การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของกลุ่มผู้พิการทางสายตาในวิชาชีพช่างไม้ : กรณีศึกษา ศูนย์พัฒนาอาชีพคนตาบอด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • นรังสรรค์ ดำศรี คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ผู้พิการทางสายตา, วิชาชีพช่างไม้, การปฏิสัมพันธ์, ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการส่งเสริมการเรียนรู้ของกลุ่มผู้พิการทางสายตาในวิชาชีพช่างไม้ เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดความรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้สอนวิชาชีพช่างไม้ต่อผู้พิการทางสายตา และเพื่อศึกษาการปฏิสัมพันธ์ของครูผู้สอนวิชาชีพช่างไม้ต่อผู้พิการทางสายตา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยการสังเกตการณ์ (Observation) และ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ครูผู้สอนวิชาชีพช่างไม้ 4 ท่านและผู้พิการทางสายตา 5 ท่าน ณ ศูนย์พัฒนาอาชีพคนตาบอด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ผลการวิจัยพบว่า 7 ปัจจัยที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของกลุ่มผู้พิการทางสายตา ในวิชาชีพช่างไม้ คือ 1) สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ 2) พื้นฐานความรู้ 3) ความเชื่อและทัศนคติ 4) ค่านิยมและเป้าหมาย 5) เทคนิควิธีการสอน 6) ความเหมาะสมของเนื้อหาการสอน 7) การเรียนการสอนมีความเป็นกันเอง ซึ่งมีการปฏิสัมพันธ์ช่วยส่งเสริมการเรียน คือ การตั้งใจฟัง ความเข้าใจในเนื้อหาการเรียน และการแสดงความห่วงใย โดยการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดความรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้สอนวิชาชีพช่างไม้ต่อผู้พิการทางสายตา ผู้สอนมุ่งเน้นไปที่ทักษะด้านชีวิตและอาชีพเป็นสำคัญ และไม่ให้ความสำคัญกับทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เพราะความเป็นปัจเจกบุคคลและถูกจำกัดด้วยศักยภาพทางการมองเห็นของผู้เรียน

References

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2562). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. วันที่เข้าถึงข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2563, แหล่งที่มา http://dep.go.th/Content/View/5805/1 [Department of Empowerment of Persons with Disabilities. (2019). Report on the situation of persons with disabilities in Thailand. Retrieved: 28 February 2020, Source http://dep.go.th/ Content/View/5805/1]

กรมสามัญศึกษา. (2528). เครื่องมือประเมินมาตรฐานโรงเรียน พ.ศ. 2528. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา. [Department of General Education. (1985). School standard assessment tool 1985. Bangkok: Kurusapa Printing.]

กันตภณ พุ่มประดับ. (2558). บทบาทและศักยภาพของผู้พิการทางสายตาที่ถูกนําเสนอผ่านรายการโทรทัศน์ "Blind Date". วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Kantapon Pumpradab. (2015). Role and potential of visually-impaired people in TV program "Blind Date". Master of Communication Arts’s Thsis Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University.]

จันทิรา เลิศจรัสอร่ามดี. (2545). การศึกษาการจัดโปรแกรมการเรียนร่วมสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นในโรงเรียนประถมสาธิต สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขางานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ มหาวิทยาลัยมหิดล. [Chantira Loescharataramdee. (1985). Study of itegrated classroom management for visually Impaired students Inprimary demonstration Rajahbat Institute Suansunandha. Master of Arts’s Thsis, Rehabilitation Service for Persons with Disabilities, Mahidol University.]

แฉล้ม แย้มเอี่ยม. (2527). ความเข้าใจในสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวจะช่วยเด็กก่อนวัยเรียนที่มีความพิการทางสายตาได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ. [Chalaem Yaemeiam. (1984). How an understanding of the environment and movement can help preschoolers with visual disabilities. Bangkok: The Bangkok School for The Blind.]

ชลอ บุญก่อ และคณะ. (2548). การออกแบบและเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา. [Chalao Boonkor et al. (2005). Design and technology for living and family. Bangkok: Kurusapa Printing.]

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2553). การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า: ตอนรูปแบบและทฤษฎี การเรียนรู้อนาคต. วันที่เข้าถึงข้อมูล 22 มกราคม 2563, แหล่งที่มา http://sornorinno.blogspot.com/2010/09/c-c-teacher.html [Thanomporn Laohajarassaeng. (1990). Learning in the next generation : learning the future model and theory. Retrieved: 22 January 2020, Source http://sornorinno.blogspot.com/2010/09/c-c-teacher.html]

ทิศนา แขมมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Tisana Khammani. (2007). Teaching model : wide choice. Bangkok: Chulalongkorn University.]

