ค่านิยมเรื่องความสามัคคีที่สะท้อนผ่านภาพกีฬาในข่าวออนไลน์ และแนวทางการนำเสนอภาพข่าวกีฬาของสื่อมวลชนไทย

ผู้แต่ง

  • นฤนาถ ไกรนรา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ค่านิยม, ความสามัคคี, ภาพกีฬา, ข่าวออนไลน์

บทคัดย่อ

        งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะของเนื้อหาภาพกีฬาที่สะท้อนค่านิยมเรื่องความสามัคคี และวิธีการประกอบสร้างความหมายของภาพกีฬาในข่าวออนไลน์ รวมทั้งแนวทางที่ควรจะเป็นในการนำเสนอภาพข่าวกีฬาเพื่อส่งเสริมค่านิยมเรื่องความสามัคคี โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพกีฬาที่นำเสนอในข่าวออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักวิชาชีพจำนวน 10 คน ประกอบด้วย หัวหน้าข่าว และช่างภาพกีฬา

        ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาภาพข่าวกีฬาที่สะท้อนค่านิยมเรื่องความสามัคคี มี 7 ลักษณะ ได้แก่ 1) ความเป็นพวกพ้องเดียวกัน 2) ความร่วมมือ 3) ความมีระเบียบวินัย 4) ความมุ่งมั่น 5) ความมีน้ำใจ 6) ความรักชาติ และ 7) ความสุข โดยมีวิธีการประกอบสร้างความหมายภาพ 10 วิธี ได้แก่ 1) การจัดวางองค์ประกอบภาพแบบกลุ่ม 2) การใช้ฉากหน้าและฉากหลัง 3) การใช้องค์ประกอบเส้น 4) การตัดส่วนภาพ 5) การใช้จังหวะที่เหมาะสมในการบันทึกภาพ 6) การใช้จังหวะที่ซ้ำกัน 7) การเทียบเคียงคู่สัญญะ 8) การสร้างความเป็นคู่ตรงข้าม 9) การใช้สัญลักษณ์สี และ 10) การใช้ภาษากาย

        ผลการศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ของนักวิชาชีพ พบว่า แนวทางในการนำเสนอเนื้อหาภาพข่าวกีฬาเพื่อส่งเสริมความสามัคคี พบทั้งหมด 3 แนวทาง ได้แก่ 1) การนำเสนอภาพที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติในการแข่งขันกีฬา 2) การนำเสนอภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงความมีน้ำใจนักกีฬา และ 3) การนำเสนอภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงการรวมพลังเป็นหนึ่งเดียว โดยมีแนวทางการสร้างความหมาย 5 แนวทาง ได้แก่ 1) การจัดองค์ประกอบภาพแบบกลุ่ม 2) การเลือกใช้มุมมองที่หลากหลายในการนำเสนอภาพ 3) การใช้องค์ประกอบภาพฉากหน้าและฉากหลัง 4) การสื่อสารผ่านท่าทางและอารมณ์ของนักกีฬา และ 5) การใช้สัญลักษณ์แสดงความเป็นชาติไทย รวมทั้งได้มีข้อเสนอแนะเรื่องเนื้อหาที่ควรหลีกเลี่ยงในการนำเสนอภาพข่าวกีฬา มี 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ภาพที่นำเสนอความรุนแรง 2) ภาพที่แสดงให้เห็นการเหยียดหยามดูหมิ่น 3) ภาพที่แสดงให้เห็นการยั่วยุอารมณ์ และ 4) ภาพที่แสดงถึงความไม่เป็นระเบียบและขัดต่อวัฒนธรรมที่ดี

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อ แนวคิดและเทคนิค. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : เอดิสันเพรส โปรดักส์.

เกษม นครเขตต์. (2555). ศิลปะแห่งกีฬา. นครปฐม : เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.

ไทยรัฐออนไลน์. (2562). ทีมชาติไทยรัวทองแซงระห่ำ สรุปเหรียญซีเกมส์ 2109 วันที่ 9 ธ.ค. 62. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/sport/trcheerthai/1722503. วันที่สืบค้น 5 มกราคม 2563

ธีรยุทธ บุญมี. (2547). ชาตินิยมและหลังชาตินิยม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สายธาร.

ประสาร มฤคพิทักษ์ (2562). ถึงเวลาสามัคคี! ‘ประสาร’ เสนอออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้ต้องคดีการเมืองทั้งหมด. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก

https://www.thaipost.net/main/detail/45097, วันที่สืบค้น 25 กันยายน 2562.

มติชนออนไลน์. (2562). บิ๊กโทนี่มั่นใจทัพช้างศึกสร้างความสุขให้แฟนบอลอีกครั้งในเกมดวล ‘ยูเออี’. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/sport-slide/news_1313193. วันที่สืบค้น 25 สิงหาคม 2562.

มติชนออนไลน์. (2562). ‘โรงเรียนบ้านริมใต้ ทีมเอ’ โชว์ฟอร์มสมราคาแชมป์เก่าวิ่ง 31 ขา สามัคคี ปี 14. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/sport-slide/news_1337391. วันที่สืบค้น 25 สิงหาคม 2562.

Anderson, B. (2006). Imagined Communities : Reflections on the Origin and Spread of Nationalism. 3rd Edition. London : Verso.

Barthes, R. (1977). Image Music Text. Translated by Stephen Heath. London : Fontana Press.

International Olympic Committee. (2013). Olympic Charter. Lausanne : DidWeDo S.a.r.l.

Jakobson, R. (1987). Language in Literature. London: The Belknap Press of Harvard University Press.

Rose, G. (2001). Visual Methodologies: An Introduction to the Interpretation of Visual Materials. London: Sage

Rogoff, I. (1998). 'Studying Visual Culture'. In N. Mirzoeff (ed.). The Visual Culture Reader. London: Routledge

Woods, R.B. (2011). Social Issues in Sport. Champaign, IL : Human Kinetics.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29