การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดการเล่าเรื่องแบบพาราเมตริกในภาพยนตร์

ผู้แต่ง

  • พัทธ์ สุวรรณกุล วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์ที่มีรูปแบบการเล่าเรื่องแบบพาราเมตริก, จูเซท, สไตล์

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างภาพยนตร์ที่มีรูปแบบการเล่าเรื่องแบบพาราเมตริก โดยใช้แนวคิดโครงสร้างภาพยนตร์ของ David Bordwell เป็นกรอบในการศึกษาภาพยนตร์ที่มีรูปแบบการเล่าเรื่องแบบพาราเมตริกทั้งหมด 6 เรื่อง


        ผลการศึกษาพบว่า ภาพยนตร์พาราเมตริกมีความแตกต่างจากภาพยนตร์ทั่วไป เพราะองค์ประกอบด้านสไตล์ที่ปรากฏในภาพยนตร์พาราเมตริกมีบทบาทที่ไม่ด้อยกว่าองค์ประกอบด้านจูเซท กล่าวคือ องค์ประกอบด้านสไตล์จะทำหน้าที่ 1) เหนือจูเซทโดยสิ้นเชิง ที่เน้นการใช้เทคนิคด้านภาพยนต์ โดยไม่ใช้กลไกการเรียบเรียงโครงเรื่องตามลำดับของผู้เขียนบท 2) เท่าเทียมกับจูเซท ที่มีการใช้เทคนิคทางภาพยนต์และกลไกการเรียบเรียงเรื่องตามลำดับเท่าๆกัน 3) สลับบทบาทกับจูเซท ที่ใช้กลไกการเรียบเรียงเรื่องตามลำดับสลับกับการใช้เทคนิคทางภาพยนต์ นอกจากนี้ ผู้กำกับและผู้เขียนบทภาพยนตร์ที่มีรูปแบบการเล่าเรื่องแบบพาราเมตริกมีการเลือกใช้องค์ประกอบด้านสไตล์ที่ต่างกัน 2 ลักษณะคือ 1) ลักษณะการทำงานของสไตล์ที่ใช้กลไกการเรียบเรียงเรื่องตามลำดับแบบเคร่งครัด 2) ลักษณะการทำงานของสไตล์แบบไม่เคร่งครัด จุดร่วมที่ภาพยนตร์ที่มีรูปแบบการเล่าเรื่องแบบพาราเมตริกมีเหมือนกัน คือองค์ประกอบด้านสไตล์จะไม่ทำงานภายใต้จูเซท กล่าวคือ เทคนิคทางภาพยนตร์จะมีบทบาทหน้าที่ในการเล่าเรื่องที่โดดเด่นมากกว่าการสร้างโครงเรื่อง

References

ดวงกมล หนูแก้ว. (2548). ธุรกิจภาพยนตร์: กรณีศึกษาบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ขนาดใหญ่. กรุงเทพฯ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2549). ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิสณฑ์ สุวรรณภักดี. (2555). ความเป็นประพันธกรในภาพยนตร์ของ อังเดร ทาร์คอฟสกี้ (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Bordwell, David. (1985). Narration in the Fiction Film. The University of Wisconsin Press.

Galt, Rosalind and Schoonover. (2010). New Theories and Histories: Global Art Cinema. London:Oxford University Press, Inc.

Burch, Noel. (1969). Theory of Film Practice. New Jersey:Princeton

Betz, Mark. (2010). Global Art Cinema: New Theories and Histories. Galt, R. & Schoonover, K. (eds.). New York: OUP USA.

Thanouli, Eleftheria. (2006). “Art Cinema” Narration: Breaking Down a Wayward Paradigm. Scope: An Online Journal of Film and Television Studies. 14(1):21

Sontag, Susan. (1994). Against Interpretation. NewYork : Vintage.

Tarkovsky, Andrei. (1986). Sculping in Time. Austi : University of Texas Press

Ascher, Steven and Pincus, Edward, (2012) The Film-Maker’s Handbook, A Comprehensive Guide for the Digital Age. London : Penguin.

Bordwell, David and Thompson, Kristin (1990). Film Art: An Introduction. New York: Mcgraw Hill Publishing Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-01