมของความหมาย ประกอบด้วยการยุบรวมในสองลักษณะคือ (2.1) การยุบความหมายระหว่างความเป็นนักกีฬาและความเป็นวีรบุรุษ และ (2.2) การยุบรวมความหมายระหว่างโลกความจริงและจินตนาการ (3) การใช้ความเกินจริง เป็นการใช้เทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์กราฟฟิก) ในการสร้างความจริงเสมือนเพื่อสื่อความหมายของสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรม (4) การปะติด เป็นการจับคู่สถานการณ์การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกกับแนวคิดของตราสินค้าอาดิดาสที่ต้องการนำเสนอ ตามสโลแกนที่ว่า “ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้”  (5) การรื้อสร้างความหมาย เป็นการหาความหมายอื่นๆที่ถูกกดทับอยู่ในตัวแบบหลักของภาพโฆษณาให้เห็นถึงเบื้องหลังของความสำเร็จว่าจะต้องผ่านความล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วน

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์. [Kanjana Kaewthep. (2010). New Perspectives in Communication Studies. Bangkok.: Pabpim Partnership.]

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2555). สื่อเก่า สื่อใหม่ : สัญญะ อัตลักษณ์ อุดมการณ์. กรุงเทพมหานคร, สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์. [Kanjana Kaewthep. (2012). Old Media New Media : Signs Identity Ideology. Bangkok. New York : Pabpim Partnership ]

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร, สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์. [Kanjana Kaewthep, Somsuk Hinviman. (2008). A Stream of Politic Economic Theory with Communication Studies. Bangkok : Pabpim Partnership.]

จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร. (2546). “Michel Foucault กับ Postmodernism” วารสารสหวิทยาการ. 1,( 2) (มกราคม-มิถุนายน), หน้า 197 [Jaturong Boonyarattanasoontorn. (2003) “Michel Foucault with Postmodernism” Journal of Integrated Sciences. 1( 2) (January-June) p.197]

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2559).แว่นวรรณคดี ทฤษฎีร่วมสมัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์นาคร. [Thanya Sangkaphathanon. (2016). Contemporary Literary Theory. 1st Edition. Pathum-thani : Na-korn Publishing.]

อัญชลี พิเชษฐพันธ์. (2554). การสื่อความหมายของภาพและภาวะหลังสมัยใหม่ในงานโฆษณาทางสิ่งพิมพ์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2554. [Anchalee Pichedpan. (2011). Visual Signification and postmodernity in thai print advertising. Dissertation of Philosophy in Communication Arts. Chulalongkorn University.]

สุภางค์ จันทวาณิช. (2554). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Supang Chantavanich. (2011). Sociological Theory. Bangkok: Chulalongkorn University Press.]

Bakhtin, Mikhail (1981). The Dialogic Imagination. Texas: The University of Texas Press.

Berger, A.A. (1992) Popular, Culture, Genres: Theoties and Texts. New York : Sage.

Danial Joseph Boorstin. (1992). The Image: A Guide to Pseudo-events in America. New York : Vintage Books.

Featherstone, Mike. (1991). Consumer Culture and Postmodernism. London: Sage Publications.

Fike, J (1989). Television Culture. London : Methen.

Goddard, Angela. (2002). The Language of Advertising: Written Texts. New York : Routledge Taylor & Francis Ltd.

Rail. Geneviève (1998). Sport and Postmodern Times. State University of New York Press.

T. Schirato. And S. Yell (2000). Communication And Cultrue. An Introduction. New York : Sage Publications.

เว็บไซต์

http://theinspirationroom.com/daily (2007) impossible-is-nothing-in-china/, retrieved : January 3, 2016

http://theinspirationroom.com/daily (2008) adidas-beijing-moments/, retrieved : January 3, 2016

http://theinspirationroom.com/daily (2008) adidas-olympics-gold-is-never-a-given/, retrieved : January 3, 2016

https://www.pinterest.com(2016) /pin/17310779803356306/, retrieved : January 3, 2016

https://www.pinterest.com(2016) /pin/376472850071250526/, retrieved : January 3, 2016

https://www.behance.net(2016) /gallery/7321431/adidas-About-to-Blow, retrieved : January 3, 2016

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01