วิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องและภาษาภาพยนตร์สยองขวัญ ที่กำกับ โดย เจมส์ วาน

ผู้แต่ง

  • นุจรินทร์ จีรรัตนบรรพต วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์แนวสยองขวัญ, ผู้กำกับภาพยนตร์, โครงสร้างการเล่าเรื่อง, ภาษาภาพยนตร์

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเล่าเรื่องและการใช้ภาษาภาพยนตร์ในภาพยนตร์สยองขวัญที่กำกับโดย เจมส์ วาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์สยองขวัญของ เจมส์ วาน 2) วิเคราะห์ภาษาของภาพยนตร์แนวสยองขวัญของ เจมส์ วาน โดยศึกษาภาพยนตร์แนวสยองขวัญของผู้กำกับ เจมส์ วาน จำนวน 2 เรื่อง คือ Insidious Chapter 2 (2013) และ The Conjuring 2 (2016) ซึ่งภาพยนตร์แนวสยองขวัญทั้งสองเรื่องนี้ผู้กำกับเจมส์ วาน ได้ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับภาพยนตร์และเขียนบทภาพยนตร์ อีกทั้งยังเป็นภาพยนตร์แนวสยองขวัญสองเรื่องสุดท้ายที่เจมส์ วาน กำกับก่อนจะผันตัวไปกำกับภาพยนตร์แนวอื่นๆ


        ผลการศึกษาพบว่า การกำกับภาพยนตร์สยองขวัญของผู้กำกับ เจมส์ วาน ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการวางโครงสร้างการเล่าเรื่องที่มีการลำดับขั้นตอนไว้ทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่ โครงเรื่อง (Plot) แก่นความคิด (Theme) ตัวละคร (Character) ความขัดแย้ง (Conflict) มุมมองในการเล่าเรื่อง (Point of view) ฉาก (Setting) สัญลักษณ์ความหมาย (Symbol) และพบประเด็นทั้งหมด 3 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่หนึ่งพบว่า ในการสร้างภาพยนตร์สยองขวัญของผู้กำกับเจมส์ วาน เขาจะนำความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวมาเป็นแก่นหลักของเรื่อง จะมีโครงเรื่องหลักที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวเชื่อมกับเรื่องราวลี้ลับระหว่างโลกมนุษย์กับวิญญาณ ประเด็นที่สองพบว่า ในการสร้างภาพยนตร์สยองขวัญของผู้กำกับเจมส์ วาน นั้น เขาให้ความสำคัญถึงภาษาภาพยนตร์และการถ่ายทอดอินเนอร์ของนักแสดงเป็นหลัก ประเด็นที่สามพบว่า มีการนำตัวละครภูติผีปีศาจจากฝันร้ายในวัยเด็กของผู้กำกับ เจมส์ วาน มาสร้างบทบาทสำคัญให้เป็นภาพจำแก่ผู้ม จึงทำให้ภาพยนตร์สยองขวัญของเขาเป็นที่ยอมรับและประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในวงการภาพยนตร์

References

ณัฐพล วงษ์ชื่น. (2552). “ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้มู้ดแอนด์โทรของผู้ชมภาพยนตร์ ไทยในการออกแบบสร้างภาพยนตร์แนวสยองขวัญ.” วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง คณะนิเทศศาสตร์,มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์

ประกายกาวิล ศรีจินดา. (2556). “การเล่าเรื่องในภาพยนตร์ผีที่ผลิตโดยจีทีเอช” การค้นคว้าแบบอิสระ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

วิสิฐ อรุณรัตนานนท์. (2552). “การวิเคราะห์แนวทางการนำเสนอภาพยนตร์แนว สยองขวัญ.” การค้นคว้าแบบอิสระ ศิลปสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Alamy. (2012). THE CONJURING (2013) PATRICK WILSON JAMES WAN (DIR) NEW LINE CINEMA/MOVIESTORE COLLECTION LTD. Retrieved from https://www.alamy.com/stock-image-the-conjuring-2013-patrick-wilson-james-wan-dir-new-line-cinemamoviestore-168529167.html

Alamy. (2013). Vera Farmiga and James Wan in "THE CONJURING," a Warner Bros. Pictures release. Retrieved from https://www.alamy.com/vera-farmiga-and-james-wan-in-the-conjuring-a-warner-bros-pictures-release-image219040774.html

Ayana. (2017, September 6). The Psychology Of Color In Film. Daily Infographic. Retrieved from https://www.dailyinfographic.com/psychology-of-color-in-film

Wan, J. (Director). (2013). Insidious Chapter 2 [Motion picture]. USA: Blumhouse Productions.

Wan, J. (Director). (2016). The Conjuring 2 [Motion picture]. USA: Warner Bros. Pictures and New Line Cinema.

Wan, J., & Whannell, L. (2011, April 1). Whenever a new horror film emerges, there seem to be two schools of thought in terms of attendance: “I can’t wait to see it!” and “They don’t make ’em like they used to.”. Movie Maker. Retrieved from https://www.moviemaker.com/james-wan-leigh-whannell-horror-films/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-01