ปัญญา ศรีแก้ว. (2551). ความพึงพอใจและความต้องการของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดแก่งคอย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 3(1), 59-67. [Panya Srikaew. (2008). Satisfaction and Needs of Parents for Enrolling their Children in Tessaban Watkaengkhoi School. Journal of Yala Rajabhat university, 3(1), 59-67.]

พรเพ็ญ สุวรรณเดชา. (2533). ปฏิสัมพันธ์ทางวาจากับการเรียนการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์, 6(15-16), 13-16. [Pornpen Suwandecha. (1990). Verbal interaction with instruction. Journal of education, 6(15-16).]

พูนศรี ยิ้มสาระ. (2544). การเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตากับเด็กปกติ ในโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอเมืองเชียงใหม่. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [Poonsri Yimsara. (2001). Mainstreaming of visually impaired students in primary schools in Muang Chiang Mai district, Master of Education’s Independent Study, Faculty of Education, Chiang Mai University.]

เพชรรัตน์ กิตติวัฒนากูล. (2530). สภาพการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนตาบอดเรียนร่วม ในโรงเรียนประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Petcharatana Kittiwattanakul. (1987). State of educational management of mainstreaming blind students in elementary schools, the northeastern region. Master of Education’s Thesis, Faculty of Education, Chulalongkorn University.]

ภาณุพงศ์ อนันต์ชัยพัทธนา. (2552). การวิเคราะห์เส้นทางแห่งความสำเร็จของครูพิการ : พหุกรณีศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Panupong Ananchaiputtana. (2009). Analysis of the success path of teachers with disabilities : a multiple case study. Master of Education’s Thesis, Faculty of Education, Chulalongkorn University.]

มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย. (2561). ศูนย์พัฒนาอาชีพคนตาบอด. วันที่เข้าถึงข้อมูล 13 มกราคม 2563, แหล่งที่มา http://www.blind.or.th/centre/about_show/5 [Foundation for the Blind in Thailand. (2018). Lighthouse for the blind. Retrieved: 13 January 2020, Source http://www.blind.or.th/centre/about_show/5]

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์. [Vicharn Panich. (2012). 21st century skills : learning for life in our times. Bangkok: Sodsri-Saridwongso Foundation.]

สามารถ รัตนสาคร. (2545). ศึกษาทักษะการมีวิถีชีวิตอิสระในกลุ่มผู้ใหญ่ที่พิการทางการมองเห็นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขางานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ มหาวิทยาลัยมหิดล. [Samart Ratanasakorn. (2002). Study of independent living skills of visually impaired persons in Bangkok and vicinities. Master of Arts’s Thsis, Rehabilitation Service for Persons with Disabilities, Mahidol University.]

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [Office of The Basic Education Commission. (2015). Annual action plan for the fiscal year 2016. Bangkok: Office of the basic education commission.]

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตูล. (2558). ความหมายคนพิการ. วันที่เข้าถึงข้อมูล 20 มกราคม 2563, แหล่งที่มา http://www.satun.m-society.go.th/tag/ความหมายคนพิการ [Satun Provincial Social Development And Human Security Office. (2017). Meaning of disabled. Retrieved: 20 January 2020, Source http://www.satun.m-society.go.th/tag/ความหมายคนพิการ]

สุบิน ไชยยะ. (2562). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 20(1), 168-180. [Subin Chaiya. (2019). The developing lifelong learning skills of students in the 21st century. Journal of Education, 20(1), 168-180]

สุริยันต์ ปัญหาราช. (2558). ประสิทธิผลการฝึกทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม

และการเคลื่อนไหวสำหรับคนพิการทางการเห็นในจังหวัดหนองบัวลำภู. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 25(2), 60-64. [Suriyan Panharach. (2015). Effectiveness of Orientation and Mobility Training for Visually Disabled Persons in Nongbualamphu Province. Journal of Thai rehabilitation medicine, 25(2), 60-64.]

Burns, D. D. (2008). Feeling good: the new mood therapy (Reprint ed.). New York: Harper.

Knudson, D. M., Cable, T. T., & Beck, L. (1995). Interpretation of cultural and natural resources. State College: Venture Publishing Inc.

Pajares, F., & Valiante, G. (1997). Influence of Self-Efficacy on Elementary Students' Writing. The journal of educational research, 90(6), 353-360.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29