แนวทางการพัฒนาการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • อลงกรณ์ รัตตะเวทิน กองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

พาดหัวข่าว, แนวทางการพัฒนา, การเขียนข่าว, การประชาสัมพันธ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบประโยคพาดหัวข่าว 2) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการใช้ภาษาพาดหัวข่าวของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการเขียนพาดหัวข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและใช้ตารางลงรหัสเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลพาดหัวข่าวของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ จากกฤตภาคข่าวออนไลน์ในปีการศึกษา 2561 - 2562 โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์และการพาดหัวข่าว รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับคำและประโยค เป็นแนวทางในการศึกษา


        ผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบประโยคพาดหัวข่าวที่นักหนังสือพิมพ์นิยมใช้ในการเขียนพาดหัวข่าวมีรูปแบบของประโยคที่ขึ้นต้นด้วยประธานมากที่สุด (ร้อยละ 56.07) ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นชื่อเรียกของหน่วยงานหรือชื่อองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชื่อของ “มทร.ธัญบุรี” ส่วนลักษณะการใช้ภาษาพาดหัวข่าวที่นิยมใช้มากที่สุด คือ ลักษณะการใช้คำเรียกชื่อและการใช้คำย่อ (ร้อยละ 20.56) โดยมีการใช้คำเรียกชื่อ “มทร.ธัญบุรี” ซึ่งเป็นชื่อมหาวิทยาลัย และการใช้คำย่อชื่อมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีว่า “มทร.ธัญบุรี” ผลการวิจัยในภาพรวม พบว่า นักหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ใช้รูปแบบประโยคพาดหัวข่าวของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ทั้งหมด 4 รูปแบบ และใช้ภาษาพาดหัวข่าวของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐทั้งหมด 18 ลักษณะ ซึ่งนำมาสู่ข้อเสนอแนะสำหรับนักประชาสัมพันธ์หรือผู้รับผิดชอบด้านงานข่าว คือ ควรพิจารณาผลการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางการพัฒนาการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีประกอบการเขียนพาดหัวข่าวภายใต้บริบทและความเหมาะสมของเนื้อหาข่าว

References

โชษิตา มณีใส. (2558). การใช้ภาษาไทยเพื่อประสิทธิผล (พิมพ์ครั้งที่3). ปทุมธานี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธีร์วรา ขะบูรณ์. (2557). วิเคราะห์การใช้ภาษาพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นันทิญา พันธ์โชติ. (2557). การวิเคราะห์พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอีสาน:ทฤษฎีวงความหมาย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บุญมา พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2561). ภาษาและเนื้อหาพาดหัวข่าวเกี่ยวกับประเทศไทยในเว็บไซต์ข่าวของ Deutsche Welle. วารสารภาษา ศาสนาและวัฒนธรรม, (7)2, 111-133.

บุบผา เมฆศรีทองคำ. (2556). การสื่อข่าวและการเขียนข่าว (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรรษา รอดอาตม์. (2559). กลยุทธ์การเขียนในงานประชาสัมพันธ์. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาคภูมิ หรรนภา. (2561). ความเข้าใจภาษาข่าว การจำเนื้อหาในข่าวอาชญากรรมและข่าวการศึกษาของผู้รับสาร. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 7(1), 86-102.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2557). การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2557). การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (21 เมษายน 2563). สถิติข้อมูลปีการศึกษา 2562. สืบค้นจาก https://www.oreg.rmutt.ac.th/?p=2359

สุนิสา ประวิชัย. (2559). การเขียนงานประชาสัมพันธ์ขั้นพื้นฐาน. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุนิสา ประวิชัย. (2555). การบริหารประเด็นให้ข่าว. วารสารนักบริหาร, 32(1), 151-156.

อลงกรณ์ รัตตะเวทิน. (2561). การวิเคราะห์เนื้อหาข่าวสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อวยพร พานิช และคณะ. (2553). ภาษาและหลักการเขียนเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อริสา เหล่าวิชยา และศุภณิช จันทร์สอง. (2556). การเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์. วารสารนักบริหาร, 33(1), 33-37.

iQNewsClip. (21 เมษายน 2563). สืบค้นจาก https://www.iqnewsclip.com/newsservice.aspx.

Roach, T.J. (2013). Pitching stories: Don’t ignore the local news media and then expect them to listen to your side of the story when a problem arise. Rock Products. (2). 38.

Wilcox, D.L. (2005). Public Relations writing and media technique (5th ed.). Boston: Pearson/Allyn and Bacon.

Wise, K. (2005). The Importance of writing skills. Public Relations Quarterly, 50(2). 37-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-01