กระบวนการคัดเลือกภาพถ่ายสารคดีเพื่อเผยแพร่ในนิตยสาร

ผู้แต่ง

  • บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช สาาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการคัดเลือกภาพถ่ายสารคดี 2) เกณฑ์การประเมินคุณค่าเชิงเนื้อหา และ 3) เกณฑ์การประเมินคุณค่าเชิงความงามของภาพถ่ายสารคดีเพื่อเผยแพร่ในนิตยสาร
        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการภาพ บรรณาธิการศิลป์ และช่างภาพของนิตยสาร “สารคดี” และ “อสท” รวมทั้งสิ้น 9 คน คัดเลือกด้วยวิธีการแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป


        ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการคัดเลือกภาพถ่ายสารคดีเพื่อเผยแพร่ในนิตยสารมีความแตกต่างกันระหว่างนิตยสาร “สารคดี” และ “อสท” โดยนิตยสาร “สารคดี” มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ การคัดเลือกโดยช่างภาพ การคัดเลือกภาพโดยบรรณาธิการภาพ การคัดเลือกภาพโดยบรรณาธิการบริหาร และการคัดเลือกภาพโดยบรรณาธิการศิลป์ ส่วนของนิตยสาร “อสท” มี 3 ขั้นตอน โดยจะไม่มีการคัดเลือกภาพถ่ายในขั้นตอนของบรรณาธิการศิลป์ 2) เกณฑ์การประเมินเชิงเนื้อหาของภาพถ่ายสารคดีเพื่อเผยแพร่ในนิตยสาร ประกอบด้วย (1) สามารถเล่าเรื่องในประเด็นต่างๆตามโครงเรื่องได้อย่างถูกต้อง (2) สะท้อนความจริงของเรื่องราวที่นำเสนอได้อย่างถูกต้อง (3) มีความสอดคล้องกับโครงเรื่อง (4) มีความสอดคล้องกับนโยบายองค์การและไม่ขัดกับกฎหมาย ศีลธรรม ประเพณี วัฒนธรรม จริยธรรม (5) เนื้อหาภาพไม่ซ้ำในเรื่องเดียวกันและเรื่องอื่นๆ ในเล่มเดียวกัน (6) สะดุดตา มีความแปลกใหม่ (7) มีที่ว่างเพื่อจัดวางตัวหนังสือในการออกแบบจัดหน้า และ 3) เกณฑ์การประเมินเชิงความงามเพื่อเผยแพร่ในนิตยสาร ประกอบด้วย การมีคุณสมบัติทางเทคนิคที่ดี ได้แก่ มีความคมชัด มีความเปรียบต่างของสีสันที่ดี มีความสว่างที่พอดี และการมีคุณสมบัติทางศิลปะภาพถ่ายที่ดีตามหลักสำคัญ 4 ประการ คือ มีความสมดุล มีเอกภาพ มีความกลมกลืน และมีการเน้นให้เด่น นอกจากนั้นผลการวิจัยยังพบว่าการคัดเลือกภาพถ่ายสารคดียังขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้อ่าน โดยผู้คัดเลือกจะต้องเข้าใจรสนิยมของผู้อ่านกลุ่มเป้าหมาย

References

กมล ฉายาวัฒนะ. (2541). “ภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการข่าวและบรรณาธิกรณ์ หน่วยที่ 11. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กฤษณ์ ทองเลิศ (2550) ความจริงสัมพัทธ์ของภาพถ่ายเชิงสารคดีในนิตยสารท่องเที่ยวไทย. รายงานวิจัย สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต

กฤษณ์ ทองเลิศ. (2554). การถ่ายภาพเชิงวารสารศาสตร์: แนวคิด เทคนิค การวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อินทนิล.

กำจร หลุยยะพงศ์. (2556). "ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารงานสื่อสิ่งพิมพ์" ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหารบริหารงานสื่อสิ่งพิมพ์ หน่วยที่ 3. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2556). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตชนก นิ่มแย้ม. (2551). การศึกษาปัจจัยของการออกแบบที่มีผลต่อความสำเร็จของนิตยสารวัยรุ่น วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ต่อสิต กลีบบัว. (2553). “การเมืองในการถ่ายภาพท่องเที่ยว: การครอบงำและการต่อรองทางวัฒนธรรม” ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สื่อสารมวลชน วารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. (2549). ปรัชญาทั่วไป กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ประชัน วัลลิโกและอมรพรรณ ซุ้มโชคชัยกุล (2556). “ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารงานสื่อสิ่งพิมพ์” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานสื่อสิ่งพิมพ์ หน่วยที่ 7 นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สนั่น ปัทมะทิน (2516) การถ่ายภาพวารสารศาสตร์ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สุชาติ เชษฐพันธ์. (2551). การสื่อความหมายหัวข้อ “อยู่เย็นเป็นสุข” ในการประกวดภาพถ่ายของนิตยสาร “สารคดี”ปี พ.ศ.2548-2549 (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์) มหาวิทยาลัยรังสิต.

Barthes R. (1997). The Rhetoric of the Image: Studying Culture. Bristol: Great Britain.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-01