พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจของผู้ชมต่อรูปแบบรายการหน้ากากนักร้อง ( The Mask Singer) ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เตชิต หอมจันทร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

การเปิดรับ, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจของผู้ชมต่อรูปแบบรายการหน้ากากนักร้อง( The Mask Singer) ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจของผู้ชมต่อรูปแบบรายการหน้ากากนักร้อง ( The Mask Singer)  เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว การทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

        ผลการวิจัยพบว่าเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายมีอายุระหว่าง 20-29ปี การศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-30,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา ในส่วนของพฤติกรรมการเปิดรับชมรายการ ส่วนใหญ่รับชมผ่านช่องทางโทรทัศน์ ชื่นชอบในซีซั่นที่ 4 ความถี่ในการรับชม 4 ครั้งต่อเดือน ระยะเวลาชม 2 ชั่วโมงตั้งแต่ต้นจนจบ ลักษณะการชมตั้งใจชมตลอดทั้งรายการ ชื่นชอบช่วงรอบซักถาม รู้จักรายการจากสื่อโทรทัศน์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการนำเสนอรูปแบบรายการ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 จากคะแนนเต็ม 5.00 โดยมีความพึงพอใจเทคนิคการผลิตมากที่สุด และระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด คือการนำเสนอรูปแบบรายการ 4.10 จากคะแนนเต็ม 5.00 นอกจากนี้ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ในด้าน อายุ การศึกษา  รายได้ อาชีพ แตกต่างกันมีพฤติกรรมการเปิดรับชมรายการแตกต่างกัน ในส่วนลักษณะทางประชากรศาสตร์ในด้าน เพศ อายุ  รายได้ อาชีพ ที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อรูปแบบรายการแตกต่างกันด้วย ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมการเปิดรับชมกับความพึงพอใจต่อรูปแบบรายการ ไม่สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01

References

มนฤดี ธาดาอำนวยชัย (2541). ความพึงพอใจและความคาดหวังของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการโทรทัศน์สำหรับวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. [Monruedee Thadaaumnuaychai. (1988) Students's Expectations and Satisfaction Towards on Television for Teenagers in Bangkok Area. The Degree of Master of Arts. Faculty of Journalism and Mass Communication. Thammasat University.]

ปรมะ สตะเวทิน.(2538). หลักการนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:ภาพพิมพ์.[ Porama Satavatin. (1995). Principle of Communication . Bangkok : Phappim ]

พัฒนา กิติอาษา. (2546). มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฏการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทยร่วมสมัย.กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.[ Pattana Kitiarsa. (2003). Anthropology and the Study of the Past Phenomenon in Contemporary Thai Society. Bangkok : Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre.]

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2542). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.[ Yubol Benjarong-kij.(1999).Audience Analysis. Bangkok : Chulalongkorn University.]

สมร ทองดี.(2531). จิตวิทยาเกี่ยวกับการรับสารนิเทศ. นนทบุรี:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.[ Samorn Thongdee.(1988) Psychology of Information. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.]

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร,(2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Surapongse Sotanasathien. (1990). Communication and Society. Bangkok: Chulalongkorn University.]

วิยดา เกี่ยวกุล.(2538) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจาการเปิดรับชมรายการข่าวของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Viyada Keawkul.(1995). Information Exposure uses and Gratifications of Television News Among People. Master’s Communication Arts. Chulalongkorn University.]

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2542). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [ Yubol Benjarong-kij.(1999).Content Analysis. Faculty of Communication Arts. Bangkok : Chulalongkorn University.]

เว็บไซต์

กนกกาญจน์ ประจงแสงศรี.(2560). ศึกชิงเค้กดิจิตอลทีวี. เข้าถึงเมื่อ 9 มิถุนายน 2561 จาก http://www.thansettakij.com/content [ Khanokkhan Prajongsangsri.(2017). Battle for Digital TV Space Retrieved : June 9,2018 from www.thansettakij.com/content ]

สุรดา จรุงกิจอนันต์ (2543) Entertainment in Game Show on Thai Television The Year 2000. เข้าถึงเมื่อ 9 มิถุนายน 2561 จาก http://www.marketingoops.com.

[Surada Charungkit-Anant. (2000) Entertainment in Game Show on Thai Television The Year 2000. Retrieved : June 9,2018 from www.marketingoops.com

อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์. (2551) มัดใจ Gen Y . เข้าถึงเมื่อ 9 มิถุนายน 2561 จาก http://www.marketingoops.com/brand-marketing/strategy-brandmarketing.

[ Atthasit Mounmath.(2008). Product Design to Attract Generation Y. Retrieved : June 9,2018 from www.marketingoops.com/brand-marketing/strategy-brand-marketing. ] ISBN 974-17-0226-4.]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01