ประสิทธิผลรายการ The Connext Project ผ่านการจัดการเรียนการสอนรายวิชา RSU 111 สังคมธรรมาธิปไตย ของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, รายการ, การจัดการเรียนการสอน, การถ่ายทอดสดบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลรายการ The Connext Project ผ่านการจัดการเรียนการสอนรายวิชา RSU 111 สังคมธรรมาธิปไตย โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลกับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการดังกล่าว ในภาคฤดูร้อน/2563 จำนวน 307 คน โดยผลการวิจัย พบว่า
1. ข้อมูลทั่วไป พบว่า เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในรายวิชา RSU 111 กลุ่ม 34 และกลุ่ม 35 มากที่สุด โดยส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่สาขาภาพยนตร์ดิจิทัลมากที่สุด รองลงมา คือ สาขาสื่อสารการแสดง และสาขามัลติมีเดีย ตามลำดับ
2. การเปิดรับสื่อของนักศึกษารายวิชา RSU 111 สังคมธรรมาธิปไตยที่มีต่อรายการ The Connext Project พบว่า ส่วนใหญ่รู้จักรายการจากการสั่งงานของอาจารย์ผู้สอนมากที่สุด รองลงมา คือ จากเฟซบุ๊กของวิทยาลัย และจากการแนะนำของรุ่นพี่/เพื่อน มีการรับชมรายการที่ออกอากาศวันจันทร์ เวลา 00 น. รองลงมา คือ รายการพิเศษ สัมภาษณ์วิทยากรจาก Trawell Thailand และรายการ Nitade Life Live ออกอากาศวันพุธ เวลา 19.00 น. โดยเหตุผลที่รับชมรายการเพื่อทราบข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับนักศึกษาหรือสิ่งที่นักศึกษาจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการเรียนในมหาวิทยาลัยมากที่สุด รองลงมา คือ เป็นห้องเรียนออนไลน์ที่อาจารย์ผู้สอนให้เข้าร่วมเพื่อทำการเรียนรู้และทำกิจกรรม และเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านนิเทศศาสตร์ ส่วนความสนใจรูปแบบรายการ พบว่า สนใจการสัมภาษณ์อาจารย์ รุ่นพี่ และศิษย์เก่าวิทยาลัยนิเทศศาสตร์มากที่สุด รองลงมา คือ การแสดงผลงานของนักศึกษาในรายวิชา และการจัดประกวด/แข่งขัน ตามลำดับ มีการนำประโยชน์ที่ได้จากการรับชมหรือร่วมรายการไปใช้ในเรื่องการเปิดโลกทัศน์และมุมมองที่ดีทางด้านการสื่อสาร/นิเทศศาสตร์ของตนเองมากที่สุด และเป็นประโยชน์ในการประกอบการเรียน ตามลำดับ
3. ประสิทธิผลรายการ The Connext Project ผ่านการจัดการเรียนการสอนรายวิชา RSU 111 สังคมธรรมาธิปไตย ของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของรายการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 4.38 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า รายการด้านปัจจัยนำเข้ามีประสิทธิผลมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.42 รองลงมา คือ ด้านผลผลิต ด้วยค่าเฉลี่ย 4.36 และด้านกระบวนการ ด้วยค่าเฉลี่ย 4.35 ดังรายละเอียดต่อไปนี้ คือ 3.1) ด้านปัจจัยนำเข้าโดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า รายการเป็นช่องทางในการเผยแพร่ผลงานของอาจารย์และนักศึกษาวิทยาลัยนิเทศศาสตร์มากที่สุด รองลงมา คือ สอดรับกับการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารในสังคมปัจจุบัน และมีการประชาสัมพันธ์รายการให้ได้ทราบล่วงหน้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Facebook/IG) 3.2) ด้านผลผลิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า เนื้อหารายการช่วยสร้างมุมมองที่ดีต่อการเรียนการสอนและวิชาชีพด้านนิเทศศาสตร์ และมีการเปลี่ยนความคิดและมุมมองของตนเองด้านการสื่อสาร ความเป็นสังคมธรรมาธิปไตย จิตอาสา และการทำงานด้านนิเทศศาสตร์มากขึ้น มากที่สุด รองลงมา คือ การใช้รายการเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ทำให้การจัดการเรียนการสอนมีความน่าสนใจและเปิดโลกทัศน์ให้กับผู้เรียนได้ เนื้อหาที่มีสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากัน และรายการทำให้วิทยาลัยนิเทศศาสตร์เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้นในกลุ่มเป้าหมาย ตามลำดับ และ 3.3) ด้านกระบวนการโดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า ช่องทางการเผยแพร่รายการด้วยการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ ทำให้สะดวกในการเข้าถึงและสามารถชมรายการย้อนหลังได้ และสถานที่ในการผลิตรายการ (สตูดิโอ) มีความเหมาะสมในการผลิตรายการนี้ ด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากัน รองลงมา คือ วิทยากรที่ได้รับเชิญมาออกรายการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์ รุ่นพี่ และศิษย์เก่า) เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ และแนวคิด (Concept) ของรายการมีความน่าสนใจและเกี่ยวข้องกับวิชาชีพด้านนิเทศศาสตร์โดยตรง ตามลำดับ
