การสร้างกรอบแนวคิดเพื่อศึกษาการรู้เท่าทันสื่อตามแนวพุทธวิถี

ผู้แต่ง

  • ฐิติ วิทยสรณะ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การรู้เท่าทันสื่อ, พุทธวิถี

บทคัดย่อ

        บทความเรื่องการสร้างกรอบแนวคิดเพื่อศึกษาการรู้เท่าทันสื่อตามแนวพุทธวิถีมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอหลักธรรมของพระพุทธองค์ที่มุ่งสอนให้ฆราวาสมีความรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารทั้งหลายที่เปิดรับ อีกทั้งยังนำเอาหลักธรรมคำสอนดังกล่าวมาสร้างเป็นกรอบแนวคิดเพื่อประยุกต์ในการศึกษาการรู้เท่าทันสื่ออีกประการหนึ่งด้วย โดยหลักธรรมคำสอนที่นำเสนอในบทความนี้ประกอบไปด้วย 1. หลักกาลามสูตร อันเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนประชาชนชาวกาลามะ ในแคว้นโกศล เพื่อมิให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก 10 ประการ คืออย่าเพิ่งเชื่อด้วยการฟังตามกันมา, ด้วยการกระทำตามกันมา, ด้วยการเล่าลือต่อกันมา เป็นต้น และ 2. หลักโยนิโสมนสิการ เป็นหลักธรรมที่มุ่งสอนให้พิจารณาเพื่อให้เข้าถึงความจริง โดยการสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุและผลอย่างชัดเจน สำหรับการนำหลักธรรมทั้งสองดังกล่าวมาสร้างเป็นกรอบเพื่อศึกษาการรู้เท่าทันสื่อนั้น ประกอบไปด้วยแนวคิดเกี่ยวกับการเปิดรับสื่อ อันมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับหลักกาลามสูตรและโยนิโสมนสิการ ในขณะเดียวกันหลักกาลามาสูตรก็มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับโยนิโสมนสิการเช่นเดียวกัน โดยกรอบแนวคิดนี้สามารถนำไปศึกษาถึงการรู้เท่าทันสื่อได้ในทุกกลุ่มประชากรและจากการเปิดรับสื่อทุกประเภท

References

กฤษณา ชาวไทย. (2556). พัฒนาการและการขับเคลื่อนแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อประเทศไทย. วิทยานิพน์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Kritsana Chaochai. (2013). Development and Movement of media Literacy Concept in Thailand. Master Thesis of Mass Communication, Thammasat University]

กาญจนา แก้วเทพ. (2545). สื่อสารมวลชน : ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [Kanjana Keawtap. (2002). Mass Communication Theory. Bangkok : Chulalongkorn University]

พรทิพย์ เย็นจะบก. (2552). ถอดรหัส ลับความคิดเพื่อรู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพมหานคร : ออฟเซ็ท ครีเอชั่น. [Porntip Yenjabok. (2009). Decorder Thinking for Media Literacy. Bangkok : Offset Creation]

พีระ จิรโสภณ. (2544). ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [Pira Jirasophon. (2001). Mass Communication Theory. Nontaburi : SukothaiOpenUniversity]

พระธรรมปิฎก. (2546). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร. [Phradhammadilok. (2003). Buddhadhamma. Bangkok : Thammasan]

พระพรหมคุณาภรณ์. (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย [Phra Brahmagunabhorn. (2008). Encyclopedia of Buddha Science. Bangkok : Mahachulalongkornrajavidyalaya University]

พระมหาวุฒิชัย วุฒิเมธี. (2554). รุ่งอรุณแห่งความสุข. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร. [Phramaha Vuthichai Vuthimedhi, Bangkok: Thammasan]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01