การใช้ส่ือกับการปรับเปล่ียนพฤติกรรมปกติใหม่ด้านสุขภาพ ในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรน่า (Covid-19) : กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธาน

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ กิตตินราภรณ์ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การเปิดรับสื่อ, เนื้อหา, ความน่าเชื่อถือของข้อมูล, การใช้สื่อ, ไวรัสโคโรน่า (Covid-19)

บทคัดย่อ

        การศึกษาเรื่องการใช้สื่อกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปกติใหม่ด้านสุขภาพในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรน่า (Covid-19) : กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางสังคมแวดล้อมกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อและเนื้อหากับพฤติกรรมปกติใหม่ (New Normal) 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อและเนื้อหากับความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสาร และ 4) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ต่อรูปแบบการนำเสนอของสื่อและเนื้อหาในช่องทางต่าง ๆ

        งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพควบคู่กับการสัมภาษณ์เจาะลึกโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับผลกระทบจากการการระบาดของไวรัสโคโรน่า ได้แก่ ผู้สูงอายุ เกษตรกร ข้าราชการ แรงงานข้ามชาติ นักศึกษา และผู้ประกอบการ

        ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านการประกอบอาชีพและปัจจัยการมีรายได้ที่แตกต่างกันทำให้กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่แตกต่างกัน ในส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับผลกระทบจากการลดลงของรายได้มักจะไม่ค่อยเปิดรับข่าวสาร เนื่องจากอาจจะนำไปสู่สุขภาวะทางจิตที่แย่ลง ความเครียด และอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย

        ในการระบาดช่วงแรก กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด รองลงมาคือสื่อโทรทัศน์ และตามมาด้วยสื่อบุคคลและสื่อเฉพาะกิจ ในส่วนของเนื้อหาข่าวสาร กลุ่มตัวอย่างเปิดรับเนื้อหาการป้องกันตนเองมากที่สุด รองลงมาคือ ตัวเลขผู้ติดเชื้อจากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบค.) และเนื้อหาด้านความบันเทิง นอกจากนั้นยังพบว่า การเปิดรับเนื้อหาการป้องกันตนเองยังส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เพิ่มขึ้นและนำไปสู่พฤติกรรมปกติแบบใหม่

        กลุ่มตัวอย่างใช้ประโยชน์จากสื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด รองลงมาคือ สื่อโทรทัศน์และสื่อบุคคลตามลำดับในการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ในส่วนเนื้อหาที่ได้รับจากสื่ออินเทอร์เน็ตจะมีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาด้านความรู้ การแนะนำในการป้องกันโรค การตรวจสอบการแพร่กระจายโรค ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างบางส่วนเปิดรับและได้รับประโยชน์จากรายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อประจำวัน เนื่องจากเป็นข้อมูลที่มาจากหน่วยงานภาครัฐ

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2556). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ, กิตติ กันภัย และปาริชาติ สถาปิตานนท์. (2543). มองสื่อใหม่ มองสังคมใหม่. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.

กลุ่มพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). ทฤษฎีเกี่ยวกับการเปิดรับข่าวสาร. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2563,แหล่งที่มา http://www.hed.go.th/frontend/theme/content_data_list.php?ID_Menu=3825

เกด. ผู้ช่วยสัตวแพทย์ ถวิลสัตวแพทย์. (วันที่ 19 พ.ค. 2563). การสัมภาษณ์.

จันทร์. หัวหน้าคนงานก่อสร้าง แรงงานอพยพข้ามชาติ. (วันที่ 22 พ.ค. 2563). การสัมภาษณ์.

จุ๊บ. เจ้าของร้านเสริมสวย จุ๊บซาลอน. (วันที่ 21 พ.ค. 2563). การสัมภาษณ์.

ชยุตม์ เหมจักร. (2544). ข่าวโทรทัศน์ที่มีคุณภาพในทัศนะผู้สื่อข่าวและผู้รับสาร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ติ๊ก. แม่บ้านรับจ้างรายวัน มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. (วันที่ 20 พ.ค. 63). การสัมภาษณ์.

ธำรงค์. เกษตรกร ชาวนาอำเภอคลองหลวง. (วันที่ 29 พ.ค. 2563). การสัมภาษณ์.

นันทนัช โสมรรินทร์.(2556). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของ ประชาชนในจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ประชาธิป กะทา และสิทธิโชค ชาวไร่เงิน. (2561). ระบาดวิทยาวัฒนธรรม. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สุขศาลา.

