การศึกษานวัตกรรมการสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงวิถีวัฒนธรรม:ตลาดหน้าพระธาตุเมืองคอน

ผู้แต่ง

  • ธีระ ราชาพล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการสื่อสาร, การท่องเที่ยวเชิงวิถีวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

        จากการศึกษานวัตกรรมการสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงวิถีวัฒนธรรม:ตลาดหน้าพระธาตุเมืองคอน พบว่านวัตกรรมทางการสื่อสารตามความเข้าใจของนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการ คือสื่อนวัตกรรมในรูปแบบโซเชียลมีผลต่อการตัดสินใจของผู้มาเที่ยวตลาด โดยเกิดจากการติดตามเฟสบุ๊ค การสื่อสารผ่านการโพสต์รูปรีวิว การอัพรูปลงอินสตาแกรม การสื่อสารจากเพจโดยสื่อมวลชนท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช  ซึ่งมีการเห็นภาพบรรยากาศ จากสถานที่จริงของตลาดหน้าพระธาตุเมืองคอน จึงทำให้นักท่องเที่ยวอยากเข้ามาเที่ยวชม ตลอดจนการเล่าแบบปากต่อปากของการจัดการตลาดที่เน้นเอกลักษณ์ดั่งเดิมของท้องถิ่นด้านอาหารการกิน การแสดงศิลปะพื้นบ้าน การรักษาวัฒนธรรมการเล่าเรื่องในอดีตผ่านเรื่องราวของเครื่องแต่งกาย เครื่องเงิน เครื่องถม โดยการรวบรวมไว้ในบริเวณตลาดหน้าพระธาตุเมืองคอน  และอัธยาศัยอันดีเป็นกันเองการแต่งกายแบบย้อนยุคของผู้ประกอบการในตลาดหน้าพระธาตุเมืองคอน จึงอยากกลับมาเที่ยวใหม่ 

        ด้านการนำเสนอสื่อนวัตกรรมในท้องถิ่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน พบว่ามีการเลือกใช้ยังตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวได้ไม่มากนัก เพราะเป็นการกล่าวแบบทั่วไป และสื่อในท้องถิ่นยังไม่ได้รับการเชื่อมโยงไปสู่กลางมักนัก เพราะนักท่องเที่ยวต่างถิ่นยังไม่เห็นข้อมูลจากสื่อท้องถิ่นในรูปแบบการรวมศูนย์ด้านข้อมูลการท่องเที่ยวของตลาดแบบเจาะลึก มีการนำเสนอสื่อรูปแบบต่างคนต่างทำ ซึ่งทำให้ข้อมูลข่าวสารขาดการรวมแหล่งและสื่อสารไปยังนักท่องเที่ยวที่อยู่ภาคอื่นๆ ในขณะที่นักท่องเที่ยวบางคน ต้องการให้เจาะลึกมากกว่านี้ และต้องการดูสถานที่และบรรยากาศที่เกิดขึ้นจริง ในรูปแบบช่องทางการไลฟ์สดผ่านนวัตกรรมสื่อออนไลน์ของกิจกรรมต่างๆบริเวณตลาดในแต่ละสัปดาห์ที่มีการจับจ่ายตลาดหน้าพระธาตุเมืองคอน จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากกว่าเดิม

        จากกรณีศึกษาวิจัยเรื่อง นวัตกรรมการสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงวิถีวัฒนธรรม:ตลาดหน้าพระธาตุเมืองคอน พบว่าการใช้นวัตกรรมการสื่อสารรูปแบบใหม่ส่งผลต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้กลยุทธ์การสื่อสารแบบเก่า โดยเฉพาะพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เน้นการเข้าไปมีส่วนร่วมกับการท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆของตนและสมาชิกมากขึ้น

References

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ, และ ศรันยา แสงลิมสุวรรณ. (2555). การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน.กรุงเทพมหานคร: วารสารนักบริหาร. 32(4): 139-146.

กิตติมา สุรสนธิ. (2541). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย.(2561). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนท่ามะโอ ลำปาง: วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ,6 (132-148)

จิรายุทธ์ สนดา.(2555). ภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยว และการรับรู้การประชาสัมพันธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อการกลับมา เที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวไทยในจังหวัดจันทบุรี.กรุงเทพมหานคร: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกุรงเทพฯ

ธันย์ชนก ท่าเรือ, และอุษา บิกกิ้นส์. (2561). การสื่อสารเพื่อการสร้างมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน : ชุมชนท่าพรุ - อ่าวท่าเลน จังหวัดกระบี่วารสารการสื่อสารและการจัดการ .กรุงเทพมหานคร: นิด้า ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน

นนทิภัค เพียรโรจน์. และคณะ. (2558). ศึกษาเรื่องการเชื่อมโยงเส้นทางและการส่งเสริมการตลาดโปรแกรม การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่ม 4 จังหวัด ในภาคใต้ของประเทศไทย. สงขลา: วารสารวิทยาการจัดการ . ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม

บุญเลิศ จิตตังวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ดีไซน์

พัชภรณ์ สุนทรวิบูลย์. (2560). นวัตกรรมการสื่อสารกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยุคประเทศไทย 4.0. กรุงเทพมหานคร:วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6 (201-202)

มณีวรรณ ชาตวนิช. (2555). การจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในชุมชนตลาดพูล เขตธนบุรี. กรุงเทพมหานคร:กระแสวัฒนธรรมปีที่: 13 ฉบับที่: 24 เลขหน้า: 16-32 ปีพ.ศ.: 2555.

สุขุม คงดิษฐ์. และคณะ. (2561). โครงการนวัตกรรมการเชื่อมโยงการตลาดการท่องเที่ยวนิเวศเกษตร ชุมชนสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.กรุงเทพมหานคร: รายงานการวิจัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29