References
กรมประมง. (2554). รายงานการประเมินผลการสัมมนาโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การสร้างทีมที่ดีเพื่อประสิทธิภาพขององค์กร. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.fisheries.go.th/extrain/ files/1301904732.pdf, สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2563.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด.
คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2563). พฤติกรรมกับชีวิตวิถีใหม่ : New Normal. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=258, สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2563.
พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2553). นวัตกรรมการประชาสัมพันธ์กับประเด็นการสื่อสารขององค์กรระดับโลกท่ามกลาง SocialNetwork. (ออนไลน์). ค้นหาได้จาก http://www.drphot.com/images/journal/2553/coporate_communication/external/Article%20PRbook4.pdf, สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2563.
วรวุฒิ อ่อนน่วม. (2563). รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์. รายละเอียดรายการ The Connext Project. สัมภาษณ์, 15 กรกฎาคม 2563.
วราภร ดำจับ. (2562). สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ปีที่ 7(2). กรกฎาคม-ธันวาคม. 143-159 น.
วิภัคฉณัฏฐ์ นิมิตพันธ์ และศิริจันทรา พลกนิษฐ. (2559). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ภายใต้สื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย (ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์). ปีที่ 6(1). มกราคม-เมษายน. 21-31 น.
วิมลพรรณ อาภาเวท. (2553). หลักการโฆษณาและประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
ปดิวรัดา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2549). การสื่อสารมวลชน. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.มูลนิธิยุวพัฒน์. การศึกษาในยุค Covid-19. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.yuvabadhanafoundation.org/th/ข่าวสาร/บทความทั่วไป/การศึกษา-covid-19/. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563.
สุธาวัลย์ ธรรมสังวาล. (2556). ช่องทางการเรียนการสอนบนสื่อสังคมออนไลน์ของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์. ปีที่ 12(13). มกราคม-มิถุนายน. 37-42 น.
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. (2561). โครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 8. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักวิจัยแห่งชาติ. (2563). การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.nrct.go.th, สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2563.
เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2553). เครือข่ายสังคม. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://vcharkarn.com/varticle/40698/, สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2563.
อนวัช เอียบก๊ก. (2563). ที่ปรึกษานายกสโมสรนักศึกษา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์. การสร้างสรรค์รายการ The Connext Project. สัมภาษณ์, 20 กรกฎาคม 2563.
Joseph L. Cronbach. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York : Harper Collins.
J2J Design and Development. (2563). Live Streaming แก้ปัญหาธุรกิจช่วงวิกฤติ Covid-19 ด้วยการถ่ายทอดสดออนไลน์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.j2jdesign.com/blog/90, สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2563.
McCombs, M. E. & Becker, L. B. (1979). Using Mass Communication Theory. New York : Prentice-Hall.
Samuel L. Becker. (1972). Discovering Mass Communication. Illinois : Scott Foresman and Company Glenview.