ปวัตน์ เลาหะวีร์. (2554). ชนะคู่แข่งด้วยการตลาดกับfacebook + Twitter Marketing. กรุงเทพฯ: วิตตี้ กรุ๊ป.

ป๊อป. พนักงานบริษัทเอกชน บริษัทโฮมโปร รังสิต. (วันที่ 19 พ.ค. 2563). การสัมภาษณ์.

พนม คลี่ฉายา. (2561). การเข้าถึง เข้าใจ ประเมิน และใช้ข้อมูลข่าวสารสุขภาพเพื่อการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่แพร่มาจากต่างประเทศของประชาชนในเขตเมือง(รายงานวิจัย) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), นนทบุรี. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563, แหล่งที่มา https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4899/hs2423.pdf?sequence=1&isAllowed=y.

พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2559). วัฒนธรรมกับสุขภาพ (เอกสารประกอบการบรรยาย). สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563,แหล่งที่มา http://www.socsi.nu.ac.th/th/wp-content/uploads/2015/09/CultureAndHealth.pdf.

พรรณภัทร ประทุมศรี และณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2550). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความพึงพอใจต่อรูปแบบการนำเสนอของสื่อเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในจังหวัดสงขลา. การประชุมผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 8(1), 224-234.

พรทิพย์ เย็นจะบก. (2552). ถอดรหัส ลับความคิด เพื่อการรู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพฯ: บริษัท ออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด.

เฟิร์ท. นักศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. (วันที่ 19 พ.ค. 2563). การสัมภาษณ์.

วัฒณี ภูวทิศ. (2560). ศึกษาผู้สื่อข่าวกับการใช้ประโยชน์และความน่าเชื่อถือของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์.วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(17), 135-144.

วีรายา อักกะโชติกุล. (2552). บทบาทสื่อบุคคลในการส่งเสริมการรับรู้องค์กรนวัตกรรม (นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ศตพล เกิดอยู่. (2558). ทัศนคติ พฤติกรรม และการรู้เท่าทันการใช้แอปพลิเคชันไลน์ ของกลุ่มวัยเบบี้บูมเมอร์ (วารสารศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิท-19 (ศบค.) (n.d.) Timeline (Facebook page). สืบค้นเมื่อ มีนาคม 30, 2563, แหล่งที่มา https://www.facebook.com/informationcovid19/photos/a.106142991004034/121129606172039

สถานการณ์ร้อน. (2563, 23 มีนาคม). เดลินิวส์, น. 3 (บน).

สายทิพย์ วชิรพงศ์. (2557). การเปิดรับ การรับรู้ และทัศนคติที่มีต่อภาพยนตร์จากข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏ ในทวิเตอร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุกัญญา จงถาวรสถิตย์. (2556). ระบาดวิทยาสังคมในงานวิจัยทางสาธารณสุข. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 44(1), 93-105.

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริชัย วงษ์สาธิตศาสตร์. (2549). ช่องทางใหม่ในการรายงานข่าวของสื่อมวลชนไทย. วารสารรามคำแหง, 23(1), 43-69.

โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์. 2553. ตรรกวิทยาสัญลักษณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุงใหม่). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อารดา อินทรหะ. (2551). การเปิดรับสื่อ ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมใช้สิทธิของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อ๊อด. ข้าราชการ เทศบาลเมืองท่าโขลง. (วันที่ 27 พ.ค. 2563). การสัมภาษณ์.

C.Y Fry. (1980). Aging in Culture and Society. Brooklyn, N: Bergin.

Choi, Hyeon Cheol.and Samuel L’ Becker. (1987). Media Use Issue / Image Discriminations and Voting Communication Research. n.p.

Coronavirus. (2020). Retrieved September 29, 2020, from https://www.worldometers.info/coronavirus/

Farmer, Paul. (1996). Social Inequalities and Emerging Infectious Diseases. Emerging infectious diseases, 2 (4), 259-269.

John C. Merrill and Ralph L. Lowenstein. (1971). Media Message and Men. New York: Longman.

McCombs, Maxwell E.; & Becker, Lee B. (1979). Using Mass Communication Theory. Englewood Cliffs, NJ: Pearson/Prentice Hall.

Schramm, Wilbur. (1973). Channels and Audiences in Handbook of Communication. Chicago : Rand Mcnelly Colledge.

Steiger, N. J. (1985). Self Care Nursing Theory And Practice. Maryland: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29