แนวทางในการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ ตามแนวทาง เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • กสิรัฐ พลมณี วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การเล่าเรื่อง, เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์, โทรทัศน์

บทคัดย่อ

        งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาการเล่าเรื่องของรายการโทรทัศน์ที่สอดคล้องกับแนวคิด เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์2) ศึกษาการสอดแทรกแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในรายการโทรทัศน์และ 3) ศึกษาการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ที่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ การศึกษานี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิเคราะห์เนื้อหารายการโทรทัศน์จากต่างประเทศที่สอดแทรกแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 3 รายการได้แก่ละครชุดเรื่อง ซามูไรกูร์เม สารคดีชุด อะไบท์ออฟไชน่า และ รายการเกมส์โชว์เดอะสกินส์วอร์ ผลการวิจัยพบว่า รายการโทรทัศน์ทั้ง 3 รายการ นำแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาใช้ในการสร้างสรรค์รายการในส่วนเนื้อหา และรูปแบบการนำเสนอ มีการเล่าเรื่อง 3 แบบคือเรื่องแต่ง เรื่องจริง และกึ่งเรื่องแต่ง การผลิตรายการนั้น มีที่มาสำคัญจากองค์ความรู้ด้านเนื้อหาผนวกกับแนวคิดการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์แต่ละประเภท ความคิดที่เชื่อมโยงกับองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญา วัฒนธรรม เอกลักษณ์ท้องถิ่น ทักษะด้านศิลปะ ได้นำมาสร้างสรรค์เป็นรายการเพื่อออกอากาศและจัดจำหน่าย สามารถสร้างทั้งรายได้เชิงธุรกิจและก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มด้านภาพลักษณ์ประเทศ การเผยแพร่ทางวัฒนธรรม และประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว

References

คงพล มนวรินทรกุล (2559) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ กับศตวรรษที่ 21ความเชื่อมโยงกับทุนทางปัญญา. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2559 จาก https://www.gotoknow.org/posts/612944

ธนญชัย ศรศรีวิชัย (2554) Creative Space Workshop โฆษณา…โคตรสนุก โดย: Phenomena. สืบค้นสืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2554 จาก http://www.tcdc.or.th/articles/design-creativity/16536/#Creative-Space-Workshop-โฆษณา…โคตรสนุก-โดย-Phenomena

ธนณัฏฐ์ รูปสม. (2556). เกาหลีใต้ : ผู้นำวัฒนธรรมสู่มูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2556 จากhttp://news.asia.tu.ac.th/?p=183

ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2558). 7Cs ความท้าทายคนโทรทัศน์ในยุคดีจิทัล!. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2558 จาก https://positioningmag.com/57597

ธีรภาพ โลหิตกุล (2552) กว่าจะเป็นสารคดี. กรุงเทพฯ: อ่านเอาเรื่อง.

ประภาส ชลศรานนท์. (2551). เจ็ดวิธีตีหิน “คิด” แบบประภาส ชลศรานนท์. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2551 จาก http://www.tcdc.or.th/articles/design_creativity/5458/#เจ็ดวิธีตีหิน-คิด-แบบประภาส-ชลศรานนท์

สมเจตน์ เมฆพายัพ. (2552). การผลิตรายการโทรทัศน์ = TV. Production. กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีทาง การศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-01