กระบวนการสร้างสรรค์และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของละครโทรทัศน์เรื่อง MY AMBULANCE รักฉุดใจนายฉุกเฉิน

ผู้แต่ง

  • ดาวิกา โฮร์เน่ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

กระบวนการสร้างสรรค์, ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ, ละครโทรทัศน์

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการศึกษากระบวนการสร้างสรรค์และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของละครโทรทัศน์เรื่อง MY AMBULANCE รักฉุดใจนายฉุกเฉิน โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In - depth Interview) ประกอบกับวิธีการสังเกตการณ์ (Observation) รวมถึงวิเคราะห์จากเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (Document Analysis) โดยผลการศึกษาพบว่า ประเด็นที่ 1 การนำเสนอและกระบวนการสร้างสรรค์ละครโทรทัศน์เรื่อง รักฉุดใจนายฉุกเฉิน (MY AMBULANCE) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ 1) ขั้นเตรียมการถ่ายทำ (Pre-Production) ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านรูปแบบและเนื้อหาของละคร ถูกจัดอยู่ในกระบวนการเขียนบทละครโทรทัศน์ ด้านการวิเคราะห์กลุ่มผู้ชม สามารถแบ่งเป็นหลักๆ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มมวลชนในสื่อโทรทัศน์และกลุ่มผู้ชมในสื่อออนไลน์ และด้านการคัดเลือก 2) ขั้นการถ่ายทำ (Production) เป็นขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงเรื่องการจัดการเวลาให้เหมาะสมและสมดุลกับงบประมาณที่ได้รับ ซึ่งเทคนิคในการช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณ ได้แก่ การทำ Block Shot และ 3) ขั้นตอนหลังการถ่ายทำ (Post-Production) ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ ด้านการตัดต่อภาพและเสียง และด้านการใช้ช่องทางสื่อในการนำเสนอและโปรโมทละคร โดยพิจารณาการสื่อสารในยุคปัจจุบันและช่องทางการสื่อสารของผู้ชมประเด็นที่ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ สามารถแบ่งออกเป็น 3 คือ 1) ปัจจัยด้านสังคม พบว่า ความคิด ความเชื่อ หรือค่านิยมของสังคมมีการสะท้อนผ่านเนื้อหาของบทละครโทรทัศน์ 2) ปัจจัยด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร พบว่า แพลตฟอร์มการนำเสนอละครสะท้อนความคิดเห็นของผู้ชม 3) ปัจจัยด้านการแข่งขัน พบว่า การสื่อสารการตลาดในการโปรโมทละครผ่านพื้นที่สังคมออนไลน์ ส่งผลให้ผู้ชมรับรู้และเกิดความสนใจอยากติดตามเพื่อรับชมละคร

References

อรอุษา อึ๊งศรีวงศ์. (2555). การสร้างตัวละครและการเล่าเรื่องในละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นที่ใช้อาชีพเป็นแก่นเรื่อง (Master’s thesis). สืบค้นจากโครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย(ThaiLIS).

อโนชา ศิลารัตน์กูล. (2549). ปัจจัยการสร้างละครเพื่อการแข่งขันในตลาดละครโทรทัศน์ (Master’s thesis). สืบค้นจากโครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย(ThaiLIS).

องอาจ สิงห์ลาพอง. (2557). กระบวนการผลิตละครโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจากัดสามลดา.

ทิพยาศิริ แก้วเทศและคณะ. (2561). การเปลี่ยนผ่านละครโทรทัศน์ไทยจากยุคแอนะล็อกสู่ยุคดิจิทัล. วารสารวิจัยและพัฒนาฯ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 13 (2), 266-275.

พทัยนุช บุศน้ำเพชร. (2556). กลยุทธ์ของผู้จัดละครโทรทัศน์ในกระบวนการสร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กรณีศึกษา “คุณยศสินี ณ นคร” (Master’s thesis). สืบค้นจากโครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย(ThaiLIS).

ภาศิริ แก้วเทศ. (2559). การเปลี่ยนผ่านละครโทรทัศน์ไทยจากยุคแอนะล็อกสู่ยุคดิจิทัล (Master’s thesis). สืบค้นจากโครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS).

LINE TV. (2562). เปิดเรตติ้งการ์ตูนฮิต – ละครดัง – วาไรตี้ฮอตบน Line Tv. (ออนไลน์) สืบค้น 20 สิงหาคม, 2563, แหล่งที่มา https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/line-tv-rating-and-video-views-october-2019.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-01