การสื่อสารภังควิวัฒน์กับปรากฏการณ์แฟลชม็อบเยาวชนไทย
บทคัดย่อ
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและรูปแบบการสื่อสารมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน ซึ่งได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิต การสร้างความสัมพันธ์ และความเป็นไปในแง่มุมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เป็นไปอย่างพลิกผัน การเกิดของสื่อใหม่โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตและวิถีการสื่อสารในอดีตได้สลายกลายมาเป็นวิถีแห่งกระบวนทัศน์การสื่อสารที่เรียกว่า “การสื่อสารภังควิวัฒน์” (Disruptive Communication) คือการที่สภาวการณ์ วิสัยทัศน์ และกรอบความคิดทางการสื่อสาร ได้รับอิทธิพลทางเทคโนโลยีซึ่งแทรกเข้ามากีดขวางระบบการสื่อสารของมนุษย์ไม่ให้เคลื่อนไปตามทิศทางเดิม แต่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและพลิกไปสู่สภาวการณ์สื่อสารใหม่ อันส่งผลต่อปรากฏการณ์ทางสังคมโดยเฉพาะการสื่อสารทางการเมือง
แฟลชม็อบเยาวชนไทยถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคม อันเป็นผลมาจากการสื่อสารทางการเมืองบนโลกออนไลน์ สะท้อนให้เห็นถึงการสื่อสารภังควิวัฒน์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของการสื่อสารที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เกิดจากการติดต่อสื่อสารเชื่อมต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้คนมีการบริโภคสื่ออย่างซับซ้อนหลากหลายช่องทางนำไปสู่การหลอมรวมสื่อ มีการนำเสนอประเด็นเนื้อหาต่าง ๆ ทางการเมืองผ่านการหลอมรวมกันของสื่อต่าง ๆ จนไม่สามารถจะแบ่งแยกสื่อแต่ละประเภทออกจากกันได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังได้หลอมรวมบทบาทของผู้รับสารที่เป็นผู้ส่งสารในขณะเดียวกัน (user-generated content) ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดวาระในการรายงานข่าวสารของสื่อมวลชนกระแสหลักทั้งในและต่างประเทศ โดยการใช้แฮชแท็ก ผ่านช่องทางสื่อทวิตเตอร์ และพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ ในการจัดตั้ง นัดหมาย และเรียกร้องให้มีการเคลื่อนไหว ก่อให้เกิดแฟลชม็อบเยาวชนไทยดังที่ปรากฏ
References
กมลรัฐ อินทรทัศน์. (2561). เทคโนโลยีเป็นตัวกำาหนดสังคมหรือชี้นำสังคม. ใน ประมวลสาระชุดวิชานวัตกรรมการสื่อสาร (หน่วยที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
โครงการส่งเสริมแนวทางการใช้ข้อมูลจากสื่อออนไลน์ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี. (2559). คู่มือแนวปฏิบัติและมาตรฐานจริยธรรมในการใช้ข้อมูลจากสื่อออนไลน์ในกระบวนการสื่อข่าว. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกับ คณะนิเทศศาสตร์สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM).
จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย. (2560). แนวคิดและทฤษฎีการสื่อสารทางการเมือง. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2563, จาก https://www.mgronline.com/South/detail/9600000015392
พรทิพย์ ชนะค้า และพนม คลี่ฉายา. (2555). การกำหนดวาระข่าวสารออนไลน์กับการก่อตัวของสาธารณมติในสังคมไทย. วารสารนิเทศศาสตร์, 30(3), 102-117.
มานะ ตรีรยาภิวัฒน์. (2556). สัมมนาประจำปี 2556 บทบาทของ Social Media ในการกำหนดวาระข่าวสาร. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2563, จาก https://www.posttoday.com/social/general/264326
เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2559). พลิกโฉมการศึกษาของประเทศ โดย พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2563, จาก http://www.thaitribune.org/contents/ detail/327?content_id=24637&rand=
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2563). พจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: กองธรรมศาสตร์และการเมือง.
Agree, Ault and Emery. (1976). Introduction of Mass Communications. New Delhi: Oxford and IBH Publishing Company.
Jenkins, H. (2006). Convergence culture: Where old and new media collide. (1st ed.). New York: New York University.
José van Dijck. (2009). Users like you? Theorizing agency in user-generated content. Media, Culture & Society, 28(2), 211.
Kevin Wallsten. (2007). Agenda Setting and the Blogosphere: An Analysis of the Relationship Between Mainstream Media and Political Blogs, Review of Policy Research, 24(6), 567-587.
Kim, A.J., Johnson, K.K.P. Power of consumers using social media: Examining the influences of brand-related user-generated content on Facebook. Computers in Human Behavior, (58), 98