การสื่อสารสุขภาพผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ Drama-addict

ผู้แต่ง

  • วารุณี สิทธิรังสรรค์ นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การสื่อสารสุขภาพ, เฟซบุ๊กแฟนเพจ Drama -addict, แนวทางสุขภาพ

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เนื้อหาเฟซบุ๊กแฟนเพจ Drama -addict โดยใช้แนวทางส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเป็นกรอบในการศึกษา  2) รูปแบบการสื่อสารผ่านฟังก์ชันการทำงานบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ Drama-addict  เป็นเวลา 3 เดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2562  และการสัมภาษณ์เจ้าของแฟนเพจ คือ  นพ.วิทวัส ศิริประชัย

        ผลการวิจัย ดังนี้  1.เนื้อหาของเฟซบุ๊กแฟนเพจ Drama -addict  เป็นไปตามแนวทางการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งกำหนดโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยนื้อหาเกี่ยวกับอาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์  มีการโพสต์มากกว่าเนื้อหาเกี่ยวกับสุรา  เนื้อหาเกี่ยวกับสูบบุหรี่  และเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพฟัน  โดยเฟซบุ๊กแฟนเพจ Drama -addict   นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับอาหารมากที่สุด และเนื้อหาเกี่ยวกับสูบบุหรี่น้อยที่สุด ทั้งนี้  เนื้อหาเกี่ยวกับอาหารนำเสนอประเด็นพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องมากที่สุด  เนื้อหาเกี่ยวกับการออกกำลังกายนำเสนอประเด็นประโยชน์จากการออกกำลังกายมากที่สุด และเนื้อหาเกี่ยวกับอารมณ์นำเสนอประเด็นโรคซึมเศร้ามากที่สุด  สำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับสุรา นำเสนอประเด็นการดื่มสุราผิดวิธีมากที่สุด ส่วนเนื้อหาเกี่ยวกับการสูบบุหรี่นำเสนอประเด็นอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้ามากที่สุด และเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพฟัน นำเสนอประเด็นอันตรายจากการจัดฟันเถื่อนมากที่สุด ทั้งนี้ เฟซบุ๊กแฟนเพจ Drama-addict ใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจอื่นๆ เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงมากที่สุด รองลงมาคือ  จากสำนักข่าวต่างๆ     2.รูปแบบการสื่อสารผ่านฟังก์ชันการทำงานบนเฟซบุ๊ก พบว่า มีการใช้การอัพเดทสถานะ การเขียนบันทึก การแบ่งปันลิงก์ ฟังก์ชันรูปภาพ ฟังก์ชันวิดีโอ และการสร้างโพลคำถาม ส่วนการเลือกใช้ฟังก์ชันนั้น เฟซบุ๊กแฟนเพจ Drama-addict เลือกใช้ 2 ฟังก์ชันขึ้นไป

References

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด.

ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง.(2561). ประเภทของ Influencer เข้าถึงได้จาก https://www.nuttaputch.com/types-of-influencer-1 สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562

ดวงพร ธีรกุลวาณิช.(2559) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดและการมีส่วนร่วมของแฟนเพจบน Facebook Fanpage ช่างชุ่ย. การศึกษาค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธนพัฒน์ ชิตโสภณดิลก. (2558). กลยุทธ์การสื่อสารบน Facebook Fanpage Goal Thailand ที่มีผลต่อการเข้าชมเว็บไซต์ Goal.com/th/. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นันทกร ทองแตง(2562). โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(โรค NCDs) เข้าถึงได้จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1371 สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563

วาสนา จันทร์สว่าง. (2548). การสื่อสารสุขภาพ:กลยุทธ์ในงานสุขศึกษาและการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญดีการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2562). เช็ก ชัวร์ แชร์. เข้าถึงได้จาก https://sure.oryor.com/ สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2562

สำนักงานพัฒนาธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์.(2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2562. สืบค้นได้จาก https://www.etda.or.th/content/thailand-internet-user-behavior-2019-press-release.html สืบค้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563

สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). กรมอนามัยประกาศนโยบายไร้พุงจับมือ SCG ลดรอบเอวผ่านรายการเรียลลิตี้ THE FIRM 2". เข้าถึงได้จาก https://anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=6581&filename=index สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562

อิริยาพร อุดทา. (2560). กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพออนไลน์ผ่านสื่อเฟซบุ๊กของโรงพยาบาลพญาไท. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29