อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการพัฒนาความรู้ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วรัญญา เดชพงษ์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ

คำสำคัญ:

อิทธิพล, สื่อสังคมออนไลน์, ความรู้

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่อง อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการพัฒนาความรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร


        สำหรับการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว (One - way ANOVA) ด้วยการนำเสนอในรูปแบบของตารางและบรรยายเชิงพรรรณา


        ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 13 - 14 ปี ศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหอวัง ส่วนมากมีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อติดต่อข้อมูลข่าวสาร โดยโทรศัพท์มือถือ และนิยมใช้ Facebook ซึ่งความรู้ที่ได้รับจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด และการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก

References

กติกา สายเสนีย์ (2550) “ความหมาย SocialNewwork” สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2562 จาก http://edutech14.blogspot.com/2014/05/social-network-social-media.html

จูลี นีนา ตันตยานฤวุฒิ (2553). แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองของบุคลากรคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

ชนากิตต์ ราชพิบูลย์ (2553). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และผลกระทบ ต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ชูศักดิ์ เพรสคอทท์ และสินี กิตติชนม์วรกุล (2557). การเปิดรับข้อมูลข่าวสารและอิทธิพลของสื่อต่อแนวความคิดทางการเมืองของนักศึกษาระดับปริญาตรี หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสงขลา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สินี กิตติชนม์วรกุล (2561). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนในจังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นุชจรินทร์ ชอบดำรงธรรม (2553). อิทธิพลของสื่อโฆษณาในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่มีผลต่อกระบวนการตอบสนองของผู้บริโภค สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปณิชา นิติพร (2556). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร วารสารคุณภาพชีวิตกับ กฎหมาย, ปีที่ 9, ฉบับที่ 3.

ภาณุวัฒน์ กองราช (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย : กรณีศึกษา Facebook. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์/ปทุมธานี.

รัตนา จินดาพงษ์ (2556). พฤติกรรมการเล่นเกมบน Facebook ของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

สถาพร สิงหะ (2556). การเปิดรับสื่อ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจกับการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวแบบดำน้ำลึกของนักดำน้ำชาวไทย นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

หยาดพิรุณ ศุภรากรสกุล (2560). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และผลกระทบ ต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเพชรบูรณ์.

อดิสรณ์ อันสงคราม (2558). ผลกระทบจากการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอนแก่น.

Lampe, C., Ellison, N., & Steinfield, C. (2007). The Benefits of Facebook “friends”: Social capital and college students’ use of online social network sites. Journal of Computer- Mediated Communication.

McCombs, M. E. & Becker, L. B. (1979). Using Mass Communication Theory. New York : Prentice-Hall.

Samuel L. Becker. (1972). Discovering Mass Communication. Illinois : Scott Foresman and Company Glenview.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-01