การสื่อสารของผู้นำชุมชนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ ด้านการลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านวัดบางเตย ตำบลบางเตย อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี

ผู้แต่ง

  • พูนศักดิ์ พาทีทิน คณะวารสารศาสตรและสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

สื่อบุคคล, กลยุทธ์การสื่อสาร, เครือข่าย, ทุนของผู้นำชุมชน

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผู้นำชุมชนในฐานะสื่อบุคคล โดยการวิเคราะห์การสั่งสมทุนและการแปลงทุนมาเป็นความสามารถทางการสื่อสารของผู้นำชุมชนและการประสานความร่วมมือภายใต้ภารกิจร่วมกันในการทำงานสื่อสาร โดยผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในกลุ่มสื่อบุคคลกรณีศึกษาที่ศึกษาเชื่อมโยงข้อมูลที่ถูกจัดระเบียบแล้วเข้าด้วยกัน และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการพรรณนา (Descriptive) ผู้วิจัยอาศัยกรอบแนวคิด ทฤษฎี มาเป็นแนวทางการศึกษา ดังนี้คือ แนวคิดเรื่องทุน (Capital), แนวคิดเรื่องการพัฒนาชนบท (Rural Development), แนวคิดเรื่องผู้นำชุมชน (Community Leader), แนวคิดเรื่องสื่อบุคคล (Personal Media), แนวคิดเรื่องความสามารถทางการสื่อสาร (Communication Competency), แนวคิดกลยุทธ์การสื่อสาร (Communication Strategies), แนวคิดเรื่องการสื่อสารสุขภาพเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ (Health Communication) และแนวคิดเรื่องการวิเคราะห์ SWOT Analysis ผลการศึกษาพบว่า


        1.1 จากกรณีศึกษา 3 กรณี ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเตย ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 3 และเจ้าอาวาสวัดบางเตย ที่เป็นผู้นำชุมชนในฐานะสื่อบุคคล มีการสั่งสมทุนและการแปลงทุนมาเป็นความสามารถทางการสื่อสาร (Communication Competency) ของผู้นำชุมชนและการประสานความร่วมมือภายใต้ภารกิจร่วมกันในการทำงานสื่อสารชวนคนลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


        1.2 สื่อบุคคลทั้ง 3 กรณีที่อยู่ในบทบาทของผู้นำชุมชนสามารถนำความรู้ที่ได้สั่งสมมาใช้กับกลุ่มเป้าหมายตามสถานการณ์ ด้วยการใช้กลยุทธ์การสื่อสาร 6 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์การเลือกใช้สื่อผสม (Mixed Media), กลยุทธ์การเลือก และดัดแปลงเนื้อหาสาร (Selection and Modification of Substance Content), กลยุทธ์การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situational Analysis), กลยุทธ์การวิเคราะห์ผู้รับสาร (Audience analysis), วิธีการสร้างความน่าเชื่อถือเพื่อใช้ในการจูงใจ (Creating Credibility and Motivation), การรับฟังปฏิกิริยาตอบกลับของผู้รับสาร (Feedback) กลยุทธ์ทั้งหกข้อนี้ถูกออกแบบโดยสื่อบุคคลและนำไปประยุกต์ใช้วางแผนการสื่อสารภายใต้บริบทของชุมชนท ที่ส่งผลต่อการขยายตัวของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อีกทั้งตัวแปรเรื่องเครือข่าย (Network) ทำให้สื่อบุคคลในชุมชนนั้นมีจุดร่วมของภารกิจ (Mission) เป็นหนึ่งเดียวกัน เกิดเป็นการประสานความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีพลังในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาวะ

References

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2548) ใต้ฝากฟ้าแห่งการศึกษาสื่อบุคคลและเครือข่ายสื่อสารภาพรวมจากงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2551) สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ:ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2561) หลักสูตรการสื่อสารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

ชัยวัฒน์ ภูทอง, ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเตย. (2562, ตุลาคม) สัมภาษณ์โดย พูนศักดิ์ พาทีทิน ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเตย.

พิมพ์มณี เมฆพายัพ .(2562) คู่มือแนวทางการดำเนินงาน : ชุมชนคนสู้เหล้า ชมรมคนหัวใจเพชร และอำเภอ งดเหล้าเข้าพรรษา. สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล.)

ศราวุธ สันตินันตรักษ์. (2558) ระบบสุขภาพ รากฐานสำคัญต้องอยู่ที่ชุมชน. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2562. จาก https://www.hfocus.org/content/2015/02/9345.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2554) รู้จัก สสส. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563, จาก https://www.thaihealth.or.th/Aboutus.html.

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2556) สุขภาพ โภชนาการ และการบริหารร่างกาย สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2562, จาก http://www.ideaforlife.net/health/article/0120.html

สมทรง หัสดิน, ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ 3 บ้านวัดบางเตย. 2562, ตุลาคม สัมภาษณ์โดย พูนศักดิ์ พาทีทิน ที่บ้านหมู่ 3 บ้านวัดบางเตย.

อมรรัตน์ ทิพย์เลิศ และคณะ. (2547) โครงการ สมรรถนะด้านการสื่อสารของสื่อบุคคลกับการระดมพลังการพัฒนา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

อมรรัตน์ ทิพย์เลิศ. (2548) ความสามารถทางการสื่อสารของผู้นำท้องถิ่นในการบริหารจัดการชุมชนกรณีศึกษา : ชุมชนตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. (สาขาวิชาสื่อสารมวลชน). คณะวารสารศาสตรและสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

องค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย อำเภอบ้างสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี.แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2561-2565

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-01