รูปแบบและวิธีการสื่อความหมายเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาด ผ่านโปสเตอร์ภาพยนตร์

ผู้แต่ง

  • กฤษณีกร เจริญกุศล วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

รูปแบบ, วิธีการสื่อความหมาย, การสื่อสารการตลาด, โปสเตอร์ภาพยนตร์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการสื่อความหมายเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดผ่านโปสเตอร์ภาพยนตร์ ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์ตัวบท โดยใช้วิธีวิทยาการวิเคราะห์ภาพ แนวคิดสัญญาณศาสตร์ แนวคิดการสื่อสารการตลาดและการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ การใช้แนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับภาพยนตร์มาใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์โปสเตอร์ภาพยนตร์ที่ได้รับการจัดลำดับ 100 เรื่องจากเว็ปไซค์ http://www.imdb.com ประจำปี 2018 ผลการวิจัยพบว่า

            รูปแบบการสื่อความหมายเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดผ่านโปสเตอร์ภาพยนตร์ตามหลักวิธีวิทยาการวิเคราะห์ภาพ The Good Eye ประกอบไปด้วย 1) องค์ประกอบด้านเนื้อหา แบ่งเป็น 1.1) เนื้อหารูปธรรมที่แบ่งตามประเภทของภาพยนตร์ และ 1.2) เนื้อหานามธรรม พบการสื่อสารการตลาดด้วยการนำเสนอผู้กำกับที่มีชื่อเสียง การนำเสนอนักแสดงตัวเอกของเรื่อง การนำเสนอโครงเรื่อง การนำเสนอนักแสดงคู่รักหรือคู่หู การนำเสนอภาพยนตร์ที่มีภาคต่อ การนำเสนอภาพยนตร์ที่สร้างจากเหตุการณ์จริง การนำเสนอภาพแบบแฟนตาซี การนำเสนอภาพการ์ตูน การนำเสนอตัวแสดงเป็นทีม การนำเสนอด้วยรางวัลที่ภาพยนตร์ได้รับการนำเสนอภาพยนตร์นอกกระแส และการนำเสนอนักแสดงนำหลักที่เป็นผู้กำกับของเรื่อง 2) องค์ประกอบด้านสี พบว่ามีการใช้การสื่อสารการตลาดด้วยสีวรรณะร้อนและสีวรรณะเย็น 3) องค์ประกอบด้านการจัดวางเชิงพื้นที่ พบ 6 รูปแบบ คือ การสื่อสารการตลาดด้วยเทคนิคการจัดวางเลย์เอาท์แบบภาพเงา แบบช่องภาพ แบบละครสัตว์ แบบกรอบภาพ แบบอักษรใหญ่และแบบภาพปริศนา 4) องค์ประกอบด้านแสง พบการสื่อสารการตลาดด้วยแสงน้ำหนักปานกลาง แสงน้ำหนักอ่อนและแสงน้ำหนักเข้ม และ 5) องค์ประกอบด้านอารมณ์ภาพ พบว่า การสื่อสารการตลาดด้วยอารมณ์ภาพสนุกสนาน อารมณ์ภาพตื่นเต้นและอารมณ์ภาพหม่นหมอง

            วิธีการสื่อความหมายเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดผ่านโปสเตอร์ภาพยนตร์ ผลการวิจัยพบวิธีการสื่อความหมาย 3 ลักษณะ คือ 1) โปสเตอร์ภาพยนตร์มีวิธีการสื่อความหมายด้วยแนวคิด  สัมพันธบททางการศึกษา 2) การสื่อความหมายด้วยแนวคิดสัญญาณศาสตร์ และ 3) การสื่อความหมายด้วยแนวคิดการใช้จุดเว้าวอนในภาพยนตร์

References

Barthes. Roland (1980). The Fashion System. California : University of California Press.

Coilmam. Michael M. (1987). Tourism Marketing. Van Nostrand Reinhold New York.

McQuail. Denis (2000). McQuail’s Mass Communication Theory, London : Saqe Publication.

Rose. Gillian (2001). Visual Methodologies. London : SAGE Publications Ltd,.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01