ทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อรายการคุยข่าว เพื่อสร้างกลยุทธ์การทำรายการ

ผู้แต่ง

  • ทินณภพ พันธะนาม คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, รายการคุยข่าว, กลยุทธ์การทำรายการ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับชมรายการคุยข่าวของผู้ชม เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ชมต่อการเปิดรับชมรายการคุยข่าว เพื่อศึกษากลยุทธ์การทำรายการคุยข่าวของสถานีโทรทัศน์ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์บุคคลแบบเจาะลึก (Depth Interview) รวม 15 คนจากผู้อำนวยการฝ่ายข่าวหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ผู้ดำเนินรายการ บรรณาธิการหรือโปรดิวเซอร์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากรายการคุยข่าวหรือฮาร์ดทอล์5 รายการ 5สถานีโทรทัศน์ ส่วนการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีสำรวจความคิดเห็นจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ส่วนข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม วิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

        ผลการวิจัยพบว่าผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์หรือผู้ผลิตรายการมองถึงกลยุทธ์การทำรายการคุยข่าวหรือรายการฮาร์ดทอล์คที่จะประสบความสำเร็จและมีคุณภาพว่าต้องอาศัยทักษะความสามารถของผู้ดำเนินรายการเป็นอันดับแรกลำดับรองลงมาคือเนื้อหาหรือประเด็นข่าวทีมงานและแขกรับเชิญที่จะทำให้รายการมีความน่าสนใจส่วนเทคนิคอื่นๆคือฉากแสงสีเสียงเป็นเพียงองค์ประกอบของรายการโทรทัศน์แต่ไม่ได้มีความสำคัญมากนักสวนทางกับผู้ชมที่ให้ความสำคัญกับประเด็นหรือเนื้อหามากที่สุดเป็นอับดับแรกในการเลือกรับชมและมองถึงกลยุทธ์การทำรายการที่จะประสบความสำเร็จและมีคุณภาพว่าประเด็นหรือเนื้อหาและผู้ดำเนินรายการมีความสำคัญเท่ากันส่วนแขกรับเชิญทีมงานและเทคนิคอื่นๆคือฉากแสงสีเสียงมีความสำคัญรองลงมาตามลำดับ

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์, นิคม ทาแดง และไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์ (2546) รูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์ในเอกสารสอนชุดความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยุโทรทัศน์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (หน้า 149–155). [Chaiyong Brahmawong, Nikhom Thadang and Paiboon Kachaentoonpun (2003) Television radio program in instructional materials. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. pages 149-155].

ดวงกมล เทวพิทักษ์ (2542) ลักษณะเนื้อหาข่าวสาร และจิตนาการบันเทิงในข่าวบันเทิงของสถานีโทรทัศน์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Duangkam Thepitpitak (1999) Content content And entertainment in entertainment news of Thai television. Master Thesis Faculty of Communication Arts Mass Communication, Chulalongkorn University.].

มนัสนันท์ อภิรมย์วิจิตร (2554) ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเปิดรับชมรายการข่าวบันเทิงของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Manasanan Apiromvijit (2011) Factors influencing public entertainment news in Bangkok. Master of Arts, Thammasat University.].

มารียา ไชยเศรษฐ์ (2546) ความคาดหวัง การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการที่นี่ประเทศไทย ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5. คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Marianaya Chaiyasit (2003) Expectation and the satisfaction of the audience in Bangkok on the list here in Thailand. On Channel 5 TV. Faculty of Journalism and Mass Media Mass Communication, Thammasat University.].

สุภวัฒน์ สงวนนาม (2557) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกรับชมรายการข่าวของสถานีโทรทัศน์ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเนชั่น. [Supawat Snguang (2014) Factors influencing television audience's choice of news programs in Bangkok. Master of Business Administration, Graduate School, University of the Nation].

เว็บไซต์

TV Digital Watch (2560) เรตติ้งรายการคุยข่าว. เข้าถึงได้จาก:https://www.facebook.com/search/top/?q=tv%20digital%20watch, 7 กุมภาพันธ์ 2561) [ TV Digital Watch (2018) Rating of News Talk. Retrieved from https://www.facebook.com/search/top/?q=tv%20digital%20watch, Febuary 7,2018 ]

สัมภาษณ์

มานะ ตรีรยาภิวัฒน์. (7 กุมภาพันธ์ 2561) [Mana Trinya Phiwat. (Febuary 7,2018 )]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01