พฤติกรรมการเปิดรับรายการข่าวและปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเปิดรับรายการข่าว สถานีโทรทัศน์ TNN24 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วิรุฬ รัตนปริคณน์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเปิดรับรายการข่าว, ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเปิดรับรายการข่าว

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการเปิดรับรายการข่าวและปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเปิดรับรายการข่าวสถานีโทรทัศน์ TNN24 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับรายการข่าวสถานีโทรทัศน์ TNN24 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเปิดรับรายการข่าวสถานีโทรทัศน์ TNN24 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ซึ่งมีผลการศึกษาวิจัยดังต่อไปนี้

        กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุ 20 - 30 ปี มากที่สุด รองลงมา คือ 31 - 40 ปี และ 41 - 50 ปี ซึ่งมีการศึกษาระดับปริญญาตรี มากที่สุด รองลงมา คือ ปริญญาโท และมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช. และ               กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มากที่สุด รองลงมา คือ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และข้าราชการ ตามลำดับ

        ในส่วนของพฤติกรรมการเปิดรับรายการข่าวสถานีโทรทัศน์ TNN24 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างติดตามรายการข่าวของสถานีโทรทัศน์ TNN24 ระยะเวลา 4 ปี ขึ้นไป มากที่สุด รองลงมา คือ มากกว่า 3 ปี - 4 ปี และต่ำกว่า 1 ปี และ 1 - 2 ปี กลุ่มตัวอย่างรับชมรายการข่าว TNN GOOD MORNING NEWS มากที่สุด รองลงมา คือ เจาะลึก ข่าวร้อน และ TNN MIDNIGHT NEWS โดยรับชมรายการในช่วงเช้า (Early Morning) 06.00 - 09.00 น. มากที่สุด รองลงมา คือ ช่วงดึก (Late Night) 21.00 - 24.00 น. และช่วงระหว่างวัน (Daytime) 09.00 - 16.00 น. ซึ่งรับชมรายการผ่านสื่อโทรทัศน์ (Television) มากที่สุด รองลงมา คือ เฟซบุ๊ก (Facebook) และยูทูป (Youtube) ตามลำดับ

        สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเปิดรับรายการข่าวสถานีโทรทัศน์ TNN24 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยแต่ละด้านที่มีผลต่อการตัดสินใจรับชมรายการข่าวของสถานีโทรทัศน์ TNN24 โดยรวมมีผลต่อการตัดสินใจอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาโดยละเอียด พบว่า ปัจจัย        ด้านคู่แข่ง มีผลต่อการตัดสินใจอยู่ในระดับสูง รองลงมา คือ ปัจจัยด้านองค์ประกอบรายการ และปัจจัยด้าน           ช่องทางการออกอากาศเสริมทางออนไลน์

References

ขวัญลดา สุจริตพงศ์. (2549). การศึกษาความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ต่อรายการโทรทัศน์ประเภทวาไรตี้ทอล์คโชว์ ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา: รายการแซดทีวี ซีรี่ย์แซด. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Kwanlada Sujaritpong. (2006). Uses and Gratifications on TV Variety Show Program in Bangkok Metropolitan Area: A Case Study on ZTV Series Z. Bangkok: Faculty of Journalism and Mass Communication Thammasat University.]

จิตติพงศ์ ศิริประวัติกุล. (2558). พฤติกรรมการเปิดรับรายการข่าวภาคค่ำทางช่องดิจิทัลทีวี (NBT HD) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. [Jittipong Siriprawatkul. (2015). A study of Behavior on News Consumption through Digital TV (NBT HD) via the National Broadcasting Services of Thailand of Bangkok Audience. Bangkok: Faculty of Industrial Education and Technology King Mongkut's University of Technology Thonburi.]

จุติวดี จิตประพันธ์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรับชมรายการข่าวเช้าทางโทรทัศน์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Chutiwadi Chitpraphan. (2013). Factors Influencing the Exposure of TV Morning News of Bangkok People. Bangkok: Faculty of Journalism and Mass Communication Thammasat University.]

ดวงทิพย์ วรพันธุ์. (2532). ข่าวโทรทัศน์: สภาพแวดล้อมไทยวิธีการแพร่กระจายและการรับรู้. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Duangthip Woraphan. (1989). Television News: Thai Environment, How to Spread and Awareness. Bangkok: Thai Khadi Research Institute Thammasat University.]

