แนวทางการพัฒนาละครโทรทัศน์ไทยกับการเป็นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • สรรพัชญ์ เจียระนานนท์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ละครโทรทัศน์ไทย, อุตสาหกรรมสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยสนับสนุนการสร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ไทยเพื่อการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของละครโทรทัศน์ไทย เป็นการวิจัยเชิงอนาคต โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย (Delphi Technique) การวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย ผู้ที่มีประสบการณ์ และนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์และการตลาดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมละครโทรทัศน์ไทยโดย        กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ผู้วิจัยทำการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญแบบเจาะจง (Purposive sampling) ผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกับวิธีการ Snowball ซึ่งในการวิจัยนี้แบ่งผู้ให้ข้อมูลหลักเป็น 4 กลุ่ม จำนวน 20 คน ได้แก่ 1) ผู้ให้ข้อมูลหลักในเชิงนโยบายด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ทำหน้าที่หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านนโยบายและมาตรการ 2) ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้บริหารด้านตัวแทนจัดจำหน่ายที่เป็นตัวกลางในการจัดซื้อ จำหน่าย รายการละครโทรทัศน์ระหว่างประเทศ 3) ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้กำกับการแสดงละครโทรทัศน์ ที่มีประสบการณ์การผลิตหรือกำกับละครโทรทัศน์ ในบริษัทที่มีการส่งออกละครโทรทัศน์หรือมีละครโทรทัศน์เผยแพร่ไปต่างประเทศ และ 4) นักวิชาการด้านสื่อและสื่อสารการตลาด โดยเป็นผู้ที่สอนหรือวิจัยเกี่ยวข้องกับนโยบายสื่อ

        ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยภายในที่สนับสนุนการสร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ไทยคือบุคลากรของไทยมีฝีมือและพร้อมเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพในการสร้างสรรค์เครื่องมือในการผลิตที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพของละครโทรทัศน์ส่วนปัจจัยภายนอกคือโอกาสทางการตลาดวัฒนธรรมของไทยที่เป็นเอกลักษณ์และการเปิดรับเนื้อหาของละครโทรทัศน์ไทยในสังคมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

        แนวทางการพัฒนารูปแบบอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของละครโทรทัศน์ไทย นั้นประกอบไปด้วยปัจจัย 3ประการ ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านการเมือง  รัฐบาลจะต้องกำหนดให้มีองค์กรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนด นโยบาย แผนและทิศทางการดำเนินงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในละครโทรทัศน์ไทย การเปิดโอกาสให้บุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดัน ส่งเสริมและพัฒนาตลาดละครโทรทัศน์ไทย สนับสนุนความร่วมมือในการร่วมทุนระหว่างประเทศ (2) ปัจจัยด้านการส่งเสริมนโยบายและมาตรการ ในการพัฒนาละครโทรทัศน์ไทยให้เป็นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รัฐบาลจะต้องมีการวางแผนยุทธศาสตร์ในการกำหนดให้ละครโทรทัศน์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศไทย การพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของผู้ผลิตละครโทรทัศน์ไทยให้มีความคิดสร้างสรรค์ และ (3) ปัจจัยทางด้านภาคเอกชน ผู้ผลิตละครโทรทัศน์จะต้องบูรณาการความร่วมมือกับภาครัฐในการวางแผนยุทธศาสตร์ มีการส่งเสริม เปิดโอกาสให้มีโครงเรื่องแบบใหม่ แตกต่าง เน้นเนื้อหาทางวัฒนธรรม การสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทย ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นสำหรับตลาดในประเทศ ตลาดเอเชีย และตลาดในประเทศอื่นนอกภูมิภาค และภาคเอกชนต้องมีการวางกลยุทธ์ทางการตลาดร่วมกันระหว่างรัฐบาล เจ้าของเงินทุน และผู้ผลิตละครโทรทัศน์ในการทำการตลาด เพื่อส่งออกละครโทรทัศน์สู่ตลาดต่างประเทศ

References

เพาวิภา ภมรสถิตย์ . (2528). ความสัมพันธ์ระหว่างละครโทรทัศน์กับสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Paowipa Bhamornsatitaya. (1985). Relationship between television drama and Thai society. Thesis for the Master of Arts, Department of Sociology and Anthropology, Chulalongkorn University.]

ตฤณ ไอยะรา และคณะ. (2559). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ อนาคตเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย. TCDC OUTLOOK จับกระแสอนาคตเศรษฐกิจสร้างสรรค์. ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) บริษัท ซันต้าการพิมพ์จำกัด มกราคม-มิถุนายน 2559. [Trin Aiyara et al. (2016). Creative Economy Future of World’s and Thailand’s Economy. TCDC OUTLOOK: CREATIVE ECONOMY PROSPECTS. Thailand Creative & Design Center . Sunta Press. January-June 2016.]

นิสวันต์ พิชญ์ดำรง. (2553). ทุนวัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 13-17. [Nissawan Pitchdamrong. (2010). From Cultural Capital to Creative Economy. Economic and Social Journal, 13-17.]

รัตนะ ปัญญาภา. (2556). เรื่อง พลวัตเกาหลีกับการสร้างมูลค่าธุรกิจบันเทิงบนฐานวัฒนธรรม : บทเรียนสำหรับธุรกิจบันเทิงไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 4(2), 23-38. [Rattana Panyapa. (2013). The Korean Wave and Value Creation in Culture-Based Entertainment Business : The Lesson for Entertainment Business in Thailand. Journal of Humanities and Social Sciences, Ubon Rratchathani Rajabhat University.]

สมบัติ กุสุมาวลี. (2558). เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Sombat Kusumawalee. (2015). Creative Economy. First Edition. Bangkok: Chulalongkorn Universiy Press.]

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2549). จุดเปลี่ยนประเทศไทย : เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : การเงินธนาคาร. [Suvit Maeincee. (2006). Thailand’s Turing Point: Sustainable Economy in Globalization. First Edition. Bangkok: Money and Banking.]

องอาจ สิงห์ลำพอง. (2550). การสร้างเกณฑ์มาตรฐานการผลิตละครโทรทัศน์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Ong-Art Singlumpong. (2007). The development of standard criteria for the production of Thai television drama. Thesis for Master of Arts Program in Communication, Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University.]

Em Griffin (2012). A First Look at Communication Theory. New York: McGraw-Hill.

John Hartley. (2015). Creative Economy and Culture. Sage Publications.

Jonghoe Yang. (2012). The Korean Wave (Hallyu) in East Asia : A Comparison of Chinese, Japanese and Taiwanese Audiences Who Watch Korean TV Drama. Development and Society, 41(1), 103-147.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01