พฤติกรรมความรุนแรง และการยอมรับขัดขืนภาพตัวแทนชายรักชายในซีรีส์ชายรักชาย กรณีศึกษาปี 2559-2560

ผู้แต่ง

  • กิตติภูมิ สุวรรณโภคิน คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ภาพตัวแทนชายรักชาย, พฤติกรรมความรุนแรง, พฤติกรรมการยอมรับขัดขืน

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมความรุนแรง พฤติกรรมการยอมรับขัดขืนและภาพตัวแทนนั้นถูกนำมาวิเคราะห์ถึงลักษณะที่เกิดขึ้นและเหตุผลของการเกิดพฤติกรรม

        งานวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยจากการคัดเลือกซีรีส์ชายรักชายที่ได้รับความนิยมในปี 2560 ซึ่งประกอบด้วย ซีรีส์พี่ว๊ากตัวร้ายกับนายปีหนึ่ง และ เดือนเกี้ยวเดือนเดอะซีรีส์ ซึ่งออกอากาศทางช่องวัน31 และเป็นภาพตัวแทนของเกย์ในปี 2560 และใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับความรุนแรง ภาพตัวแทนและแนวคิดเกี่ยวกับการยอมรับของพ่อแม่เพื่ออธิบายการเกิดพฤติกรรมที่ขึ้นในซีรีส์ชายรักชายด้วยการวิเคราะห์กับทฤษฎีเพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมความรุนแรง การยอมรับขัดขืน และภาพตัวแทนชายรักชาย
        การศึกษาและค้นคว้าวิจัยพบว่า 1.พฤติกรรมรุนแรงมักเกิดจากความสนิทใกล้ชิดของรุ่นพี่รุ่นน้องและคนใกล้ชิดในด้านจิตใจเพื่อสร้างความเจ็บปวดและจะสามารถส่งผลต่อความรุนแรงทางร่างกายและทางเพศต่อไปได้  2. พฤติกรรมการยอมรับขัดขืนเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อแสดงออกถึงความลังเลและไม่กล้ายอมรับต่อความชอบเพศชายด้วยกันเองและสามารถยอมรับได้แต่จะต้องอาศัยบุคคลใกล้ตัว 3. พฤติกรรมภาพตัวแทนเป็นภาพของความโลเลอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการไม่เลือกความสัมพันธ์แบบใดและปล่อยให้คลุมเครือประกอบกับพฤติกรรมปากไม่ตรงกับใจของเกย์ในซีรีส์นั้นคือภาพตัวแทนแห่งความโลเล

References

กิติกร มีทรัพย์. (2549) ซิกมันด์ฟรอยด์ประวัติชีวิตการงานและฟรอยด์บำบัด. กรุงเทพมหานคร : มติชน.

ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. (2551). ประวัติศาสตร์เรื่องเพศ/เรื่องเพศในประวัติศาสตร์ไทย.มูลนิธิส่งเสิรมความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง.

ธานี ชื่นค้า. (2555). ศึกษาอัตลักษณ์ของเกย์ในสื่อภาพยนตร์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2550). อคติ/ภาพตัวแทนในละครซิทคอม. กรุงเทพฯ: โครงการศึกษา และเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาพของสังคม

นันทชา สำโรง. (2552). ทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อภาพลักษณ์ของกะเทยที่ปรากฏในสื่อโทรทัศน์ศึกษาเฉพาะนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาสื่อสารมวลชล คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปุรินทร์ นาคสิงห์. (2547). เกย์: กระบวนการพัฒนาเอกลักษณ์และวิถีชีวิตทางเพศ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาการวิจัยทางสังคม คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Diane L. Putnick,. Agreement in Mother and Father Acceptance-Rejection. Warmth, andHostility/Rejection/Neglect of Children across Nine Countries.(ออนไลน์) สืบค้นจาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3457062/ สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2561.

Jackson, Stevi. :Heterosexuality, Heteronormativity and Gender Hierarchy: Some Reflections on Recent Debates” in Weeks, Jeffrey; Holland, Janet and Waites, Matthew. (eds.) Sexualitiesand Society. Cambridge, Polity Press. 2003

World health organization. World Report on Violence and Health. (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/report2_11_3.pdf; สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29