อิทธิพลสื่อบันเทิงเกาหลี และค่านิยมในวัฒนธรรมเกาหลีต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาเกาหลีของนักศึกษาไทย

ผู้แต่ง

  • ดวงทิพย์ เจริญรุกข์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

อิทธิพล, สื่อ, วัฒนธรรมเกาหลี

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อิทธิพลของสื่อบันเทิงเกาหลีและค่านิยมในวัฒนธรรมเกาหลีมีผลต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาเกาหลีของนักศึกษาไทย โดยผู้วิจัยจะทำการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth Interview) กับอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร และการสัมภาษณ์บุคคลแบบกลุ่ม (Focus Group Interview) กับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาเกาหลี ผลการวิจัย พบว่า สื่อบันเทิงเกาหลีที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากนักศึกษา คือ ซีรี่ย์เกาหลี เนื่องจากมีรูปแบบการดำเนินเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ค่านิยมในวัฒนธรรมเกาหลีมากที่สุด โดยค่านิยมในวัฒนธรรมเกาหลีที่ถูกรับรู้มากที่สุด คือ ค่านิยมเรื่องการแต่งกาย และการใช้ชีวิตประจำวันของคนเกาหลี ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า ค่านิยมในวัฒนธรรมเกาหลีมีความโดดเด่นในเรื่องความเป็นธรรมชาติด้านอนุรักษ์นิยม นอกจากนี้ นักศึกษาส่วนใหญ่ยังให้ความเห็นว่า สื่อบันเทิงเกาหลีมีเอกลักษณ์ และมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมเกาหลีให้ผู้คนทั่วโลกรับรู้ ส่งผลให้เกิดกระแสการเติบโตทางวัฒนธรรม


        สำหรับอิทธิพลของสื่อบันเทิงจากประเทศเกาหลี มีบทบาทอย่างยิ่งกับเด็กและเยาวชนไทยในยุคปัจจุบัน ด้วยคุณสมบัติการเข้าถึงระบบสื่อสารมวลชนผ่านสื่อหลากหลายช่องทาง ทำให้ภาพลักษณ์ของสื่อบันเทิงที่มาจากประเทศเกาหลีใต้มีอิทธิพลอย่างมากกับประเทศที่สื่อสามารถนำเสนอได้อย่างเสรีเช่นในประเทศไทย ซึ่งนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรภาษาเกาหลีมีความชื่นชอบวัฒนธรรมของเกาหลีอันแตกต่างจากวัฒนธรรมที่ตนเองคุ้นเคยนั้น ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า อิทธิพลของสื่อบันเทิงเกาหลีมีผลต่อการเลือกศึกษาต่อหลักสูตรภาษาเกาหลีของนักศึกษาไทย

References

กฤษริน รักษาแก้ว และนันทิยา ดวงภุมเมศ. (2560). อิทธิพลของรายการในสื่อใหม่ที่มีต่อมุมมองต่อโลกของเด็กและเยาวชน. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ ศิลปะ, 10 (3).

กานต์พิชชา วงษ์ขาว. (2550). สื่อละครโทรทัศน์เกาหลีกับการเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กาญจนา เกียรติมณีรัตน์ . (2548). การสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับความร่วมมือในการฝึกงานด้านคหกรรมศาสตร์ให้แก่นักศึกษามหกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

กิติมา สุรสนธิ. (2533). ความรู้ทางการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ชุติมา ชุณหกาญจน์. (2550). พฤติกรรมการเลียนแบบวัฒนธรรมของวัยรุ่นไทยจากสื่อบันเทิงเกาหลี. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทรูปลูกปัญญา. 2560. ภาษาเกาหลี ภาษาที่กำลังมาแรง เปิดสอนที่ไหนบ้าง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.trueplookpanya.com/tcas/article/detail/60863. (27 ธันวาคม 2562)

ธาริณีย์ ธีฆะพร. (2553). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ต่อรายการ คุยเฟื่องเรื่องไอที ทางสถานีวิทยุ อสมท จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นพดล วศินสุนทร. 2552. อิทธิพลของสื่อบันเทิงเกาหลีกับการเกิดพฤติกรรมเลียนแบบการแต่งกายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://johnnopadon.blogspot.com/2011/04/2552_6962.html. [25 ธันวาคม 2562]

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). การสื่อสารมวลชนกระบวนการและทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ปรีชา พันธุ์แน่น และคณะ. 2551. สื่อบันเทิงเกาหลีกับค่านิยมในวัฒนธรรมเกาหลีของวัยรุ่นไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://research.krirk.ac.th/images/researchs/2013_07/35/ [25 ธันวาคม 2562]

ปภังกร ปรีดาชัชวาล. (2556). การยอมรับและพฤติกรรมการเลียนแบบทางวัฒนธรรมจากสื่อบันเทิงเกาหลีของวัยรุ่นไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปิติ ศรีแสงนาม. 2561. บทเรียนจากความสำเร็จของกระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.chula.ac.th/cuinside/6930/ (25 ธันวาคม 2562)

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2560). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม. วารสารวิชาการคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2 (3), 97-102.

ไพบูลย์ ปีตะเสน. 2560. “สื่อเกาหลี” สู่ธุรกิจบันเทิงเต็มรูปแบบในประเทศไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/761920. (25 ธันวาคม 2562)

ภัทรจาริน ตันติวงศ์. (2552). อิทธิพลของละครโทรทัศน์เกาหลีที่มีต่อทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคสินค้าวัฒนธรรมเกาหลีของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2548). การสื่อสารต่างวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนาภรณ์ เมธะพันธุ์. (2557). อิทธิพลของสื่อบันเทิงเกาหลีที่มีต่อพฤติกรรมการเลียนแบบของกลุ่มคลั่งไคล้ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุภาพร บุญรุ่ง. 2561. บทเรียนจากความสำเร็จของกระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.chula.ac.th/cuinside/6930/ (26 ธันวาคม 2562)

อุราเพ็ญ ยิ้มประเสริฐ และคณะ. 2557. รู้เท่าทันสื่อ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://bcp.nbtc.go.th/uploads/items/attachments/b7bb35b9c6ca2aee2df08cf09d7016c2/_651dab51d77cc9cc0b46de8a418db8e7.pdf. (27 มกราคม 2563)

เอกรัฐ วิเศษฤทธิ์. (2552). อิทธิพลจากละครโทรทัศน์เกาหลีที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทย: กรณีศึกษาในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Dawson, Richard E., and Prewitt, Kenneth. (1969). Political Socialization. Boston: Little Brownand Co.

Mushroom travel. ซีรี่ย์เกาหลีน่าดูตลอดกาล. 2562. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.mushroomtravel.com/page/6-korean-series/. (26 ธันวาคม 2562)

Schramm, Wilbur. (1973). Channels and Audiences in Handbook of Communication. Chicago: Rand Mcnelly College Publishing Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-01