การพัฒนาศักยภาพการใช้สื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชั่นของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ นิธิไพบูลย์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

คำสำคัญ:

สื่อสังคมออนไลน์, แอปพลิเคชั่น, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

        งานวิจัยมีวัตถุประสงค์การวิจัยและสมมติฐานการวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร 4. เพื่อศึกษาการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร 5. เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร 6. เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร 7. เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชั่นและการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร และ 8. เพื่อค้นหาปัญหาและแนวทางแก้ไขการใช้สื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร


        งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจ และใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพสำหรับ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยอ้างอิงจากตารางยามาเน่ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ในส่วนของผู้ให้ข้อมูลหลักมีจำนวน 6 คน พิจารณาจากเกณฑ์ คือ เป็นผู้สูงอายุที่มีการใช้งานสื่อดิจิทัลในระดับสูง และเป็นผู้ที่ตอบแบบสอบถามจากการวิจัยเชิงสำรวจในงานวิจัยนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณาวิเคราะห์


        ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60 อายุระหว่าง 60 -65 ปี ร้อยละ 53.75 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 32.50 อาชีพก่อนเกษียณ (ก่อนอายุ 60 ปี) คือ ข้าราชการ ร้อยละ 22.00 2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชั่นผ่านโทรศัพท์มือถือ ค่าเฉลี่ย 4.17 มีการเปิดรับสื่อทุกวัน ค่าเฉลี่ย 3.84 โดยใช้ครั้งละ 30 นาที – 1 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ย 3.51 ในช่วงเวลา 16.00-22.00 น. ค่าเฉลี่ย3.77 สื่อที่ใช้มากที่สุด คือ Line ค่าเฉลี่ย 4.06 3. กลุ่มตัวอย่างมีการใช้ประโยชน์ด้านสารสนเทศ ค่าเฉลี่ย 3.80 4. กลุ่มตัวอย่างมีการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชั่นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.86 5. กลุ่มตัวอย่างที่มีวุฒิการศึกษาแตกต่างกันมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชั่นแตกต่างกัน ที่ค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6. กลุ่มตัวอย่างที่มีการประกอบอาชีพก่อนเกษียณ (ก่อนอายุ 60 ปี) ที่แตกต่างกันมีการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชั่นแตกต่างกัน ที่ค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 7. การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชั่นในภาพรวม มีความสัมพันธ์การใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชั่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ 0.674 8. สื่อที่ผู้สูงอายุใช้งานมากที่สุด คือ Line ปัญหาการใช้งานที่ผู้สูงอายุพบเจอ คือ การไม่ค่อยเข้าใจวิธีการใช้งานหรือพอจะใช้เป็นบ้างแต่ไม่ค่อยเชี่ยวชาญเท่าไหร่ แนวทางการแก้ปัญหา คือ สอบถามวิธีการใช้งานไปยังคนใกล้ชิด อันได้แก่ ลูกและเพื่อนๆ

References

กมลชนก ขำสุวรรณ. (2555). เวทีวิจัยประชากรและสังคม อคติต่อผู้สูงวัย : ใคร... เริ่มต้นเปลี่ยน. 9 กุมภาพันธ์ 2562, เข้าถึงได้จาก http://www2.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter/index.php/component/content/article/101-35-3-2558/265-2015-02-12-06-31-05.html.

กิรณา สมวาทสรรค์ และกุลทิพย์ ศาสตระรุจิ. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารกับการส่งต่อข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุ. ประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2559. คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (1 กรกฎาคม 2559). หน้า 14-26.

กันตพล บันทัดทอง. (2557). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจ ของกลุ่มคนผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เฉลิมศักดิ์ บุญประเสริฐ และกัลยา ใจรักษ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุ. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17. หน้า 1968-1977. (21 กรกฎาคม 2560)

นันทิช ฉลองโภคศิลชัย และหทัยชนก สุขเจริญ. (2555). พฤติกรรมการใช้เฟซบุค (Facebook) ของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ. จุลนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิชญาวี คณะผล. (2561). พฤติกรรมการใช้และผลการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 10 กุมภาพันธ์ 2562, เข้าถึงได้จาก http://research.rpu.ac.th/wp-content/uploads/2017/08/Pitchayawee-Kanphon_2559.pdf

วัลนิกา ฉลากบาง. (2560). การวิจัยแบบผสมผสาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 7(2): 124-132.

ศศิมา ชัยวรจินดา. 2555. พฤติกรรมการสื่อสาร การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อเว็บไซต์เครือข่ายสังคมเฟซบุ๊ค (Facebook) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวิช ถิระโคตร วีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2561). พฤติกรรมการใช้และการรู้เท่าทันอินเทอร์เน็ตและทัศคติการใช้เนื้อหาด้านสุขภาวะบนอินเทอร์เน็ตของผู้สูงอายุ. Journal of Nursing and Health Care. 36(1): 72-80.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบ พ.ศ. 2550-2554. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. 9 กุมภาพันธ์ 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th/sites/2014 /Pages/สำรวจ/ด้านสังคม/ประชากรและสังคม/ประชากรสูงอายุ.aspx

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York : Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-01