ทรงยศ จิตตวิริยานุกูล. (2553). พฤติกรรมการเปิดรับและความคิดเห็นของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการประเด็นเด็ดเจ็ดสี ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Songyod Jittaviriyanukool. (2010). Behavior Effecting Perception and Opinion towards Pra-Den-Ded-Jed-Sree Program from the Royal Thai Army Television 7 of Audience in Bangkok. Bangkok: Faculty of Journalism and Mass Communication Thammasat University.]

ธนภรณ์ โกไศยกานนท์. (2549). การผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. [Thanaporn Kosaiyakanon. (2006). Television Production. Bangkok: Faculty of Management Science Suan Dusit University.]

ธีรารักษ์​ โพธิสุวรรณ. (2556). จริยธรรมและกฎหมายในการจัดและผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง. ในเอกสาร การสอนชุดวิชาการจัดและผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงเบื้องต้น. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [Teerarak Potisuwan. (2013). Ethics and Law in Organizing and Producing Radio Broadcasts. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.]

นารินทร์ โตสำลี. (2553). พฤติกรรมการรับชมรายการคุยข่าวที่มีการส่งข้อความสั้น (SMS) ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. [Narin Tosumree. (2010). Behavior of Bangkok Audience who Send Short Text Message (SMS) via Television. Bangkok: Faculty of Communication Arts Bangkok University.]

ปรมะ สตะเวทิน. (2533). หลักนิเทศศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์. [Parama Satawatin. (1990). Principles of Communication Arts (7th ed.). Bangkok: Parbpim.]

ประชัน วัลลิโก. (2539). การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. [Prachan Walligo. (1996). Newspaper introduction (3th ed.). Bangkok: Ramkhamhaeng University.]

มนัสนันท์ อภิรมย์วิจิตร. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเปิดรับชมรายการข่าวบันเทิงของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Manussanun Apiromvijit. (2011). Factors Influencing the Exposure of Audiences with Entertainment News in Bangkok. Bangkok: Faculty of Journalism and Mass Communication Thammasat University.]

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2534). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Yubol Benjarongkij. (1991). Receiver Analysis. Bangkok: Chulalongkorn University.]

ยุบล​ เบ็ญจรงค์​กิจ. (2554). การวางแผนและประเมินผลการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Yubol Benjarongkij. (2011). Planning and Evaluation of Strategic Communication. Bangkok: Chulalongkorn University.]

ลักษณา คล้ายแก้ว. (2558). การจัดและส่งเสริมรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต. [Lucksana Klaikao. (2015). Radio and Television Programming and Promotion. Pathumthani: Rangsit University.]

สถานีโทรทัศน์ TNN24. (2561). ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์ นโยบาย และพันธกิจ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง. [TNN24 Television Station. (2018). History, Vision, Policy and Mission. Bangkok: Author.]

สถานีโทรทัศน์ TNN24. (2561). ตารางเวลาการออกอากาศรายการ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง. [TNN24 Television Station. (2018). Broadcast Schedule. Bangkok: Author.]

สถานีโทรทัศน์ TNN24. (2561). รายงานสถิติจำนวนประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่เปิดรับรายการข่าวสถานีโทรทัศน์ TNN24. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง. [TNN24 Television Station. (2018). The Statistic Report of Bangkok People who Tune in News Program on TNN24, Television Station. Bangkok: Author.]

สถานีโทรทัศน์ TNN24. (2561). รายงานสรุปเรตติ้งสถานีโทรทัศน์ TNN24 ประจำเดือนมีนาคม 2561. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง. [TNN24 Television Station. (2018). TNN24 Television Ratings Summary Report: March 2018. Bangkok: Author.]

เหมือนตะวัน สุทธิวิริวรรณ. (2559). การเปิดรับ ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ชมรายการต่อทีวีดิจิทัลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Mueantawan Sutthiwiriwan. (2016). Viewer’s Exposure to Digital TV Channel and their Knowledge, Attitudes and Behaviors towards Digital TV in Bangkok Metropolitan Region. Bangkok: Faculty of Journalism and Mass Communication Thammasat University.]

อรทัย ศรีสันติสุข. (2541). บทบาทหน้าที่ของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [Orathai Srisantisook. (1998). The Role of Radio and Television. (12th ed.). Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University.]

Burgoon, M. (1974). Approaching Speech / Communication. New York: Holt, Rinehart and Winston Inc.

McCavitt , W. E. & Pringle, P. K. (1986). Electronic Media Management. Boston: Focal Press.

Schramm, W. (1973). Channel and Audience in Handbook of Communication. New York: The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01