การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตามศาสตร์พระราชา ของศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • อภิสรา กฤตาวาณิชย์ คณะวิทยาการจัดการ โปรแกรมนิเทศศาสตร์ (ดิจิทัลมัลติมีเดีย) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ศาสตร์พระราชา, การท่องเที่ยว, สื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัล

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวตามศาสตร์พระราชาของศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลในการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามศาสตร์พระราชาของศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย แนวคิดทฤษฏีที่ใช้เป็นแนวทางศึกษาประกอบด้วย แนวคิดศาสตร์พระราชา แนวคิดการท่องเที่ยวตามศาสตร์พระราชา ทฤษฎีเรื่องสื่อดิจิทัล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลในการส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ผู้วิจัยใช้การวิจัยทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้ก่อตั้งและผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาฯ และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจในการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลจากผู้มาศึกษาดูงานและประชาชนทั่วไปที่มาท่องเที่ยวศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา


        ผลวิจัยพบว่า รูปแบบสื่อดิจิทัลที่เหมาะสมกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามศาสตร์พระราชา ได้แก่ วิดีโอบล็อก และอินโฟกราฟิก โดยด้านการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลควรมีความคิดสร้างสรรค์และทันสมัย เทคนิคการเล่าเรื่องเข้าใจง่าย เทคนิคการนำเสนอน่าสนใจเช่น การตัดต่อ การใช้เทคนิคพิเศษ และออกแบบเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ด้านเนื้อหาพบว่าการเล่าเรื่องศาสตร์พระราชาผ่านการลงมือปฏิบัติในฐานการเรียนรู้ต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมทำให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาได้ดี เนื้อหาการนำเสนอควรกระชับ ส่วนปริมาณเนื้อหาที่นำเสนอต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่สื่อ

        ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลในการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามศาสตร์พระราชาของศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา พบว่านักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจสื่อดิจิทัลโดยภาพรวมทั้งด้านการออกแบบและเนื้อหาในระดับพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย Xbar เท่ากับ 4.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.82) ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตามประเภทของสื่อ ประเด็นการออกแบบสื่อวิดีโอบล็อก ผู้ใช้สื่อมีความพึงพอใจด้านความทันสมัยและความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด ( Xbar= 4.30, S.D.= 0.77) ส่วนด้านเนื้อหาของสื่อวิดีโอทำให้เข้าใจศาสตร์พระราชาด้านหลักการพึ่งตนเองและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น ( Xbar=4.23, S.D.=0.91) เช่นเดียวกับ สื่ออินโฟกราฟิก ประเด็นการออกแบบพบว่าหัวข้อที่ผู้ใช้สื่อพึงพอใจมากที่สุดคือภาพกราฟิกสามารถสื่อความหมายให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ( Xbar=451, S.D.=0.54) ส่วนเนื้อหาของอินโฟกราฟิก ผู้ใช้สื่อเห็นว่าเหมาะสมใช้เป็นสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับศาสตร์พระราชา ( Xbar=4.26, S.D.=0.89)

References

ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช. (2560). สื่อดิจิทัลใหม่ สื่อแห่งอนาคต. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ณชรต อิ่มณะรัญ. (2564). องค์ประกอบทางการสร้างสรรค์วีล็อกเพื่อการสื่อสารการท่องเที่ยว. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ 25,(1) : 102.

ดาวรถา วีระพันธ์ และณัฐรดี อนุพงค์. (2560). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้การ์ตูนมัลติมีเดีย 2 มิติ เรื่องอยู่อย่างพอเพียง ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 7,(3) : 62.

ธนพร ทองแดง และพัชนี เชยจรรยา. (2562). รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อวีล็อก ความน่าเชื่อถือและการตัดสินใจท่องเที่ยวของผู้ชมวีล็อก. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า. 6,(2) : 4-5.

บุษกร วัฒนบุตร พระครูโอภาส นนทกิตติ์ และพระอุดม สิทธินายก. 2561. ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาคนไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6 (ฉบับพิเศษ) : 539-552.

พลเอก เดชา ปุญญบาล. 9 ตามรอยบาท ศาสตร์พระราชา.วารสารสมาคมนักวิจัย. 22,(2) : 13.

ภารดี พึ่งสำราญ และเสาวนีย์ วรรณประภา. (2558). กระบวนการสื่อสารปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการแพร่กระจายนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 10, (2) : 40.

ศิริประภา ประภากรเกียรติ. (2562). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยใช้แนวคิดชุมชนเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นจาก http://www.thai-explore.net/search_detail/result/8263

ไตรภพ โคตรรวงษา. (2561). การท่องเที่ยวตามศาสตร์พระราชา. (เอกสารประกอบการบรรยาย). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ไพศาล กาญจนวงศ์. (2556). ไอซีทีกับการพัฒนาการท่องเที่ยว. วารสารแม่โจ้ปริทัศน์. 5,(14) : 61-66.

Devineni, M. (2017). 10 Different popular types of vlogs. Retrieved September 29, 2018, from http://vloglikepro.com/10-different-popular-types-vlogs.

Miller, Michael. (2011). Youtube for Business Online Video Marketing for Any Business. UnitedState: Que Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-01